ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



กว่าจะพูดเป็น




โครงการฝึกอบรมบุคลากร ปี 2536

เอกสารประกอบการอบรม

โดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้



การพูดต่อหน้าสาธารณชน



คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าการพูดเป็นเรื่องง่าย เพียงแต่พูดให้คนฟังรู้เรื่องเท่านั้นก็พอ แต่ความจริงแล้ว คนฟังอาจจะรู้เรื่องที่พูดก็จริง แต่จะเข้าใจหรือนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง หรืออาจจะเข้าใจตรงกันข้ามกับผู้พูดก็เป็นได้ เพราะการพูดนั้นมิใช่เพียงการเปล่งเสียงออกจากลำคอเยงอย่างเดียว แต่คนเราสามารถที่จะพูดได้ด้วยสีหน้า ,ท่าทาง และแววตาอีกด้วย ตัวอย่างเช่น คนใบ้สามารถที่จะพูดกับคนไม่เป็นใบ้ด้วยท่าทางที่เขาแสดงออก หรือคนที่โกรธจะแสดงอาการโกรธออกมาด้วยสีหน้าและแววตา อย่างนี้เป็นต้น

ฉะนั้นผู้พูดที่มีประสบการณ์จึงมักจะพูดกับคนฟังด้วยเสียง,ภาษา,สีหน้า,ท่าทาง และแววตา พร้อมกันอย่างพอเหมาะพอเจาะ ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจและอยากติดตามการพูดของเขาอีก






การพูดแบบต่างๆ

การพูดต่อหน้าสาธารณะชนนั้นสามารถแบ่งออกได้หลายแบบตามแต่สถานที่และโอกาสที่แตกต่างกันไป ซึ่งสามารถกล่าวได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1 ? การพูดแบบจูงใจหรือชักชวน การพูดประเภทนี้จะมีเนื้อหาที่ชักชวนให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกคล้อยตาม หรือเกิดความรู้สึกประทับใจในเรื่องราวที่เกิดขึ้น มักจะเป็นการพูดที่เร้าอารมณ์ของผู้ฟัง กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบในรูปแบบต่างๆ อาจจะออกมาในรูปของความรู้สึกคล้อยตาม หรืออาจเป็นความรู้สึกที่รุนแรงรูปอื่น ลักษณะของการพูดมักจะมีการให้รายละเอียดของเรื่องต่าง และใช้วิธีการพูด การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และท่าทางเข้ามาประกอบเพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกคล้อยตาม ส่วนมากการพูดในลักษณะนี้ได้แก่ การโฆษณาหาเสียง,การโต้วาที, หรือการปลุกระดมต่างๆ จะเน้นเรื่องของปฏิกิริยาโต้ตอบ และวิธีการพูดเป็นจุดสำคัญ

2 ? การพูดแบบบอกเล่าหรือบรรยาย การพูดประเภทนี้ส่วนมากจะเป็นการพูดที่ผู้พูดต้องการให้คนฟังได้รับทราบเรื่องราวต่างๆ หรืออาจเป็นการสาธิตการทำสิ่งของบางอย่าง เป็นการพูดประเภทให้รายละเอียด เน้นในด้านเนื้อหาและความเข้าใจมากกว่าจะเป็นการชักจูงให้คล้อยตาม การพูดประเภทนี้จุดประสงค์จึงมิได้มุ่งจะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบจากคนฟัง แต่มุ่งที่จะสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ฟังในเรื่องราวที่พูด ได้แก่การบรรยายในห้องเรียน, การเล่าประสบการณ์,หรือการอธิบายวิธีทำหรือใช้เครื่องมือต่างๆ

3 ? การพูดแบบให้ความบันเทิง การพูดแบบให้ความบันเทิงนี้มีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียวคือ เพื่อผ่อนคลายความตรึงเครียดของผู้ฟัง ปฏิกิริยาโต้ตอบที่เกิดขึ้นคือรอยยิ้มหรือเสียงหัวเราะ การฝึกหัดสำหรับพูดเพื่อความบันเทิงดูจะเป็นความยากลำบากกว่าการพูดประเภทอื่น เพราะลีลาการใช้คำพูด,ท่าทาง,น้ำเสียง เหล่านี้ต้องเป็นสิ่งคล้องจองกันหมด นอกจากนั้นผู้พูดต้องเป็นผู้มีไหวพริบดี สนใจความเป็นไปรอบตัว และสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องมีอารมณ์ขัน

