ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



พฤหัสบดีวิปโยค




บุคคลเป้าหมายที่กลุ่มชีอะฮ์กล่าวโจมตีและใส่ร้ายมากที่สุด เห็นจะไม่มีใครเกินท่านอบูบักร์ อัศศิดดีก, ท่านอุมรั อิบนุ ค๊อต๊อบ, ท่านหญิงอาอิชะห์ ภรรยาและพ่อตาทั้งสองท่านของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ขอพระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงเมตตาต่อท่านทั้งสามและเหล่าศอฮาบะห์ของท่านนบีด้วยเถิด



ท่านอุมัร อิบนุ ค๊อตต๊อบ ซึ่งเป็นพ่อตาของท่านนบี และเป็นลูกเขยของท่านอาลี อิบนิอบีตอเล็บ คือบุคคลที่ลัทธิชีอะฮ์ถือว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจในการขัดขวางท่านอาลีไม่ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์ต่อจากนบี และเป็นบุคคลที่เป็ภัยคุกคามสร้างความอธรรมต่ออะห์ลุ้ลบัยต์ ถึงขนาดที่พวกเขาลงทุนแต่งนิยายใส่ร้ายป้ายสี เพื่อสร้างความรู้สึกเคียดแค้นชิงชังแก่บุคคลทั่วไป เช่นการกล่าวว่า ท่านอุมัรบุกถีบประตูบ้านกระแทกท้องท่านหญิงฟาติมะห์จนกระทั่งแท้งลูก, ท่านอุมัรข่มขู่ฉุดลูกสาวท่านอาลีไปเป็นเมีย แต่พวกเขาลืมไปว่า ขณะที่พวกเขาเขียนบทให้ท่านอุมัรเป็นอภิมหาโจร ในทางตรงกันข้ามพวกเขาก็ไม่สามรถลบภาพความขี้ขลาดตาขาวของท่านอาลีจากนิยายที่พวกเขาสร้างขึ้นมาได้ แล้วอย่างไรเล่า ที่จะทำให้นิยายของพวกเขาดูมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ..... ท่านอุมัรเถียงนบี... ท่านอุมัรว่านบีเพ้อเจ้อ....ใช่แล้ว นิยายเรื่องนี้ดูจะเป็นเหตุเหมาะสมที่จะทำให้ผู้คนคล้อยตาม และรู้สึกเกลียดชิงชังท่านอุมัร เพราะท่านนบีนั้นเป็นที่รักและเทิดทูนของมุสลิมทั้งโลกอยู่แล้ว และนี่เองเป็นที่มาของคดีพฤหัสบีดีวิปโยค ที่ชีอะฮ์ได้นำเอาฮะดีษของชาวซุนนะห์ที่รายงานเหตุการณ์วันพฤหัสขณะที่นบีป่วยมาบิดเบือน และตบแต่งให้ดูสมจริง แล้วอ้างกับผู้คนว่า นี่ไง...ขนาดตำราของชาวซุนนะห์เองยังบันทึกความเลวระยำของอุมัร ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาท่านอุมัรผู้บริสุทธิ์จากคำใส่ร้ายของชีอะฮ์ทั้งปวงด้วยเถิด



ขอ้มูลจำเพาะ



ก่อนที่เราจะได้ไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ แจ้งให้ท่านทราบก่อนว่า ผู้รายงานฮะดีษพฤหัสบดีวิปโยคในระดับศอฮาบะห์ชื่อ อับดุลลอฮ์ อิบนิอับบาส และฮะดีษนี้ถูกรายงานต่อกันมาหลายสายด้วยกันมีทั้งสายรายงานที่ศอเฮียะฮ์ (ถูกต้อง) และดออีฟ (อ่อน) ฉะนั้นเราจึงนำเฉพาะบทที่มีสายรายงานถูกต้องมาเสนอและอธิบายซึ่งกันและกันเท่านั้น




