ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



อ.ฟารีด เฟ็นดี้ FAQ (ถาม/ตอบ)



ประเภท: หน้าแรก ->

คำถาม
·  คำถามที่ 1 ทำไมถึงบอกว่าชีอะห์เป็นกาเฟร เขาไม่ได้เป็นมุสลิมจริงหรือ ?
·  คำถามที่ 2 ชีอะห์เป็นกาเฟรได้อย่างไร เพราะเขามีกะลิมะห์ ชะฮาดะห์
·  คำถามที่ 3 ทำไมชอบกล่าวหาว่าชีอะห์เป็นกาเฟร ทั้งที่ชาวซุนนี่ก็แตกกันตั้งหลายนิกาย ทำไม ไม่บอกว่าเป็นกาเฟรบ้าง ?
·  คำถามที่ 4 ผู้ปฏิเสธฮะดีษไม่ใช่มุสลิม?
·  คำถามที่ 5 อยากทราบว่า fundamentalist คืออะไร?
·  คำถามที่ 6 อิสลามมีกี่นิกาย
·  คำถามที่ 7 ก็อดยานี

[ กลับไปข้างบน ]

คำตอบ
·  คำถามที่ 1 ทำไมถึงบอกว่าชีอะห์เป็นกาเฟร เขาไม่ได้เป็นมุสลิมจริงหรือ ?


คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ลัทธิชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) เป็นลัทธินอกรีต ไม่ใช่มัซฮับหนึ่งหรือนิกายหนึ่งในอิสลาม เหตุเพราะฐานความเชื่อของพวกเขาแตกต่างไปจากคำสอนของอัลลอฮ์และรอซูล โดยหลักความเชื่อ (รุก่นอีหมาน) ของพวกเขามี 5 ประการ และหลักปฏิบัติ (รุก่นอิสลาม) มี 10 ประการ ทั้งๆที่เรื่องนี้ก็มิได้มีคำสอนมาจากลูกหลานของท่านนบี (อะห์ลุลบัยต์) คนใด

และพวกเขายังได้เชื่อว่า บรรดาอิหม่ามนั้นเป็นมะอ์ซูม (ผู้ที่ได้รับการปกป้องจากความผิด) ฉะนั้นพวกเขาจึงได้ยึดเอาคำของอิหม่ามเป็นมาตรฐานทางศาสนา

นอกจากนั้นพวกเขายังประนามและด่าทอบรรดาวงศ์วานของท่านนบีและศอฮาบะห์ของท่านนบีอีกด้วย เช่นท่านอะบูบักร์ (เพื่อนสนิทและพ่อตาของท่านนบี) ท่านอุมัร (พ่อตาอีกคนหนึ่งของท่านนบี) ท่านอุสมาน (ลูกเขยของท่านนบี) ท่านหญิงอาอิชะห์ (ภรรยาของท่านนบี) และศอฮาบะห์ท่านอื่นๆ อีก โดยกล่าวหาว่า “หลังจากนบีเสียชีวิตบรรดาศอฮาบะห์ได้ตกมุรตัด (สิ้นสภาพการเป็นมุสลิม) เหลืออยู่เพียงสี่ท่านเท่านั้นที่คงสถานภาพความเป็นมุสลิมไว้คือ ท่านอาลี, ท่านมิกดาด, อะบูซัรริน, และท่านซัลมาน” อย่างนี้เป็นต้น

พฤติกรรมในด้านความเชื่อและการปฏิบัติของพวกเขาหลายประการไม่มีที่มาจากคำสอนของอัลลอฮ์และรอซูล
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

اِن الَدِيْنَ فَرَقُوا دِيْنَهُمْ وَكَانُوا شِيَعًا لَسْتَ مِنْهُمْ فِى شَئٍ


“แท้จริงบรรดาผู้ที่ได้แบ่งแยกศาสนาของพวกเขาออกไป แล้วพวกเขาก็กลายเป็นลัทธิต่างๆ ซึ่งเจ้า (มูฮัมหมัด) มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับพวกเขา” ซูเราะห์อัลอันอาม อายะห์ที่ 159

ลัทธิชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) จะเป็นอิสลามได้อย่างไรเล่า ในเมื่อฐานความเชื่อและการปฏิบัติของพวกเขานั้น ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง


.......................................................................................................................