อย่างไรก็ตามการพูดทั้ง 3 แบบนี้มักจะใช้รวมๆกันเสมอ โดยอาจจะแทรกอยู่ตามส่วนต่างๆของการพูด ในบางครั้ง เมื่อเราพูดจูงใจคนให้คล้อยตาม เราก็มีความจำเป็นต้องอธิบายรายละเอียดเบื้องหลังเรื่องราวให้ผู้ฟังได้เข้าใจมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็อาจจะสอดแทรกตัวอย่างบางตอนที่น่าขบขัน ทั้งนี้เพื่อให้การพูดนั้นน่าสนใจ และสมารถจดจำได้เป็นเวลานาน
การผสมผสานกันของการพูดทั้ง 3 แบบนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้พูดเอง โดยจะใช้ประสบการณ์และความชำนาญของตัวเองเป็นผู้กำหนด เทคนิคของการพูดขึ้นอยู่กับการพูดของแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะตน ไม่มีใครพูดเหมือนกันทุกอย่าง อาจมีการพูดที่คล้ายคลึงกัน แต่ไม่ควรเลียนแบบให้เหมือนคนอื่น เพราะแต่ละคนนั้นย่อมมีบุคลิกลักษณะเฉพาะตน แต่สามารถที่จะดัดแปลงเทคนิคการพูดของคนอื่นมาประยุกต์ใช้กับตัวเองได้ ที่สำคัญคือมั่นใจในตัวเอง และเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด

รู้จักตัวเองก่อนที่จะเป็นนักพูด

ถ้าเรายังไม่รู้จักตัวเอง หรือไม่ยอมรับสภาพความเป็นจริงก็คงจะเป็นนักพูดที่ดีได้ยาก ฉะนั้นเราควรทำความเข้าใจแต่เบื้องแรก แล้วพิจารณาตัวเอง พร้อมยอมรับฟังคำวิจารณ์จากคนอื่นว่า

บุคลิกของตัวเองเป็นอย่างไร ตอบ..........................................................
น้ำเสียงของตัวเองเป็นอย่างไร ตอบ..........................................................
สีหน้า,ท่าทาง และแววตาเป็นอย่างไร ตอบ.........................................................
ถ้าไม่หลอกตัวเองก็จะพบกับจุดบกพร่องที่ต้องแก้ไข แล้วพยายามฝึกฝนดังนี้

1 - การใช้เสียง (สูง ? ต่ำ ? ดัง ? ค่อย ? เร็ว ? ช้า )

เสียงมีความสำคัญต่อผู้พูดเป็นอย่างมาก เพราะจะบ่งบอกถึงบุคลิกภาพของผู้พูดเป็นอย่างดี เช่นสามารถที่จะแสดงความเข้มแข็ง, ความอ่อนแอ, ความมั่นใจในตัวเอง,ความโกรธ, ความยินดี และฯลฯ
การพูดในแต่ละครั้งมักจะใช้เสียงสูง เสียงกลาง เสียงต่ำ สลับกันไปเสมอ และผู้พูดควรจะรู้ว่าจะต้องเน้นเสียงในช่วงใดบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเรื่องที่กำลังพูดในขณะนั้น ลองฝึกใช้เสียงกับเรื่องต่อไปนี้

เรื่องที่ 1 ?ไอ้เสื้อเข้ม ....ขณะนี้ตำรวจได้ล้อมไว้หมดแล้ว จงออกมามอบตัวแต่โดยดี ถ้าไม่ออกมาพวกเราจะบุกแล้วนะ...หนึ่ง...สอง....สาม...ปังๆๆๆๆ โอ้ย...?

เรื่องที่ 2 ? พวกเรียะอล์ กับพวกซักวาน ได้เดินทางมาหาท่านรอซูล แล้วก็บอกว่า ที่เมืองของเรามีผู้ศรัทธาอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีผู้รู้ที่จะชี้นำ ได้โปรดส่งผู้รู้ไปที่เมืองของเราด้วย ท่านรอซูลจึงได้ส่งนักท่องจำอัลกุรอานเดินทางไปกับพวกเขา 70 คนด้วยกัน แต่พอไปถึงกลางทางพวกเขาได้ฆ่านักท่องจำอัลกุรอานตายทั้งหมด เมื่อรอซูลทราบเรื่อง ท่านถึงกับหลั่งน้ำตา แล้วขอดุอาอ์สาปแช่งพวกเขาเป็นเวลา 1 เดือน?