ตัวบทฮะดีษพฤหัสบดีวิปโยค

عَن ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ لَمَّا حُضِرَ رَسُوْلُ اللهِ صَلى الله ُعَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَفِي الْبَيْتِ رجَالٌ فِيْهِمْ عُمَرُ بْنُ الخَطَّابِ فَقَالَ النَبِيُ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ هَلُمَّ أَكْتُبْ لَكُمْ كِتَابًا لاَ تَضِلُّوْنَ بَعْدَهُ فَقَالَ عُمَرُ اِنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَدْ غَلَبَهُ الوَجْعُ وَعِنْدَكُمُ القُرْآنُ حَسْبُنَا كِتَابُ اللهِ فَاخْتَلَفَ أهْلُ البَيْتِ فَاخْتَصَمُوا فَمِنْهُمْ مَنْ يَقُوْلُ قَرِّبُوا يَكْتُبْ لَكُمْ رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ كِتَابًا لَنْ تَضِلُّوا بَعْدَهُ وَمِنْهُمْ مَنْ يَقُوْلُ مَاقَالَ عُمَرُ فَلَمَّا أكْثَرُوا اللَغْوَ وَالاخْتِلاَفَ عِنْدَ رَسُوْلِ اللهِ صَلىَ الله ُ عَليْهِ وَسَلّمَ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلىَ اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ قُوْمُوا

“อิบนุอับบาสได้รายงานว่า ตอนที่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์เจ็บหนัก ในบ้านมีอยู่ด้วยกันหลายคน ในนั้นมีท่านอุมัร อิบนุลค๊อตต๊อบอยู่ด้วย ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า จเอาที่บันทึกมาให้ฉัน,ฉันจะเขียนไว้ให้พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ไม่หลงหลังจากบันทึกไว้ ท่านอุมัรได้กล่าวว่า แท้จริงความเจ็บป่วยได้ครอบงำท่านรอซูล อัลกุรอานก็มีอยู่กับพวกท่านขณะนี้แล้ว อัลกุรอานเพียงพอแก่พวกเราแล้ว คนในบ้านได้ขัดแย้งกันและถกเถียงกันเอง บางส่วนก็กล่าวว่า เข้าไปหาท่านรอซูลเถอะ ท่านจะได้ให้บันทึกไว้เพื่อพวกท่านจะได้ไม่หลงหลังจากนี้ แต่อีกส่วนหนึ่งก็เห็นด้วยกับที่ท่านอุมัรพูด และเมื่อมีเสียงเอ็ดอึงมากขึ้นและมีการขัดแย้งกัน ณ.ที่ท่านรอซูล ท่านรอซูลจึงได้กล่าวว่า “พวกเจ้าจงออกไป”
บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษเลขที่ 3091

ฮะดีษเรื่องนี้มีอยู่ในหลายบันทึกด้วยกัน เช่น บุคคอรี,มุสลิม,ติรมีซีย์ และมุสนัดอิหม่ามอะห์หมัดเป็นต้น ซึ่งบันทึกฮะดีษเหล่านี้ชีอะฮ์ไม่ได้ให้การยอมรับ เพราะพวกเขามีฮะดีษในสายรายงานของพวกเขาเอง แต่การที่ชีอะฮ์นำเอาบันทึกของชาวซุนนะห์มาอ้างก็เพราะต้องการใส่ไคล้ท่านอุมัรและบรรดาศอฮาบะห์แก่ผู้ที่ไม่ทราบข้อมูล แล้วสำทับด้วยคำว่า หลักฐานจากตำราของชาวซุนนะห์เอง นี่ไง....หลักฐานที่บรรดาศอฮาบะห์ขัดคำสั่งของนบี โดยเฉพาะพุ่งเป้าไปที่ท่านอุมัรแล้วยัดเยียดข้อหาให้ท่านอุมัรว่า เถียงนบี กล่าวหาว่านบีเพ้อเจ้อ

เป็นเรื่องประหลาดไม่น้อยที่ ชีอะฮ์นำเอาฮะดีษของชาวซุนนะห์มานำเสนอแก่บรรดาผู้คน แต่ไม่ยอมเอาความเข้าใจของชาวซุนนะห์ไปอ้างอิงด้วย และชีอะฮ์ก็ไม่เคยแสดงหลักฐานว่าบรรดาผู้บันทึกฮะดีษที่พวกเขาอ้างอิงนั้นมีความเข้าใจในเรื่องที่พวกเขาบันทึกเช่นไร เช่นท่านอิหม่ามบุคคอรี,ท่านอิหม่ามมุสลิม,ท่านอิหม่ามอะห์หมัด อิบนิฮัมบัล และท่านอื่นๆ แต่ชีอะฮ์กลับเอาความเข้าใจของพวกเขาเป็นที่ตั้งแล้วบิดเบือนความหมายจากถ้อยความของฮะดีษ นี่เป็นวิธีการขโมยหลักฐานโดยอ้างจากตัวบทจริงแต่ความหมายเท็จ