·  คำถามที่ 2 ชีอะห์เป็นกาเฟรได้อย่างไร เพราะเขามีกะลิมะห์ ชะฮาดะห์


คำตอบ โดยอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

เหตุด้วยนี้แหละครับที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า คนที่มี “กะลิมะห์ซะฮาดะห์” ทุกคนเป็นมุสลิม จึงวางใจ สนิทสนมคบหาเป็นเพื่อน หรือยอมให้ลูกสาวไปแต่งงานด้วย แต่คนที่มี “กะลิมะห์ซะฮาดะห์” ไม่ใช่มุสลิมทุกคนดังนี้
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

ومن الناس من يقول آمنا بالله وباليوم الآخر وماهم بمؤمنين


“และมีมนุษย์ส่วนหนึ่งที่เขากล่าวว่า เราศรัทธาต่ออัลลอฮ์และศรัทธาวันอาคิเราะห์ แต่พวกเขาไม่ได้เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ศรัทธา” ซูเราะห์ อัลบะกอเราะห์ อายะห์ที่ 8

การจะเป็นผู้ศรัทธานั้นไม่ใช่แค่เพียงปากประกาศว่าเป็นมุสลิมก็เพียงพอแล้ว แต่จะต้องน้อมรับในสิ่งที่ท่านรอซูลได้นำมาสอนทั้งหมดด้วย มิใช่รับเพียงบางส่วนและปฏิเสธอีกบางส่วน ตัวอย่างเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคของท่านอบูบักร์ดังนี้

“หลังจากท่านนบีได้เสียชีวิตไปนั้น ชาวอาหรับกลุ่มหนึ่งปฏิเสธที่จะจ่ายซะกาต ท่านอบูบักร์จึงได้สั่งจัดทัพเพื่อไปกำราบ แต่ท่านอุมัรได้คัดค้านว่า ท่านจะยกทัพไปสู้รบกับคนที่เป็นมุสลิมได้อย่างไร ในขณะที่ท่านนบีได้เคยกล่าวว่า

أمرت أن أقاتل الناس حتى يقولوا لا اله الا الله فمن قالها فقد عصم منى ماله

ونفسه الا بحقه وحسابه على الله


“ฉันถูกใช้ให้ต่อสู้กับผู้ที่เป็นภัยต่ออิสลามจนกว่าพวกเขาจะกล่าวว่า ลาอิลาฮ่าอิ้ลลัลลอฮ์ และเมื่อพวกเขาได้กล่าวมันแล้ว ทรัพย์ของเขาชีวิตของเขาก็เป็นที่ต้องห้ามแก่ฉัน นอกจากสิทธิอันชอบธรรมแห่งอิสลาม และบัญชีของเขามีอยู่ ณ.ที่อัลลอฮ์”

ท่านอบูบักร์ได้ตอบว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ฉันจะต้องยกทัพไปต่อสู้กับผู้ที่ยอมรับเรื่องละหมาดแต่ปฏิเสธเรื่องซะกาต เพราะซะกาตนั้นคือทรัพย์ที่เป็นสิทธิอันชอบธรรมด้วยเช่นกัน ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า หากพวกเขาปฏิเสธแม้แต่ลูกแกะสักตัวหนึ่งที่เคยจ่ายให้แก่ท่านนบี ฉันก็จะสู้รบด้วยเหตุที่พวกเขาปฏิเสธ” บุคคอรี และมุสลิม

เหตุการณ์ข้างต้นนี้เป็นที่ประจักษ์ว่า คนมี “กะลิมะห์ซะฮาดะห์” แล้วปฏิเสธเรื่องหนึ่งเรื่องใดในอิสลามก็ถือว่า เขาไม่ใช่มุสลิม

ลัทธิชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) นั้นมิใช่แค่เพียงปฏิเสธเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ฐานความเชื่อของเขา (รุกนอีหมาน) และฐานการปฏิบัติของเขา (รุกนอิสลาม) ยังแตกต่างจากคำสอนของท่านนบีมูฮัมหมัดอย่างสิ้นเชิง (ดูคำตอบที่ 1)


........................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 3 ทำไมชอบกล่าวหาว่าชีอะห์เป็นกาเฟร ทั้งที่ชาวซุนนี่ก็แตกกันตั้งหลายนิกาย ทำไม ไม่บอกว่าเป็นกาเฟรบ้าง ?

คำตอบโดย อ.ฟารีด เฟ็นดี้

การกล่าวว่ากาเฟรคือกาเฟร ไม่ใช่เรื่องแปลก และการกล่าวว่ามุสลิมคือมุสลิม ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกัน แต่ที่แปลกก็คือ การกล่าวว่ามุสลิมคือกาเฟร หรือกล่าวว่ากาเฟรคือมุสลิม

ผู้ถามไม่ได้เจาะจงว่าใครเป็นผู้กล่าวหา แต่ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้นที่กล่าวอยู่เสมอว่า ชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) เป็นกาเฟร
และการกล่าวเช่นนี้ก็ไม่ใช่เป็นการกล่าวหา แต่เป็นการพูดในข้อเท็จจริงที่มีบทพิสูจน์โดยอัลกุรอาน และฮาดีษ ตัวอย่างเช่น
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