เรื่องที่ 3 ? แสดงแดดส่องผ่องอำไพในพื้นหล้า
แรงร้อนจ้าพาใจให้ถวิล
ต้องออกนาเกี่ยวข้าวกล้าเป็นอาจินต์
มิสูญสิ้นความหวังดังตั้งใจ
ยอมลำบากตรากตรำทำงานหนัก
ถึงแม้จักพรากชีวีนี้สลาย
เพื่อส่งลูกเรียนวิชา ณ.เมืองไกล
เป็นผลหมายที่พ่อพร่ำตรากตรำมา
เมื่อลูกจากพ่อไปไคโรนั้น
ใจพ่อหวั่นคิดถึงคะนึงหา
ลูกเอ๋ยลูกจากพ่อไปไกลสุดตา
ข่มอุราว่าลูกข้านั้นไปเรียน
เพียงปีแรกกู้เขามาห้าหมื่นบาท
ผืนนาขาดวิ่นไปรอยไถเปลี่ยน
เหลือแต่ขอบคันนาหญ้าเฮี้ยนเตียน
ถูกเขาเปลี่ยนเป็นแคหะอย่างสะใจ?

พยายามฝึกใช้เสียงกับทั้ง 3 เรื่องข้างต้นนี้ โดยอัดเทปแล้วฟัง พร้อมกับวิจารณ์ตัวเองอย่างไม่เข้าข้างตัวเอง หรือไม่ก็ลองให้คนรอบข้างฟังและวิจารณ์ อย่าลืมนะครับ ถ้าจะเป็นนักพูดที่ดีต้องรับฟังคำวิจารณ์ได้เสมอ

2 ? การใช้ท่าทาง

ผู้ที่ฝึกพูดใหม่ๆมักจะมีปัญหาเรื่องท่าทางเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้มือในขณะพูด บ้างก็ใช้มือล้วงกระเป๋า บ้างก็เอามือกุมเป้ากางเกง บ้างก็เกาหัว เกาคาง เกาแขน แคะจมูก ซึ่งเป็นภาพที่ไม่น่ามองอย่างยิ่ง หรือไม่ก็ยืนโคลงตัวไปมา อาการวอกแวก บ้างก็ยืนปรับไมล์ไปพูดไปอยู่ตลอดเวลา ทำให้เสียบุคลิกของผู้พูดเอง
แต่ถ้าสถานที่ที่ใช้พูดมีโต๊ะมาตั้งสักตัว ก็สามารถที่จะลดอาการดังกล่าวข้างต้นได้มาก กล่าวคือผู้พูดอาจจะเอามือวางบนโต๊ะเฉยๆ แล้วพูดไปจนกระทั่งจบ แต่ก็จะเป็นการพูดที่จืดชืดขาดรสชาติพอควร
เมื่อเราเลือกสถานที่หรือเวทีที่จะพูดไม่ได้ จึงต้องมีความพร้อมที่จะพูดอยู่ทุกขณะ แต่ในที่นี้ก็ไม่สามารถที่จะกำหนดได้ว่า ต้องใช้ท่านั้นท่านี้เสมอไป เพราะการใช้ท่าทางประกอบการพูดนั้นต้องขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะพูดด้วย ลองฝึกพูดโดยใช้ท่าทางประกอบกับเรื่องต่อไปนี้

