ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



ตอนที่ 24 ฮะดีษกุดซีย์




การจำแนกฮะดีษโดยพิจารณาถึงแหล่งที่มา



ฮะดีษโดยการพิจารณาถึงแหล่งที่มานั้นถูกจำแนกออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่า ฮะดีษบทนั้นสายรายงานที่อ้างสืบไปถึงผู้ใด



สืบถึงพระองค์อัลลอฮ์ เรียกว่า ฮะดีษ กุดซีย์

สืบถึงท่านรอซูล เรียกว่า ฮะดีษ มัรฟัวอ์

สืบถึงศอฮาบะห์ เรียกว่า ฮะดีษ เมากูฟ

สืบถึงตาบีอีนหรือ ตาบิอิตตาบีอีน เรียกว่า ฮะดีษ มั๊กตัวอ์







ฮะดีษกุดซีย์

ฮะดีษกุดซีย์คือเรื่องราวที่ท่านรอซูล กล่าวอ้างถึงพระองค์อัลลอฮ์ แต่มิใช่อัลกุรอาน ซึ่งบรรดานักวิชาการได้ให้คำจำกัดความ ฮะดีษกุดซีย์ ว่า
เรื่องที่ท่านรอซูลได้รายงานจากพระองค์อัลลอฮ์ ในด้านความหมาย ซึ่งคำรายงานนั้นเป็นคำของท่านรอซูลเอง โดยญีบรีลเป็นผู้นำความหมายนี้มาบอกกับท่านรอซูล
เหตุที่เรียกว่า ฮะดีษ ก็เพราะเป็นเรื่องที่ท่านรอซูลได้รายงาน (ถ้อยความ)
เหตุที่เรียกว่า กุดซีย์ เพราะเป็นเรื่องที่อ้างถึงพระองค์อัลลอฮ์ (ความหมาย) ซึ่งคำว่า กุดซีย์ ในทางภาษานั้นหมายถึง ความบริสุทธิ์

สำนวนการรายงานของฮะดีษกุดซีย์

ท่านจะทราบได้ทันทีว่า ฮะดีษที่รายงานมานั้นเป็นฮะดีษกุดซีย์ ก็ต่อเมื่อ การรายงานนั้นท่านรอซูลได้อ้างถึงพระองค์อัลลอฮ์ เช่น

1 – ท่านรอซูล ทรงกล่าวว่า พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า..........
2 – พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าว โดยคำรายงานจากท่านรอูลว่า..........
3 – ท่านรอซูลได้กล่าวด้วยเรื่องที่รายงานจากพระองค์อัลลอฮ์ว่า.............

ตัวอย่างฮะดีษกุดซีย์

عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَة َرَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ . قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلّىَ اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ . قَالَ اللهُ عَزَّوَجَلَّ .
يُؤْذِينِي ابْنُ آدَمَ يَسُبُّ الدَهْرَ وَأنَا الدَهْرُ بِيَدِي الأمْرُ أُ قَلِّبُ اللَيْلَ وَالنَهَارَ


รายงานจากอบีฮุรอยเราะห์ว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศอ็ลลอ็ลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า พระองค์อัลลอฮ์ อัซซะวะญัล ได้กล่าวว่า “ลูกหลานของอาดัมได้ให้ร้ายข้า เขาด่ากาลเวลา ขณะที่ข้าเป็นผู้บริหารกาลเวลา กิจการต่างอยู่ในกรรมสิทธิ์ของข้า ข้าได้สับเปลี่ยนกลางวันและกลางคืน” บันทึกโดย อิหม่ามบุคคอรี

ถ้อยคำและความหมายของฮะดีษกุดซีย์

นักวิชาการฮะดีษมีทัศนะที่แตกต่างกันในเรื่องถ้อยคำและความหมายของฮะดีษกุดซีย์ ดังนี้
1 – บางท่านให้ทัศนะว่า ถ้อยคำที่ถูกระบุอยู่ในฮะดีษกุดซีย์นั้น เป็นถ้อยคำของพระองค์อัลลอฮ์ เช่นเดียวกับอัลกุรอาน ฉะนั้นฮะดีษประเภทนี้จึงถูกเรียกว่า กุดซีย์ ซึ่งมีความหมายว่า บริสุทธิ์
2 – นักวิชาการฮะดีษโดยส่วนใหญ่ให้ทัศนะว่า ความหมายของฮะดีษกุดซีย์มาจากพระองค์อัลลออ์ ส่วนถ้อยคำของฮะดีษกุดซีย์นั้น เป็นถ้อยคำของท่านนบีเอง เพราะถ้อยคำของพระองค์อัลลอฮ์มีอยู่ชนิดเดียวคืออัลกุรอาน