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ บรรดาผู้รายงานฮะดีษเรื่องนี้ในระดับต่างๆ จากผู้บันทึกเรื่อยไปจนกระทั่งถึงระดับตาบีอีน และศอฮาบะห์ผู้รายงานที่ชื่อ อิบนุอับบาส ก็ไม่มีผู้ใดตำนิท่านอุมัร จากเหตุการณ์นี้เลย และไม่มีรายงานใดๆยืนยันว่าบรรดาศอฮาบะห์คนอื่นตำนิท่านอุมัรจากเหตุการณ์นี้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าก่อนหรือหลังจากท่านอุมัรเสียชีวิต ทั้งที่ช่วงเวลานั้นยังมีศอฮาบะห์ของท่านรอซูลมีชีวิตอยู่อีกเป็นจำนวนมาก แล้วชีอะฮ์ไปเอาความเข้าใจวิปลาศจากที่ไหนมาใส่ร้ายท่านอุมัรและบรรดาศอฮาบะห์ เราไปติดตามเรื่องนี้กันทีละประเด็น


ประการแรก

วันที่เกิดเหตุการณ์นี้เป็นวันพฤหัสบดี โดยบันทึกของท่านอิหม่ามบุคคอรี จากคำรายงานของท่านอิบนุอับบาสเช่นเดียวกันว่า

اِشْتَدَّ بِرَسُوْلِ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ وَجَعُهُ يَوْمَ الخَمِيْسِ فَقَالَ اِئْتُوْنِي بِكِتَابٍ أَكْتُبْ لَكُمْ

“อาการป่วยของท่านรอซูลได้ทวีความรุนแรงขึ้นในวันพฤหัสบดี ท่านได้กล่าวว่า พวกเจ้าจงนำหนังสือมาฉันจะบันทึกให้พวกเจ้า”
ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 2825

เหตุที่เราต้องย้ำวันเกิดเหตุก็เพราะหลังจากเกิดเหตุการณ์ในวันพฤหัสบดีนี้แล้ว ท่านรอซูลยังคงมีอาการดีขึ้นเป็นบางช่วง จนท่านสามารถออกมาร่วมละหมาดกับบรรดาศอฮาบะห์โดยมีท่านอบูบักร์เป็นอิหม่ามนำละหมาด ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตในตอนสายของวันจันทร์ รวมระยะเวลา 4 วันนับจากวันเกิดเหตุการณ์จนถึงวันที่ท่านนบีเสียชีวิต ซึ่งช่วงเวลาของเหตุการณ์นี้ขอให้ท่านเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อพิจารณาในประเด็นต่อไป


ประการที่ 2

คำรายงานของฮะดีษแจ้งว่า “ในบ้านมีอยู่ด้วยกันหลายคน ในนั้นมีท่านอุมัร อิบนุลค๊อตต๊อบอยู่ด้วย” สิ่งที่เราต้องติดตามก็คือ นอกจากท่านอุมัรแล้วยังมีผู้ใดอีกบ้าง ซึ่งประเด็นนี้ชีอะฮ์พยายามที่จะกันท่านอาลี,ท่านฮะซัน และท่านฮุเซนออกจากเหตุการณ์นี้ เพื่อพวกเขาจะได้กล่าวร้ายท่านอุมัรและเหล่าศอฮาบะห์ได้สะดวก แต่การอ้างของชีอะฮ์ช่างเลื่อนลอย ไม่มีทั้งหลักฐานและเหตุผลสนับสนุน

เป็นไปได้หรือ ในยามที่ท่านนบีเจ็บหนักจะไม่มีบุคคลในครอบครัวของท่านนบีอยู่ดูแลเลยสักคนเดียว โดยเฉพาะท่านอาลี อิบนิอบีตอลิบ ที่ท่านนบีเลี้ยงดูมาตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่ และยอมยกลูกสาวของท่านให้เป็นภรรยา, ท่านอาลีจะทิ้งท่านนบีในสถานการณ์เช่นนี้หรือ ข้ออ้างของชีอะฮ์นี้เท่ากับให้ข้อหาแก่ท่านอาลีว่า เป็นผู้เนรคุณต่อท่านนบี ซึ่งท่านอาลีในความเข้าใจของชาวซุนนะห์ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะมีหลักฐานยืนยันว่าท่านอาลีได้อยู่เฝ้าท่านนบีและก็อยู่ในเหตุการณ์นี้ด้วย
ท่านหญิงอาอิชะห์ ได้รายงานว่า