? เดี๋ยวยี้เยาวชนของเรากำลังเดินหลงทาง ได้รับการปลูกฝังค่านิยมที่ผิดๆ เมื่อก่อนเราไม่เคยเห็นผู้ชายไว้ผมยาว ใส่ต่างหู แต่เดี๋ยวนี้ ไว้ผมยาวใส่ต่างหู แถวด้วยกำไลข้อมืออีกต่างหาก บางครั้งมองข้างหลังยังไม่รู้ว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ไอ้ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ เยาวชนของเราริเป็นหมอกันโดยไม่ต้องเรียนแพทย์ คือเขาจะเอาเข็มฉีดยา ฉีดเข้าเส้นเลือดของตัวเอง ไอ้ทีฉีดเข้าไปนะ ผงครับ ผงขาว ไม่ใช่อย่างอื่น แล้วเป็นไง ตายคาเข็มกันไปไม่รู้กี่ราย
บ้างก็เป็นพวกไมล์ลอย คือดมกาว พอสะลึมมสะลือได้ที่ดีแล้วก็จะคว้าเดือนคว้าดาว พวกนี้มีความสามารถ มันเอาดาวเอาเดือนมาเล่นได้ มันเอาดวงอาทิตย์มาใส่มือมันได้ ฟังแล้วอาจจะเป็นเรื่องน่าขำขัน แต่ขำไม่ออก เพราะอะไร เพราะเด็กมุสลิมทั้งนั้น ดูซิ...เดี๋ยวนี้ตัวเล็กตัวน้อยเสพยาบ้ากันเป็นแถว เด็กชั้นประถาม มัธยม อายุจะเท่าไหร่ ไม่เกิน 15 จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการต้องออกมายอมรับว่าจริง เพราะอะไร เพราะมันระบาดไปทั่วทุกโรงเรียนแล้ว
เมื่อก่อนคนกินยาม้าเขาบอกว่าแก้ง่วง มันเป็นยาขยัน แต่เด็กเดี๋ยวนี้มันใช้วิธีการเสพ คือเอาไปลนกับกระดาษฟลอยแล้วเสพควันเข้าไป แล้วอาการของมันก็จะเปลี่ยนไป จากคนกลายเป็นม้า แล้วจะไปปราบกันตรงไหน ออกพ้นหน้าบ้านก็หาซื้อได้แล้ว เขาขายกันเหมือนกับขายขนม
คนที่ไม่มีลูกมีเต้าจะไม่รู้หรอกว่า หัวอกคนเป็นพ่อเป็นแม่นั้นเป็นอย่างไร แล้วจะไปแก้กันตรงไหน หลายคนบอกว่าต้องปลูกฝังอีหม่านเข้าไป ตอกย้ำมันอยู่เรื่อยๆ ให้มันได้เรียนรู้ศาสนา จะให้โต๊ะครูเป็นคนแก้นะหรือ บางทีลูกโต๊ะครูก็เป็นเสียเอง จะให้พ่อแม่สอน พ่อแม่ก็ไม่เข้าใจศาสนา แล้วจะเอาอะไรไปสอน เอ...พูดอย่างนี้ก็แสดงว่าโต๊ะครูก็ไม่เข้าใจศาสนาด้วยนะซิ ลูกโต๊ะครูถึงได้เสพยาบ้าเสพผงเสียเอง
เอาวิธีการของอิสลามซิครับ เอาวิธีการและขั้นตอนที่นบีของเรานำมาสอน ซึ่งไม่ใช่วิธีการสอนท่องจำอีหม่านอย่างที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ใครท่องจำกุรอานเยอะก็เอาไป 100 คะแนน แต่ถ้าไปถามดูแล้ว..เข้าใจไหม ไม่เข้าใจเลย วัดได้จากตัวเราเองนี่แหละ เพราะเราก็เคยท่องจำมาก่อน แล้วเข้าใจไหม ฉะนั้นมันจึงต้องปรับครับ ปรับทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ให้เข้าใจศาสนาอย่างที่นบีนำมาสอน ไม่ใช่ท่องจำศาสนาด้วยวิธีการที่คนอื่นเอามาสอน?

การใช้ท่าทางประกอบการพูดนี้จะสัมพันธ์กับเสียงของผู้พูดเสมอ กล่าวคือผู้พูดควรจะรู้ด้วยว่าควรใช้เสียงนั้นตรงคำพูดใด และจะใช้ท่าใดประกอบกับคำพูดนั้น แต่ข้อควรระวังก็คือการใช้ท่าประกอบนี้จะต้องไม่มากและน้อยจนเกินไป เพราะหากใช้ท่าทางมากเกินกว่าความจำเป็น ผู้ฟังก็อาจไปให้ความสำคัญกับท่าทางมากกว่าเรื่องที่พูด หรือหากใช้ท่าทางน้อยเกินไปก็จะขาดความเข้มข้นและไม่น่าติดตาม ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่าแค่ไหนคือความพอดี คงจะตอบให้เข้าใจ ณ.ที่นี้ได้ยาก แต่ผู้หัดพูดควรฝึกหลายๆครั้ง และลองให้คนรอบข้างได้วิจารณ์ว่าเป็นเช่นใดบ้าง หรือถ้าต้องการวิจารณ์ตัวเองก็ลองอัดวีดิโอเทปดูซิครับ แต่มันยากตรงที่ต้องวิจารณ์ตัวเองนี่แหละ

