ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



ประพจน์สามัญและประพจน์เงื่อนไข






قضية


حملية – شرطية



ประพจน์สามัญและประพจน์เงื่อนไข




ก่อนหน้านี้เราได้ทำความเข้าใจกันมาแล้วว่า ประพจน์หนึ่งๆนั้นอาจจะมีความหมายเฉพาะประเด็นเดียว ที่เรียกว่า ประพจน์ความเดี่ยว (เอกรรถประโยค) หรืออาจสื่อความหมายเป็นหลายประเด็นก็ได้ ที่เรียกว่า ประพจน์มากความ (อเนกรรถประโยค) ทั้งนี้โดยพิจารณาถึงเนื้อความของประพจน์นั่นเอง



แต่ถ้าพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของแต่ละประพจน์ จะจำแนกได้เป็น 2 ชนิดคือ ประพจน์สามัญ ( قضية حملية ) และประพจน์เงื่อนไข ( قضية شرطية )



ประพจน์สามัญ

ประพจน์สามัญ หรือ قضية حملية ก็คือ ประพจน์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างภาคประธาน ( موضوع ) และภาคแสดงหรือขยายความ ( محمول ) เป็นไปอย่างปกติธรรมดา กล่าวคือ ถ้าเป็นการยอมรับก็เป็นการยอมรับแบบปกติโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆมากำกับ และถ้าหากปฏิเสธก็เป็นการปฏิเสธแบบปกติเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น

ประโยคยอมรับ : الانسان حيوان มนุษย์คือสัตว์ชนิดหนึ่ง
ประโยคปฏิเสธ : لا شئ من الانسان بحجر ไม่มีมนุษย์คนใดที่เป็นหิน

การยอมรับหรือการปฏิเสธตามตัวอย่างข้างต้นนี้เป็นการยอมรับและปฏิเสธในภาคประธาน ( موضوع ) คือคำว่า มนุษย์ เช่นในตัวอย่างที่สองที่ปฏิเสธว่า ไม่มีมนุษย์คนใดที่เป็นหิน แต่หากเป็นการปฏิเสธในภาคขยาย ( محمول ) คือคำว่า หิน ฉะนั้นประโยคที่สองต้องให้ความหมายว่า ไม่มีหินใดๆ ที่เป็นมนุษย์ ทำให้ความหมายของข้อความทั้งสองต่างกันคือ

ไม่มีมนุษย์คนใดที่เป็นหิน และ ไม่มีหินใดๆที่เป็นมนุษย์


อย่าเพิ่งงงเต๊กนะครับ ! ลองลำดับไล่เรียงดูช้าๆ แล้วจะพบว่าประโยคทั้งสองข้างต้นนี้มีความหมายแตกต่างกันจริงๆ ถ้าเช่นนั้นลองดูตัวอย่างคลายเครียดกันหน่อยก็ดี

ท่านนักศึกษาที่เรียนศาสนาและภาษาอาหรับมาถึงขนาดนี้ คงจะเคยเจอฮะดีษที่บรรดาศอฮาบะห์ถามนบีเกี่ยวกับเรื่องน้ำทะเลใช่ไหมครับ ท่านนบีได้ตอบว่า

هُوَ الطَّهُوْرُ مَاؤهُ الحَلالُ مَيْتَتُهُ

“น้ำทะเลนั้นสะอาด สัตว์ทะเลที่ตายก็เป็นที่อนุมัติ”
บันทึกโดยอิหม่ามบุคคอรี เลขที่ 6935