لَمَّا ثَقُلَ النَبِيُ صَلىَ اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ وَاشْتَدَّ وَجَعُهُ اسْتَأْذَنَ أزْوَاجَهُ أنْ يُمَرَّضَ فِي بَيْتِي فَأَذِنَّ لَهُ فَخَرَجَ بَيْنَ رَجُلَيْنِ تَخُطُّ رِجْلاهُ الأرْضَ وَكَانَ بَيْنَ العَبَّاسِ وَرَجُلٍ آخَرَ قَالَ عُبَيْدُ اللهِ فَذَكَرَتْ ذَلِكَ لابْنِ عَبَّاسٍ مَا قَالَتْ عَائِشَةُ فَقَالَ لِي وَهَلْ تَدْرِي مَنِ الرَجُلُ الَّذِي لَمْ تُسَمِّ عَائِشَةُ قُلْتُ لاَ قَالَ هُوَ عَلِيُّ بْنُ أبِي طَالِبٍ

“ขณะที่ท่านนบีสุขภาพทรุดโทรม และความเจ็บป่วยได้ทวีความรุนแรงขึ้น ท่านได้ขออนุญาตบรรดาภรรยาของท่านที่จะมาพักฟื้นที่บ้านฉัน เมื่อท่านได้รับอนุญาตก็ได้ออกมาโดยมีชายสองคนประคองท่านขณะที่ขาทั้งสองลากมากับพื้น ในสองคนนั้นคือ
(อัลฟัฏล์ ) บุตรของอับบาส และอีกคนหนึ่ง อุบัยดุลลอฮ์ (ผู้รายงาน) ได้กล่าวว่า เรื่องนี้ถูกเล่าให้ท่านอิบนุบาสตามที่ท่านหญิงอาอิชะห์พูด ท่านอิบนุอับบาสกล่าวแก่ฉันว่า ท่านรู้ไหมว่าอีกคนหนึ่งที่ท่านหญิงอาอิชะห์ไม่ได้กล่าวชื่อนั้นคือใคร ฉันตอบว่า ไม่ทราบครับ ท่านกล่าวว่า เขาคืออาลี อิบนิอบีตอลิบ” ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 625

ตามรายงานข้างต้นนี้ท่านอาลีได้พยุงท่านนบีเข้าไปที่บ้านของท่านหญิงอาอิชะห์ และไม่มีรายงานว่าท่านอาลีได้กลับออกมา จนกระทั่งเช้าวันจันทร์ ท่านอาลีและอิบนุอับบาสได้ออกมาส่งข่าวแก่บรรดาศอฮาบะห์ว่าในเช้านี้ท่านนบีสุขภาพดีขึ้นมาก แต่ท่านนบีก็ได้เสียชีวิตในสอนสายของวันนี้นี่เอง ด้วยเหตุนี้เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ท่านอาลีไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์วันพฤหัสบดีวิปโยค แล้วท่านอาลีอยู่ในกลุ่มไหนของบรรดาผู้ที่ถกเถียงกัน ชีอะฮ์จะตอบด้วยหลักฐาน หรือด้วยการสันนิฐาน


ประการที่ 3

คำพูดของท่านนบีที่ว่า “เอาที่บันทึกมาให้ฉัน” ในรายงานบทอื่นทั้งจากบุคคอรีและมุสลิมใช้คำว่า اِئْتُوْنِي แปลว่า “พวกเจ้าจงไปนำมา” ซึ่งคำสั่งของท่านรอซูลนี้มิได้กล่าวเจาะจงว่าสั่งใช้ผู้ใด แต่เป็นการสั่งโดยรวมแก่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ทุกคนรวมถึงท่านอาลี อิบนิอบีตอลิบด้วย แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดนำกระดาษหรือสิ่งที่จะทำการบันทึกมาให้ท่านนบีเลยสักคนเดียว แม้กระทั่งท่านอาลี อิบนิอบีตอลิบด้วย

หากชีอะห์จะมองประเด็นนี้ว่านี่คือการฝ่าฝืนคำสั่งท่านนบี ถ้าเช่นนั้นก็จะไม่มีผู้ใดรอดพ้นความผิดเลยแม้กระทั่ง อะฮ์ลุ้ลบัยต์ และหากท่านอาลีจะแสดงความจงรักภักดีต่อท่านนบี ก็สามารถนำที่บันทึกมาให้ท่านนบีในขณะนั้นหรือในเวลาอื่นก็ได้ เพราะหลังจากนั้นอีกตั้ง 4 วัน กว่าท่านนบีจะเสียชีวิต แต่ก็ไม่มีรายงานว่า ท่านอาลีได้นำสิ่งใดๆมาให้ท่านนบีเพื่อทำการบันทึก ซึ่งชาวซุนนะห์ไม่ได้ตำหนิศอฮาบะห์คนใดในเหตุการณ์ครั้งนี้