آمن الرسول بما أنزل اليه من ربه والمؤمنون كل آمن بالله وملائكته وكتبه ورسله


“รอซูลนั้นอีหม่านต่อสิ่งที่ถูกประทานลงมายังท่านจากองค์อภิบาลของท่าน และมุอ์มินทุกคนศรัทธาต่ออัลลอฮ์ มาลาอิกะห์ บรรดาคัมภีร์ และบรรดารอซูล” ซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ อายะห์ที่ 285

เพียงอัลกุรอานอายะห์เดียวนี้ ชาวชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) ก็หล่นจากการเป็นผู้ศรัทธาแล้ว เพราะพื้นฐานการศรัทธาของพวกเขามิได้เป็นไปตามที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงบอกไว้ แต่พื้นฐานการศรัทธาของชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) คือ เตาฮีต อาดิ้ล นุบูวัต อิมามัต และกิยามัต
อีกทั้งแนวทางของพวกเขาก็มิใช่เป็นแนวทางจาก อะห์ลุลบัยต์ (ลูกหลานวงศ์วานนบี) ท่านใด เพราะไม่มีลูกหลานหรือวงศ์วานของนบีที่ปฏิเสธอัลกุรอาน และซุนนะห์

การกล่าวว่า ชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) เป็นกาเฟรนี้ไม่ใช่เป็นการกล่าวเพราะว่า เขาไม่เหมือนเรา หรือเราไม่เหมือนเขา แต่พื้นฐานการศรัทธาของพวกเขาต่างหาก ที่ไม่เหมือนตามพระองค์อัลลอฮ์ได้ให้ท่านรอซูลมาประกาศ


คำพูดที่ว่า ชาวซุนนี่ แตกออกเป็นหลายนิกาย เป็นคำพูดที่ไม่ถูกต้อง เพราะคำว่า มัซฮับ ไม่ได้มีความหมายว่า นิกาย แต่หมายถึงแนวทางการวิเคราะห์ปัญหา เช่น
มัซฮับฮานาฟี หมายถึง แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาของอิหม่ามฮานาฟี
มัซฮับซาฟีอี หมายถึงแนวทางการวิเคราะห์ปัญหาของอิหม่ามซาฟีอี อย่างนี้เป็นต้น

และแม้ว่าแนวทางการวิเคราะห์ปัญหานี้จะมีหลากหลาย (หลายมัซฮับ) ก็ตาม แต่พื้นฐานการอีหมาน และพื้นฐานการปฏิบัติ ของพวกเขาไม่แตกต่างไปจากคำสอน

ในขณะที่พื้นฐานการศรัทธา และพื้นฐานการปฏบัติของชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) แตกต่างจากอัลกุรอาน และซุนนะห์ของท่านรอซูลโดยสิ้นเชิง

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 4 ผู้ปฏิเสธฮะดีษไม่ใช่มุสลิม?

ดิฉันฟังอาจารย์ฟารีดพูดออกรายการวิทยุ ว่าคนปฏิเสธฮะดีษศอเฮียะห์เป็นกาเฟร พอดีอ่านเจอข้อความต่อไปนี้ในเวบไซต์มุสลิม จึงนำบางส่วนมาให้อาจารย์อ่านด้วย..........

“ ที่คุณว่า อาจจะถูกในแง่ของผู้ที่ไม่แน่ใจ ใจว่า “อัลกุอานสมบูรณ์ครบถ้วน”, ในบางครั้ง ผมก็ ใช้ของผู้ที่แปลไว้โดย สมาคมนักเรียนเก่า อาหรับ เพราะเพื่อจะให้บางท่านเช่นคุณ เห็นด้วย, แต่บางครั้งถ้าผมเห็นว่า การแปลของ เขากำกวมมากไป ผมก็แปล ตรงๆ โดย ให้ความหมายตรงไปตรงมา เช่น ใน 7:185 เป็นต้น และมีอีกหลายอายะ ที่อัลกุรอาน กล่าวห้าม การ ใช้ ฮาดีษ แต่ เขาหลีกเลี่ยง การแปล เพราะไม่ต้องการใช้คำว่า ฮาดีษ ทับศัพท์,...”
อยากให้อาจารย์ช่วยชี้แจงด้วย เพราะเขากำลังเชิญชวนอยู่ อย่างนี้เป็นกาเฟรใหม ?

คำตอบโดยอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

คุณฟังไม่ผิดหรอกครับ ผมพูดจริงๆว่า คนที่ปฏิเสธฮะดีษศอเฮียะห์เป็นกาเฟร หรือสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม เพราะฮะดีษศอเฮียะห์นั้นได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มข้นตามกระบวนการวิชาฮะดีษ จนมั่นใจว่า เป็นคำพูด การกระทำ หรือการยอมรับของท่านนบีจริงๆ

การปฏิเสธคำสอนของท่านนบี ไม่แตกต่างกับการปฏิเสธตัวท่านนบี หรือตำแหน่ง(รอซูล)ของท่านนบี เพราะคำปฏิญาณตนประโยคที่สองว่า “อัชฮะดุอันน่ามูฮัมมะดัรรอซูลุ้ลลอฮ์” คือการประกาศยอมรับสิ่งที่ท่านนบีนำมาสอนด้วย มิใช่รับแต่เพียงตัวท่านอย่างเดียว

อัลกุรอ่านที่เขานำมาประกอบในการปฏิเสธฮะดีษคือ ซูเราะห์อัลอะอ์รอฟ อายะห์ที่ 185 ดังนี้

فبأى حديث بعده يؤمنون

“ยังจะมี ฮะดีษ ใดอีกเล่า หลังจากอัลกุรอานที่พวกเขาจะศรัทธากัน”


เป็นไปได้อย่างไรเล่า ที่พระองค์ได้ส่งท่านรอซูลมาสั่งสอนมนุษยชาติ แล้วก็บอกให้ปฏิเสธคำสอนของรอซูลด้วย หรือว่าผู้ที่เข้าใจเช่นนั้นจะเขลาไปเอง

ความจริงคำว่า ฮะดีษ ถูกนำมากล่าวในอัลกุรอานหลายอายะห์ แล้วก็มีความหมายแตกต่างกันออกไป ตามเนื้อเรื่อง และสำนวนของประโยค เช่น

فأعرض عنهم حتى يخوضوا فى حديث غيره

“ดังนั้นเจ้าจงผินหลังให้พวกเขา จนกว่าพวกเขาจะวิจารณ์ในเรื่องอื่น”
ซูเราะห์อัลอันอาม อายะห์ที่ 68


คำว่า ฮะดีษในอายะห์ข้างต้นนี้มีความหมายว่า เรื่องอื่นๆ มิได้หมายถึงสิ่งที่ถ่ายทอดมาจากนบีที่ถูกเรียกว่า ฮะดีษ

และหากเขายังยืนยันว่า ฮะดีษ ต้องหมายถึง ฮะดีษของท่านนบีเพียงอย่างเดียว ถ้าเช่นนั้นลองอ่านอัลกุรอานอีกอายะห์หนึ่ง พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

فدرنى ومن يكدب بهدا الحديث سنستدرجهم من حيث لا يعلمون

“ดังนั้น จงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของข้า สำหรับผู้ปฏิเสธ ฮะดีษ เราจะให้พวกเขาลง (สู่การลงโทษ) ทีละขั้น โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว”
ซูเราะห์อัลกอลัม อายะห์ที่ 44


หากคำว่า ฮะดีษ ต้องหมายถึง ฮะดีษของท่านนบีเพียงอย่างเดียว แล้วอายะห์ข้างต้นนี้ จะว่าอย่างไร ในเมื่ออัลลอฮ์บอกว่า พระองค์จะจัดการลงโทษผู้ปฏิเสธฮะดีษ
ไม่ใช่ครับ...ฮะดีษในอายะห์นี้หมายถึง อัลกุรอาน

นอกจากนี้แล้วยังมีอัลกุรอานอีกหลายอายะห์ ที่ใช้ให้ ตออะห์ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามท่านนบี เราช่วยกันบอกกล่าวตักเตือนให้เขาหันกลับมายอมรับและปฏิบัติตามฮะดีษศอเฮียะห์ เถิดครับ แต่หากเขายังดึงดันที่จะปฏิเสธอยู่ร่ำไป ผมก็ยืนยันเช่นเดิมว่า

ผู้ปฏิเสธฮะดีษศอเฮียะห์มิใช่มุสลิม


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 5 อยากทราบว่า fundamentalist คืออะไร?