3 ? การใช้สีหน้าและแววตา

การใช้สีหน้าและแววตาคงจะเป็นสิ่งที่ยากสำหรับนักพูดหน้าใหม่ หรือบางครั้งนักพูดที่ชินเวทีก็มิกล้าสบตากับผู้ฟังได้เหมือนกัน เป็นเรื่องแปลกที่ในยามปกติคนเราจะแสดงสีหน้าและแววตาได้ทุกสภาพโดยไม่มีผู้ใดบังคับ เช่นในยามโกรธ ก็จะแสดงสีหน้าและแววตาที่ขึงขัง ในยามดีใจสีหน้าและแววตาก็จะดูสดชื่น แจ่มใส หรือในยามเสียใจ สีหน้าและแววตาก็จะดูหม่นหมองแสดงอาการเศร้า ฉะนั้นคนที่เก็บสีหน้าและแววตาได้ดี จึงเป็นคนที่เก็บอารมณ์และความรู้สึกได้เป็นเลิศ

อย่างไรก็ตามนักพูดที่ดีจะต้องมีสีหน้าและแววตาที่เป็นธรรมชาติ มิใช่เป็นการเสแสร้ง และท่านก็ทำเช่นนั้นได้ไม่ตลอด ฉะนั้นเมื่อก้าวขึ้นเวทีจะต้องมีความรู้สึกอยากพูด หรืออยากให้ความรู้แก่คนฟัง คงไม่มีใครที่จะทนฟังคนที่พูดโดยมีอาการเหมือนถูกบังคับให้มาพูด น่าเบื่อที่สุด
การใช้สีหน้าที่สัมพันธ์กับเรื่องที่พูด จะทำให้คนฟังเกิดความรู้สึกเหมือนกับอยู่กับเหตุการณ์ด้วยตัวเอง เช่นในขณะที่ท่านกำลังเล่าเหตุการณ์ที่ตื่นเต้น หรือสยดสยองอยู่นั้น สีหน้าของท่านก็จะต้องมีอาการตื่นเต้นไปด้วย หรือถ้ากำลังเล่าเหตุการณ์ที่ขบขัน สีหน้าของท่านก็จะต้องเบิกบานแจ่มใส
และการใช้สายตาก็เช่นกัน นักพูดหน้าใหม่มักจะเลี่ยงการสบตากับผู้ฟังเสมอ โดยจะมองพื้น มองเพดาน มองตู้ มองโต๊ะ ไปตามเรื่อง หรือไม่ก็จะหันสายตาไปจับจ้องอยู่ที่คนใดคนหนึ่งเป็นกรณีพิเศษ เหมือนว่าเขากำลังคุยกับผู้นั้นอยู่สองคน ในขณะที่ผู้ฟังอีกหลายคนกำลังมองเขาอยู่ เมื่อเป็นดังนี้แล้วความสำคัญในการฟังจึงหมดไป ในกรณีอย่างนี้ท่านจะต้องมีความรู้สึกที่เป็นกันเองกับคนฟังให้มากที่สุด แล้วกวาดสายตาไปทุกจุดอย่างช้าๆ จะทำให้คนฟังมีความรู้สึกว่า เรากำลังพูดกับเขาทุกคน