ที่สำคัญก็คือ ท่านนบีกล่าวว่า “ฉันจะเขียนไว้ให้พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ไม่หลงหลังจากที่บันทึกไว้แล้ว” ถ้าเช่นนั้นก็เท่ากับประชาชาติอิสลามยังอยู่ในความหลง รวมถึงบรรดาอะฮ์ลุ้ลบัยต์ด้วย เพราะท่านนบีก็ไม่ได้บันทึกข้อความใดๆไว้หลังจากที่ท่านได้พูดประโยคนี้

และหากชีอะฮ์จะอ้างว่าเรื่องที่ท่านนบีจะบันทึกเป็นข้อบัญญัติของศาสนาที่ท่านไม่เคยบอกหรือไม่เคยสอนมาก่อนหน้านี้ ก็เท่าเป็นการกล่าวหาท่านนบีว่ายังทำหน้าที่ประกาศอิสลามไม่ครบถ้วน หรือชีอะฮ์จะให้ชาวโลกเข้าใจว่าท่านนบีจากดุนยานี้ไปในขณะที่ยังประกาศอิสลามไม่สมบูรณ์ แต่พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงประทานอัลกุรอานอายะห์ต่อไปนี้มายืนยันถึงความสมบูรณ์ของอิสลาม ก่อนเกิดเหตุการณ์พฤหัสบดีเป็นเวลา 79 วันโดยประมาณว่า

اليَوْمَ أكْمَلْتُ لَكُمْ دِيْنَكُمْ وَأتْمَمْتُ عَليْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيْتُ لَكُمْ الاِسْلاَمَ دِيْنًا

“วันนี้ข้าได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าครบสมบูรณ์ และความเมตตาของข้าที่มีต่อพวกเจ้าเต็มเปี่ยม และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า”
ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 3

เมื่อพระองค์อัลลอฮ์ได้ยืนยันว่าอิสลามสมบูรณ์ เราก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าท่านนบีประอิสลามไม่ครบถ้วน ดังนั้นการที่ท่านนบีจะบันทึกจึงไม่ใช่เป็นข้อบัญญัติใหม่ที่ท่านได้ละไว้ หากแต่เป็นเพียงการกำชับในเรื่องที่ท่านได้สอนไว้ก่อนแล้วเท่านั้น


ประการที่ 4

คำพูดของท่านอุมัรที่ว่า “แท้จริงความเจ็บป่วยได้ครอบงำท่านรอซูล” คำพูดนี้ดูเหมือนจะเป็นคำที่ชีอะฮ์ใช้จุดประกายความเกลียดชังแก่ท่านอุมัร แล้วพร่ำโพทนาใส่ร้ายท่านอุมัรว่าขัดคำสั่งท่านนบี ทั้งที่คำพูดประโยคนี้เป็นคำพูดธรรมดาเหลือเกินสำหรับผู้ที่ห่วงใยผู้ป่วย คำว่า “แท้จริงความเจ็บป่วยได้ครอบงำท่านรอซูล” เป็นคำที่ถอดความตรงตัวจากภาษาอาหรับ ถ้าจะแปลประโยคนี้เป็นสำนวนไทยก็คือ “ท่านรอซูลกำลังเจ็บหนัก” แสดงถึงความรักและความสงสารที่ไม่อยากให้ผู้ป่วยลำบาก ซึ่งเราต้องยอมรับว่าขณะนั้นท่านนบีเจ็บหนักจริงๆ ดังรายงานจากท่านอิบนุอับบาสว่า

اِشْتَدَّ بِرَسُوْلِ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ وَجَعُهُ

“อาการป่วยของท่านรอซูลได้ทวีความรุนแรงขึ้น”
ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 2825

ข้างต้นนี้คือคำพูดของท่านอิบนุอับบาสผู้รายงานเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับคำพูดของท่านอุมัร ดังนั้นคำของท่านอุมัรจึงเป็นคำที่พูดตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นการใส่ความท่านนบีว่า ท่านไม่ได้เจ็บหนัก แล้วท่านอุมัรไปใส่ร้ายท่านนบีอย่างที่ชีอะฮ์กล่าวอ้าง