คำถามโดยคุณ maei

พอดีที่เรียนอยู่ต้องไปรายงานเรื่องศาสนาอิสลาม แต่มีปัญหามากมายที่หาไม่ได้จากหนังสือ และinternet

ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไป ช่วยให้ความรู้หน่อยนะคะ

1. อยากทราบว่า fundamentalist คืออะไร(ผู้ที่เชื่อถือในหลักเดิมของศาสนาคริสต์)
2. ประเทศไหนบ้างที่ยึดหลัก fundamentalism (การนับถือหลักเดิมของศาสนาคริสต์)
3. หลักนี้เป็นของนิกาย Shi'ah หรือ Sunni
4. หลักนี้คือการใช้หลักศาสนามาปกครองประเทศเหรอคะ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ไม่แน่ใจว่าผู้ถามเป็นมุสลิมหรือไม่ หรือเป็นผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องของอิสลาม แต่ที่ได้สอบถามมานี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์ ซึ่งถ้าได้สอบถามจากผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ก็จะได้ทราบรายละเอียดของความเชื่อจากผู้ที่นับถือโดยตรง แต่เมื่อถามมาที่นี่ เราก็จะตอบให้ตามตัวบทหลักฐานในกรอบของศาสนาอิสลาม

ขอทำความเข้าใจในเบื้องแรกก่อนว่า ศาสนาอิสลามกับศาสนาคริสต์ไม่มีความเกี่ยวพันธ์ใดๆกันทั้งสิ้น ซึ่งเราได้เห็นข้อแตกต่างบนพื้นฐานหลักดังนี้

1 – พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงแต่งตั้งศาสนทูตของพระองค์มาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นนัวฮ์ (โนอา ) อิบรอฮีม ( อับรอฮัม ) มูซา (โมเซส ) อีซา ( เยซู ) และมูฮัมหมัด ศาสนทูตท่านสุดท้าย ซึ่งศาสนทูตของอัลลอฮ์ทุกท่าน ได้เรียกร้องเชิญชวนผู้คนสู่การศรัทธาต่อพระองค์แต่เพียงองค์เดียวและออกห่างจากภาคีทั้งปวง หรือกล่าวได้ว่า ศาสนทูตทุกท่านเรียกร้องไปสู่อัลอิสลาม โดยไม่มีท่านใดเลยที่เรียกร้องไปสู่ศาสนาคริสต์หรือศาสนาอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้
2 – พระองค์อัลลอฮ์ พระเจ้าที่มุสลิมสักการะ มิใช่พระยะโฮวา พระบิดา พระเจ้าที่พวกเขาเชื่อว่ามีบุตร
3 – นบีมูซาและนบีอีซา คือรอซูลของอัลลอฮ์ มิใช่เยซูที่พวกเขาเชื่อว่าถูกฆ่าตาย หรือถูกจับตรึงกางเขน หรืออุซัยร์ที่ชาวยะฮูดเชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า
4 – คัมภีร์อัตเตารอตที่ประทานให้แก่นบีมูซา และคัมภีร์อินญีลที่ประทานให้แก่นบีอีซา คือคัมภีร์ของอัลลอฮ์ มิใช่ไบเบิ้ลเก่า,ไบเบิ้ลใหม่ หรือคัมภีร์ตัลมูด และ ฯลฯ ที่พวกเขายกร่างกันขึ้นเอง ซึ่งมิใช่คัมภีร์ของอัลลอฮ์ และมิได้มาจากอัลลอฮ์

เสนอแนะให้อ่านเพิ่มเติมจากหนังสือ สถานภาพของยะฮูดดี นัศรอนี และอะห์ลุลกิตาบ เล่มที่ 1 โดยอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

คำว่า fundamentalist ที่หมายถึงผู้ที่เชื่อถือหลักเดิมของศาสนาคริสต์ ตามที่ถามมานั้น ก็มิได้เกี่ยวข้องอะไรกับอิสลาม เพราะศาสนทูตอีซา เรียกร้องไปสู่การสักการะต่อพระองค์อัลลอฮ์เช่นเดียวกัน

“แท้จริงอัลลอฮ์คือพระเจ้าของฉัน และพระเจ้าของพวกท่าน ดังนั้นพวกท่านจงสักการะต่อพระองค์เถิด” อัลกุรอาน 3/51

ศาสนทูตอีซาได้รับคัมภีร์ชื่อ อินญีล ซึ่งก็เป็นคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และผู้ที่เชื่อศรัทธาต่อนบีอีซา อีกทั้งศรัทธาในคัมภีร์อินญีลนั้น พวกเขาถูกเรียกว่า มุสลิม พวกเขานับถือศาสนาอิสลาม (ไม่ใช่ศาสนาคริสต์ )
แต่หลังจากที่ท่านศาสนทูตมูฮัมหมัด ได้ประกาศอิสลาม ผู้คนเหล่านี้ก็มาศรัทธาต่อศาสนทูตมูฮัมหมัด และศรัทธาต่อคัมภีร์อัลกุรอานด้วย พวกเขาก็ยังคงสถานภาพของมุสลิม โดยพวกเขาได้รางวัลสองต่อ