4 ? การใช้ภาษา

ความจริงแล้วผู้พูดก็เป็นคนไทย คนฟังก็เป็นคนไทย ภาษาที่พูดก็ใช้ภาษาไทย ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหา แต่เราต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ระดับการศึกษาของผู้พูดกับผู้ฟังมักจะต่างกันเสมอ หลายคนมีค่านิยมผิดๆ โดยการใช้ศัพท์สูงในขณะพูด ซึ่งอาจจะทำให้มองได้ว่าผู้พูดมีความรู้สูง แต่ความจริงแล้วมันไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟังเลย เพราะจะต้องมานั่งแปลภาษาไทยให้เป็นไทยอีกทอดหนึ่ง เลยทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อที่จะฟัง นักพูดบางคนใช้คำพูดทับศัพท์มากเกินไปจนคนฟังงง ก็เลยเข้าใจได้ว่า ไปฟังเขาพูดแล้วได้ความไม่เข้าใจกลับบ้าน
เรื่องการใช้คำทับศัพท์นี้ผมเองก็เคนถูกผู้ฟังทักท้วงหลายครั้ง ซึ่งส่วนมากจะเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่เริ่มสนใจศาสนา แต่ผู้อวุโสที่ฟังกันอยู่ไม่ทราบว่ามีปัญหาเรื่องนี้หรือเปล่า เพระไม่เคยได้รับการทักท้วง
การฟังนั้นไม่เหมือนกับการอ่านา เพราะการอ่านหนังสือสามารถที่จะย้อนหลังไปทบทวนได้หากไม่เข้าใจ ฉะนั้นเมื่อผู้พูดเลี่ยงการใช้ศัพท์สูงไม่ได้ก็ควรกล่าวซ้ำคำพูดเดิม ปัญหาที่ผู้พูดควรระวังในลำดับต่อไปคือการใช้คำพูดซ้ำซาก และการพูดวกวน ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเบื่อได้เช่นกัน

5 ? การเตรียมเรื่องพูด

การเตรียมเรื่องพูดมีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นนักพูดหน้าใหม่หรือหน้าเก่าก็ตาม ถ้าขาดการเตรียมการที่ดีแล้ว อาจพบกับความล้มเหลวในการพูดครั้งนั้นก็ได้ เราจึงได้ยินคำพูดนี้เสมอว่า ?น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง? บางคนมีความรู้ดี พูดได้ แต่พูดไม่เป็น บางคนพูดวกวน บางคนพูดเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก ฉะนั้นการจัดลำดับเรื่องคือกลยุทธสำหรับนักพูดทุกยุคทุกสมัย ซึ่งพอจะกล่าวได้ดังนี้

1 ? กล่าวบิสมิ้ลลาฮ์
2 ? กล่าวสรรญเสริญอัลลอฮ์ และศอลาวาตนบี
3 ? ให้สลาม
4 ? กล่าวคำปฏิสันฐานกับผู้ฟัง เช่นคำว่า พี่น้องผู้ร่วมศรัทธาที่รักทั้งหลาย รหืออาจใช้คำอื่นนี่นอกเหนือจากนี้ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราพูดกับใคร
5 ? กล่าวคำนำเรื่อง ซึ่งการกล่าวคำนำเรื่องถือเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขไปสู่ความสำเร็จของการพูดในครั้งนั้น ซึ่งมีสองลักษณะด้วยกันคือ คำนำที่ดึงดูดความสนใจ และคำนำแบบเรียกร้องเชิญชวน ตัวอย่างเช่น

หัวข้อเรื่อง ความตาย
คำนำ เราจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้อีกไม่นาน ในขณะที่ผมพูดนี้มีพี่น้องของเราได้ตายจากไป คือคนในโลกนี้จะเกิดจะตายกันอยู่ตลอดเวลา และในอีกไม่ช้าเราก็จะต้องตายตามเขาไปเหมือนกัน แล้วก็ทิ้งพี่น้อง, ลูกเมีย และคนที่เรารักไว้เบื้องหลัง

หัวข้อเรื่อง บทลงโทษสำหรับผู้กระทำผิด
คำนำ คนในยุคอดีตได้รับความหายนะมานักต่อนักแล้ว อันเนื่องมาจากทรยศดื้อดึงและผินหลังให้กับหลักการ

6 ? เนื้อเรื่อง อันประกอบไปด้วยการลำดับเรื่อง หลักฐาน และเหตุผล การที่เราจะพูดเรื่องใดก็ตาม เราต้องมีความเข้าใจในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี ซึ่งหลายคนก็มีความรู้ความเข้าใจ แต่มักจะมีปัญหาในเรื่องการตั้งเรื่อง ตั้งประเด็น จึงขอแนะนำวิธีดังต่อไปนี้