คำว่า الحلال ميتته นั้นมีบางท่านให้ความหมายว่า สัตว์ที่ตายในทะเล ผมเคยแย้งความหมายนี้แบบทีเล่นทีจริงว่า ถ้าหมูวิ่งลงไปตายในทะเลก็กินได้ใช่ไหม เพราะเป็นสัตว์ที่ตายในทะเล หรือในช่วงที่ไก่ล้นตลาด เขาก็เอาไปทิ้งทะเล เราจะเก็บซากไก่นี้มากินได้ไหม คำถามเช่นนี้ทำให้ผู้แปลชักสีหน้าไม่พอใจ แต่เราก็ได้เห็นความต่างของความหมายทั้งสองประโยคที่ว่า สัตว์ทะเลที่ตาย กับ สัตว์ที่ตายในทะเล ความหมายไม่เหมือนกันจริงๆ กุ้ง หอย ปู ปลา ที่อยู่ในทะเลนั้นมันจะตายในทะเลหรือมันจะตายบนบกก็เป็นที่อนุมัติ อย่างนี้แหละคือเป้าหมายที่นบีพูด แล้วท่านคิดว่า ควรจะแปลด้วยความหมายใดดี คุยแก้เครียดนะครับ....ทีนี้เรามาดูกันต่อ

การพิจารณาในตัวภาคประธาน หรือ موضوع นั้น ถ้าภาคประธานกล่าวเจาะจงถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่ใดเป็นการเฉพาะ เช่น

ตัวอย่างประโยคยอมรับ
زيد عالم เซดเป็นผู้รู้

ตัวอย่างประโยคปฏิเสธ
زيد ليس بجاهل เซดไม่ได้โง่


ภาคประธานของประโยคทั้งสองได้กล่าวถึงเฉพาะเซด ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น อย่างนี้เขาเรียกว่า مخصوصة หรือ شخصية คือเป็นประพจน์สามัญแบบเจาะจง
แต่ถ้าภาคประธานเป็นการพูดถึงข้อเท็จจริงของสิ่งใด ตัวอย่างเช่น

الانسان حيوان มนุษย์คือสัตว์ชนิดหนึ่ง


ตัวอย่างนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงของภาคประธานที่เป็นอภิชาต ( نوع ) ของภาคขยายความที่เป็นสกุล (جنس ) อย่างนี้เขาเรียกว่า طبيعة คือประพจน์สามัญแบบธรรมชาติ


ประพจน์เงื่อนไข

ประพจน์เงื่อนไข หรือ قضية شرطية ก็คือประพจน์ที่ภาคประธานและภาคแสดงมีเงื่อนไขต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขโดยการสันนิฐานหรือเงื่อนไขในลักษณะเผื่อเลือกก็ตาม ตัวอย่างเช่น

เงื่อนไขเผื่อเลือก เช่น ถ้าฝนตกรถก็จะติด ซึ่งรถจะติดหรือไม่ก็ขึ้นอยู่ที่ว่า ฝนจะตกหรือไม่ตก

เงื่อนไขสันนิฐาน เช่น เขาจะไปบ้านหรือจะไปตลาด ซึ่งเป็นการสันนิฐานว่าจะเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด

اذا كانت الشمس طالعة فالنهار موجود

ถ้าหากว่าดวงอาทิตย์ขึ้น กลางวันก็จะต้องมี


เราจะเห็นได้ว่าประพจน์เงื่อนไขหรือ قضية شرطية นี้ประกอบด้วยสองประโยครวมกันดังในตัวอย่างข้างต้น ประโยคแรกคือคำว่า ดวงอาทิตย์ขึ้น ถูกเรียกว่าภาคประธานของประพจน์เงื่อนไข ( مقدم ) และประโยคที่สองคือ กลางวันจะต้องมี ถูกรียกว่าเป็นภาคขยายของประพจน์เงื่อนไข ( تالي ) ซึ่งทั้งสองประโยคนี้เป็นเงื่อนไขต่อกัน โดยมีคำที่แสดงความเป็นเงื่อนไข คือคำว่า หากว่า นั่นเอง

คำภาษาอาหรับที่แสดงความเป็นเงื่อนไขในประพจน์ชนิดนี้ เช่นคำว่า اذاكان - ان كان - لو - لولا อย่างนี้เป็นต้น









สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2006-11-28 (1924 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]