“บรรดาผู้ซึ่งที่เราได้ประทานคัมภีร์ (อัตเตารอตและอินญีล) ให้แก่พวกเขาก่อนหน้ามัน (อัลกุรอาน) พวกเขาได้ศรัทธาต่ออัลกุรอานด้วย และเมื่อได้ถูกอ่านแก่พวกเขา พวกเขาก็กล่าวว่า เราศรัทธาต่ออัลกุรอานด้วย แท้จริงมันคือสัจธรรมที่มาจากองค์อภิบาลของเรา และแท้จริงเราได้เป็นผู้น้อมรับก่อนหน้านี้มาแล้ว พวกเหล่านี้แหละจะได้รับรางวัลสองต่อ” อัลกุรอาน 28/52 – 54

ส่วนผู้ที่ศรัทธาต่อศาสนทูตอีซา และคัมภีร์อินญีล ที่ปฏิเสธต่อศาสนทูตมูฮัมหมัดและคัมภีร์อัลกุรอานนั้น พวกเขาไม่ถูกเรียกว่ามุสลิมอีกแล้ว เพราะจะไม่มีมุสลิมหลงยุคหลังจากที่มูฮัมหมัดประกาศอิสลาม ที่สำคัญก็คือ ท่านศาสนทูตมูฮัมหมัดนั้น มิใช่เป็นศาสนทูตของกลุ่มชนใดโดยเฉพาะ แต่เป็นศาสนทูตของประชาชาติอิสลามทั้งมวล เพราะฉะนั้นใครจะยึดถืออิสลามก็ต้องศรัทธาต่อท่าน และศรัทธาต่อัลกุรอานด้วย ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงไม่ถูกเรียกว่า มุสลิม แต่เรียกว่า ชาวคัมภีร์ (อะห์ลุลกิตาบ)

และถ้าจะถามว่า fundamentalist ( ผู้ที่เชื่อถือในหลักเดิมของศาสนาคริสต์ ) กับชาวคัมภีร์นี้เหมือนกัน หรือเป็นกลุ่มเดียวกันใช่ไหม ถ้าท่านถามผู้รู้บางท่านอาจจะได้รับคำตอบว่า ใช่ แต่สำหรับผมตอบว่า ไม่ใช่ เพราะชาวคัมภีร์ศรัทธาต่อศาสนทูตอีซา และคัมภีร์อินญีล แต่ปฏิเสธศาสนทูตมูฮัมหมัด และคัมภีร์อัลกุรอาน อย่างไรก็ตามฐานการศรัทธาเดิมของพวกเขายังคงอยู่เช่น ศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮ์ สักการะต่อพระองค์ เชื่อในเรื่องกาลอวสาน เชื่อมั่นชีวิตในโลกหน้า การตอบแทนความดีความชั่ว อย่างนี้เป็นต้น

ส่วนที่ถามว่า ประเทศไหนบ้างที่ยึดหลัก fundamentalism ( การนับถือหลักเดิมของศาสนาคริสต์ ) คำตอบก็คือ ไม่พบ ผมไม่พบจริงๆ อีกทั้งในกลุ่มชนชาวคริสต์ก็ยังมีข้อพิพาทกันเองในเรื่องหลักเดิมของพวกเขา เพราะฉะนั้นผมคงไม่ทำตัวเป็นกรรมการตัดสินว่า ความเชื่อในกลุ่มใดของพวกเขาถูกต้อง แต่ถ้าถามเรื่องหลักความเชื่อในอิสลาม ผมจะตอบให้

ในข้อที่ 3 และ 4 ขอรายละเอียดของคำถามเพิ่มเติมด้วยครับ ไม่เข้าใจคำถามจริงๆ

........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 6 อิสลามมีกี่นิกาย

คำถามโดยคุณ noname

ผมเคยฟังอาจารย์บรรยายว่า อิสลามไม่มีนิกาย แต่คนส่วนใหญ่บอกว่า อิสลามมีนิกายซุนนี กับนิกายชีอะฮ์ ตอนนี้ก็มีนิกายวะฮ์บีย์ เพิ่มมาอีก ผมจะเชื่อใครดี อาจารย์ช่วยตอบให้กระจ่างหน่อยนะครับ

คำตอบโดยอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

คำว่า นิกาย ตามความหมายทางพจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน หมายถึง คณะนักบวชศาสนาเดียวกัน แต่แยกความเชื่อถือออกเป็นส่วนย่อยต่างกัน พุทธศาสนาแยกเป็นสองนิกาย คือ อุตรนิกาย (มหายาน) และ ทักษิณนิกาย (หีนยาน) หรือ ธรรมยุตินิกาย และมหานิกาย สุตตันตปิฏก แยกเป็น 5 คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุทกนิกาย
อย่างศาสนาอิสลาม แยกเป็น นิกายเก่า นิกายใหม่ นิกายเจ้าเซ็น นิกายสุนหนี่ ฯลฯ
อย่างคริสต์ศาสนา แยกออกเป็น นิกายโรมันคาทอลิก โปรเตสแตนท์ เพรสบิทอเรียน ออร์โธด็อกซ์ ฯลฯ