เรื่อง อัลอีหมาน (การศรัทธา)
อีหม่านคืออะไร
ให้คำจำกัดความ ความหมายในทางภาษาและในทางศาสนา
ข้อแตกต่างระหว่างการศรัทธาโดยทั่วไปกับการศรัทธาแบบอิสลาม
1. ที่มาของการศรัทธาทั้งสอง
2. วิธีการจำแนกการศรัทธาของมุสลิมและคนศาสนิกอื่น
การศรัทธาแบบอิสลาม (อะกีดะฮ์อิสลามมียะฮ์)
1. แนวทางการศรัทธาตามที่ปรากฏในอัลกุรอานและฮะดีษ
2. แนวทางการศรัทธาของคนในยุคต้น
องค์ประกอบของการศรัทธาคืออะไร
1.เชื่อด้วยหัวใจศรัทธาอย่างบริสุทธิ์
2. กล่าวด้วยวาจา
3. การปฏิบัติ
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทั้งสามประการ
1. ความเชื่อที่อยู่ภายในจิตใจไม่มีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้ จะตัดสินว่าอย่างไร
2. ความเชื่อที่ขาดการกล่าวด้วยวาจามีผลอย่างไร
3. การเชื่อโดยมีเพียงวาจาแต่ขาดการปฏิบัติมีผลอย่างไร
ชนิดของการศรัทธา
1. การศรัทธาที่เป็นหลัก (รุก่นอีหม่าน)
2.และข้อปลีกย้อยมีอะไรบ้าง
3. ลำดับความสำคัญของการศรัทธาแต่ละชนิด
ลักษณะของผู้ศรัทธา
1. ด้านคำพูด
2. ด้านการกระทำ
คนที่ไม่ศรัทธากับคนที่มีศรัทธาไม่ถูกต้องเป็นเช่นไร
1.อธิบายพฤติกรรมของคนที่ขาดการศรัทธา
2.อธิบายพฤติกรรมของคนที่ศรัทธราไม่ถูกต้อง
สิ่งที่ทำให้การศรัทธาเสียหาย
1. ด้านคำพูด และการกระทำ
2. หากคำพูดและการกระทำไม่ตรงกันจะมีผลเป็นเช่นไร
ผลของการศรัทธา
1. ผลที่เกิดขึ้นแก่ตัวเองในดุนยา
2. ผลที่เกิดขึ้นกับคนรอบข้าง และสังคม
3. ผลที่ผู้ศรัทธาจะได้รับในวันอาคิเราะฮ์

ที่กล่าวแล้วนี้เป็นเพียงตัวอย่างการตั้งเรื่องตั้งประเด็นโดยคราวๆ ท่านอาจจะมีประเด็นหลักและประเด็นแทรกได้อีกมากมาย นอกจากนี้ยังสามารถยกตัวอย่างและเหตุผลประกอบการพูด แต่ที่ขาดไม่ได้คือหลักฐาน เพราะไม่เช่นนั้นการพูดของท่านจะขาดน้ำหนัก
ถ้าเราสามารถตั้งเรื่องตั้งประเด็นได้ ก็จะมีคำอธิบายที่พรั่งพรูออกมา ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ ถ้าหัวข้อสั้น เรื่องและประเด็นที่จะพูดเยอะ แต่ถ้าหัวข้อยาว เรื่องและประเด็นที่พูดจะถูกจำกัดให้แคบลง เราลองฝึกตั้งเรื่องตั้งประเด็นด้วยตัวเองดู เช่น เราจะพูดเรื่องมนุษย์ เราก็ต้องตั้งประเด็นหลักและประเด็นรองให้ได้มากที่สุด แล้วอธิบายพร้อมทั้งนำหลักฐาน เหตุผล ตัวอย่างมาประกอบ ที่สำคัญคือเรียงเรื่องให้ดี อย่าให้สับสน เพราะถ้าข้อมูลเราสับสน เวลาพูดก็จะสับสนและวกวนเช่นกัน

7 ? บทสรุป บทสรุปมีความสำคัญพอๆ กับคำนำเรื่อง เพราะจะทำให้ผู้ฟังได้จำเรื่องราวที่เราพูดได้เป็นอย่างดี แต่บทสรุปนั้นไม่ควรเยินเย่อ ควรให้กระชับและได้ใจความมากที่สุด









สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2007-01-19 (6190 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]