ความแตกต่างระหว่างฮะดีษกุดซีย์กับอัลกุรอาน

1 – อัลกุรอานเป็น มัวอ์ญีซาต (สิ่งมหัศจรรย์) ที่มาจากอัลลอฮ์ ทั้งถ้อยคำและความหมายยังคงเป็นสิ่งท้าทายที่ไม่มีผู้ใดสามารถเลียนแบบได้ ซึ่งต่างกับฮะดีษกุดซีย์ ที่ไม่ถูกนับว่าเป็นมัวอ์ญีซาต
2 – อัลกุรอานถูกเรียกว่า กะลามุลลอฮ์ (พจนารถแห่งอัลลอฮ์) ทั้งถ้อยคำและความหมายเป็นวะฮีย์ ที่ถูกนำมามอบให้แก่ท่านนบีโดยญิบรีล แต่ฮะดีษกุดซีย์นั้น แม้จะถูกนับว่าเป็นวะฮีย์จากอัลลอฮ์ด้วย แต่ก็ความหมายเท่านั้น ส่วยถ้อยคำของฮะดีษกุดซีย์นั้น เป็นถ้อยคำของท่านนบีเอง
3 – การอ่านอัลกุรอานแต่ละตัวอักษรจะได้รับผลบุญจำนวน 10 เท่า ส่วนฮะดีษกุดซีย์นั้น ได้รับภาคผลโดยรวมจากการศึกษา และเมื่อปฏิบัติฮะดีษกุดซีย์ก็ไม่มีรายงานรับรองว่าจะได้รับผลบุญทุกตัวอักษรตามที่ระบุอยู่ในฮะดีษนั้น
4 – ไม่อนุญาตให้นำเอาฮะดีษกุดซีย์ไปอ่านแทนอัลกุรอานในละหมาด
5 – อัลกุรอานนั้นถูกถ่ายทอดมาในลักษณะ มุตะวาติร คือมีผู้รายงานจำนวนในทุกยุคทุกสมัย ซึ่งต่างกับฮะดีษกุดซีย์ที่บางบทที่ถูกถ่ายทอดมาโดยผู้รายงานจำนวนน้อย (อาฮาด)
6 – ไม่อนุญาตให้รายงานอัลกุรอานด้วยความหมาย และไม่อนุญาตให้เปลี่ยนถ้อยคำในอัลกุรอานโดยการนำคำอื่นมาแทนที่ ซึ่งต่างกับฮะดีษกุดซีย์ที่สามารถรายงานด้วยความหมาย หรือเปลี่ยนถ้อยคำรายงานได้ แต่เนื้อหาและเป้าหมายของฮะดีษจะต้องคงอยู่
7 – อัลกุรอานเป็นวะฮีย์ที่ญิบรีลทยอยนำมามอบให้แก่นบี เป็นครั้งคราวตามแต่วาระ และพระองค์อัลลอฮ์ได้ให้ญิบรีลมาทบทวนและเรียบเรียงให้ท่านนบีทราบ ซึ่งถูกจำแนกเป็นหมวด,บท,วรรค เรียกว่า ซูเราะห์,และ อายะห์ แต่ฮะดีษกุดซีย์ ไม่ถูกนับเป็นซูเราะห์ หรือ อายะห์
8 – ไม่อนุญาตให้สัมผัสหรืออ่านอัลกุรอาน สำหรับสตรีมีประจำเดือน, สตรีที่มีน้ำคาวปลาจากการคลอดบุตร, ผู้มีญุนุบ (ฮะดัษใหญ่) หรือผู้ที่มีฮะดัษ (ไม่มีน้ำละหมาด) แต่นักวิชาการบางท่านได้ให้ข้อยกเว้นสำหรับผู้ที่อ่านเพื่อขอความคุ้มครอง หรือเพื่อการเรียน,การสอน ซึ่งต่างกับฮะดีษกุดซีย์ที่ไม่มีเงื่อนไขในข้อนี้
9 – ไม่อนุญาตให้ขายอัลกุรอาน ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นที่นักวิชาการมีมุมมองที่แตกต่างกัน แต่ฮะดีษกุดซีย์นั้นเป็นที่อนุญาตโดยไม่มีประเด็นขัดแย้ง
10 – อัลกุรอานอ้างอิงถึงพระองค์อัลลอฮ์โดยเฉพาะ ต่างกับฮะดีษกุดซีย์ที่อ้างอิงถึงพระองค์อัลลอฮ์และท่านรอซูลด้วย









สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2006-10-28 (5418 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]