ศาสนาอื่น กับความเชื่อในศาสนาของเขา ผมขอไม่วิจารณ์ แต่ศาสนาอิสลามของเราถูกวิจารณ์โดยคนศาสนาอื่น เป็นสิ่งที่เราต้องพิจารณา และบอกกล่าวให้เขาเข้าใจข้อเท็จจริงตามตัวบทของศาสนา มิใช่ว่าคนอื่นเขาจะตั้งให้เราเป็นนิกายต่างๆ แล้วเราก็ยอมรับตามนั้น

ความถูกต้องของศาสนาไม่ได้ขึ้นอยู่ที่คนปฏิบัติ เพราะอิสลามเป็นศาสนาของอัลลอฮ์ โดยไม่มีผู้ใดมีส่วนร่วมในการตราบัญญัติร่วมกับพระองค์
พรองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

أَمْ لَهُمْ شُرَكَؤا شَرَعُوا لَهُمْ مِنَ الدِيْنِ مَالَمْ يَأذَن بِهِ اللهُ


“หรือว่าพวกเขามีหุ้นส่วนที่ได้บัญญัติแก่พวกเขาในเรื่องศานา ซึ่งพระองค์อัลลอฮ์มิได้ทรงอนุมัติเช่นนั้น” ซูเราะห์อัชชูรอ อายะห์ที่ 21

อีกทั้งท่านนบีมูฮัมหมัดที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงตั้งให้เป็นศาสนทูตนั้น ก็มีหน้าที่ในการนำบัญชาของพระองค์มาประกาศให้มวลมนุษย์ได้รับทราบ ท่านมิได้คิดค้นวางข้อบัญญัติของศาสนาด้วยสติปัญญาของท่านเอง และท่านก็มิได้ประกาศสิ่งอื่นใดเลยนอกจากบัญชาของอัลลอฮ์เท่านั้น

แม้ว่าบรรดามุสลิมในยุคหลังๆ จะแตกแยกในเรื่องความเชื่อและการปฏิบัติต่างกันออกไปที่นอกเหนือจากคำสอนของท่านนบีมูฮัมหมัด แล้วอ้างว่ามันคือแนวทางของอิสลามด้วยก็ตาม แต่แนวทางเหล่านั้น เป็นแนวทางที่อุปโลกน์กันขึ้นเอง โดยพระองค์อัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์มิได้ให้การรับรองไว้
ศอฮาบะห์ของท่านรอซูล ชื่อญาบิร ได้รายงานว่า

“ขณะที่พวกเราอยู่กับท่านรอซูลในวันหนึ่ง ท่านได้ขีดเส้นตรงขึ้นมาเส้นหนึ่ง แล้วก็ขีดเส้นทางด้านขวามือของท่านสองเส้น และขีดเส้นทางด้านซ้ายมือของท่านอีกสองเส้นเช่นเดียวกัน แล้วท่านก็ชี้ไปที่เส้นกลาง แล้วอ่านอัลกุรอานโองการที่ว่า นี่คือแนวทางของข้าที่เที่ยงตรง พวกเจ้าจงปฏิบัติตามแนวทางนี้เถิด และอย่าได้ปฏิบัติตามแนวทางอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้ เพราะมันจะทำให้เจ้าหันห่างออกจากแนวทางของพระองค์” บันทึกโดยอิบนิมาญะห์

พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

اِنَّ الّذِيْنَ فَرَّقُوا دِيْنَهُمْ وَكانُوا شِيَعًا لَسْتَ مِنْهُمْ فِى شَئٍ


“บรรดาผู้ที่แยกศาสนาของพวกเขา แล้วพวกเขาก็กลายเป็นลัทธินิกายต่างๆ เจ้า (มูฮัมหมัด) มิได้เกี่ยวข้องกับพวกเขาแต่อย่างใด” ซูเราะห์อัลอันอาม อายะห์ที่ 159

ความเชื่อและการปฏิบัติที่แตกต่างไปจากคำสอนของท่านนบีมูฮัมหมัด เช่นความเชื่อของลัทธิชีอะห์อิหม่ามสิบสองนั้น แม้ว่าคนทั้งโลกจะอุปโลกน์ให้เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม แต่ก็เป็นอิสลามไปไม่ได้ เพราะมิได้มาจากคำสอนของอัลลอฮ์ และรอซูลของพระองค์ (อ่านในหมวดนี้ คำถามที่ 1 - 3 )

........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 7 ก็อดยานี

คำถามโดย คนรุ่นเก่า

ถามอาจารย์ฟารีดครับ
เมื่อก่อนอาจารย์สอนว่า ก็อดยานี เป็นกาเฟร เดี๋ยวนี้ไม่ได้ยินอาจารย์พูดเรื่องนี้เลย
อยากทราบว่า อาจารย์เปลี่ยนอุดมการณ์แล้วหรือ ?

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ตั้งแต่ผมสอนศาสนามาจนถึงวันที่ตอบคำถามนี้ (20 ธันวาคม 2549) ก็ย่างเข้าสู่ปีที่ 20 แล้ว ผมยังไม่เคยเปลี่ยนจุดยืน และยังคงประกาศเช่นเดิมว่า ลัทธิก็อดยานี ไม่ใช่อิสลาม เป็นกาเฟรอย่างแน่นอน

เพียงแต่ในปัจจุบัน มักจะมีคนเอาคำว่า “ก็อดยานี” ไปกล่าวร้ายผู้อื่นกันอยู่เนื่องๆ เช่นกล่าวหาบุคคลที่ไม่ชอบขี้หน้าว่าเป็นก็อดยานีบ้าง หรือไม่ก็สนับสนุนก็อดยานีบ้าง บางคนก็เอาข้อหานี้ไปเหมารวมคนทั้งมุเก่ม หรือไม่ก็เหมารวมคนทั้งตระกูลว่าเป็นก็อดยานี โดยไม่ได้พิจารณาว่า อะกีดะห์ของเขาเป็นเช่นไร นับเป็นเรื่องที่ล่อแหลมมาก และเสี่ยงต่อการตกมุรตัด (สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม) เสียเอง หากผู้ที่ถูกกล่าวหาไม่ได้เป็นอย่างที่เขากล่าว

คำว่าก็อดยานีเป็นกาเฟรนั้น ผมยังไม่เคยได้ยินนักวิชาการท่านใดคัดค้านคำพูดนี้ ก็เห็นเข้าใจตรงกัน แต่ใครละที่เป็นก็อดยานี ตรงนี้แหละครับที่ขัดแย้งกันจนไม่ดูดำดูดี ตัดพี่ตัดน้องกันไปเลยก็มี

ความเชื่อที่ว่า นบีอีซามีพ่อ, นบีอีซาไม่ได้พูดตั้งแต่ยังแบเบาะ,ท่านหญิงมัรยำมีสามี, นบีมูซาเอาไม้เท้าไปหยั่งน้ำทะเลสำรวจความลึก, น้ำทะเลไม่ได้แยกออกแต่เป็นช่วงจังหวะน้ำลด และฯลฯ เหล่านี้ก็ไม่ใช่กรณีพิพาทอีกเช่นกัน เพราะต่างก็เข้าใจตรงกันว่าความเชื่อเช่นนั้นไม่ถูกต้อง เป็นความเชื่อที่ผิด

แต่ผิดในที่นี้ผิดด้วยข้อหาอะไร ตรงนี้แหละครับที่เป็นกรณีพิพาทจริงๆ ซึ่งฝ่ายหนึ่งว่าผิดด้วยข้อหามีอะกีดะห์ก็อดยานี และอีกฝ่ายหนึ่งก็ว่าผิด แต่ผิดในข้อหาอะกีดะห์มัวอ์ตะซีละห์ เป็นประเด็นของความต่างในการให้ข้อหา

เมื่อทั้งสองฝ่ายก็ยอมรับว่าผิด แล้วจะมาเถียงกันเอาเป็นเอาตายกันทำไม บอกให้คนรู้ข้อผิดพลาดนั้นไม่ดีกว่าหรือ จะได้ไม่มีใครไปเชื่อผิดๆเช่นนั้น

แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิดหรอกครับ
เพราะผิดในข้อหาก็อดยานี นั้นกาเฟรสถานเดียว
แต่ผิดในข้อหามัวอ์ตะซีละห์นั้นยังไม่ถึงขั้นกาเฟร

และคนที่ให้ข้อหากับคนที่ถูกให้ข้อหานี้ก็ล้มหายตายจากไปแล้วหลายท่าน (ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาพวกเขาด้วยเถิด) เอาเป็นว่า เราและท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ อย่าได้ไปเอาความเชื่อผิดๆ เช่นนั้นมายึดถือก็แล้วกัน จะได้ไม่เป็นทั้งก็อดยานี และไม่เป็นทั้งมัวอ์ตะซีละฮ์

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


[ กลับไปข้างบน ]