อีกทั้งท่านอุมัรก็ไม่ได้เป็นบุคคลวิเศษที่มีหูทิพย์,ตาทิพย์, หรือญาณทิพย์ ที่จะหยั่งรู้ได้ว่าท่านนบีจะเสียชีวิตเมื่อไหร่ เพราะถ้าท่านนบีหายป่วยหรือมีอาการทุเลาลง ก็สามารถที่จะทำการบันทึกได้ดังที่ท่านต้องการ และก็จริงอย่างนั้นเสียด้วย เพราะหลังจากเหตุการณ์วันพฤหัสบดีนี้ ท่านนบีก็มีอาการดีขึ้นตามลำดับ *จนกระทั่งเช้าวันจันทร์ ท่านได้ออกมาร่วมละหมาดกับบรรดาศอฮาบะห์โดยท่านอบูบักร์เป็นอิหม่าม และท่านนบีก็นั่งละหมาดด้านข้างขวาของอบูบักร์ ส่วนศอฮาบะห์คนอื่นๆ ก็ยืนอยู่ในแถวเช่นเดิม เสร็จแล้วท่านนบีได้คุตบะห์ด้วยเสียงที่ดัง ได้ยินถึงหน้ามัสยิด ซึ่งศอฮาบะห์ต่างพากันดีใจที่อาการของท่านนบีดีขึ้นมาก เมื่อจบแล้วท่านอบูบักร์ก็กลับไปเยี่ยมบ้านหลังจากที่อยู่เฝ้าท่านนบีมาหลายวัน * (ข้อความในท่อนที่ใส่เครื่องหมาย * ท่านสามารถตรวจสอบได้จาก อิบนุฮิชาม ญุชที่ 4 หน้าที่ 653)

แต่เมื่อท่านนบีมีอาการดีขึ้นท่านก็ไม่ได้ทำการบันทึกเรื่องใดๆไว้ทั้งที่ท่านสามารถทำได้ หากชีอะฮ์จะใส่ร้ายท่านอุมัรว่าขัดคำสั่งนบี แล้วท่านอาลีกับบรรดาศอฮาบะห์คนอื่นๆก็ขัดคำสั่งด้วยอย่างนั้นหรือ เพราะในยามที่ท่านนบีอาการดีขึ้นก็ไม่มีอะฮ์ลุ้ลบัยต์คนใดหรือศอฮาบะห์ท่านใดนำเอาอะไรมาให้ท่านนบีจดบันทึก


ประการที่ 5

คำของท่านอุมัรที่ว่า “อัลกุรอานก็มีอยู่กับพวกท่านขณะนี้แล้ว อัลกุรอานเพียงพอแก่พวกเราแล้ว” ซึ่งในคำรายงานใช้คำว่า عِنْدَكُمْ แปลว่า พวกท่านมี หรือ มีอยู่ที่พวกท่าน และบางรายงานใช้คำว่า عِنْدَنَا พวกเรามี หรือ มีอยู่ที่พวกเรา ซึ่งคำพูดนี้เป็นคำปัจจุบัน หมายถึงมีอยู่ ณ.ที่นั้น,เวลานั้น เช่นคำพูดที่ว่า عِنْدِيْ مَالٌ แปลว่า ฉันมีทรัพย์ หมายถึงมีทรัพย์ในตอนนี้ ส่วนวันข้างหน้าอาจจะเป็นคนไม่มีทรัพย์ก็ได้ เพราะฉะนั้นคำพูดของท่านอุมัรที่ว่า “อัลกุรอานก็มีอยู่กับพวกท่านขณะนี้แล้ว อัลกุรอานเพียงพอแก่พวกเราแล้ว” หมายถึงในตอนนี้ขณะที่ท่านนบีป่วย เพียงพอแล้วขณะที่ท่านนบีกำลังเจ็บหนัก นี่เป็นคำพูดที่แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วยแท้ๆ แต่ชีอะฮ์ก็บิดเบือนให้มีความหมายในการใส่ใคล้ท่านอุมัรว่าขัดขวาง,ขัดคำสั่งท่านนบี

และหากชีอะฮ์จะยืนกรานว่าคำพูดของท่านอุมัรประโยคข้างต้นนี้แหละคือการเถียงนบีหรือขัดคำสั่งท่านนบี ฉะนั้นลองอ่านฮะดีษต่อไปนี้แล้วให้ชีอะฮ์ช่วยตัดสินด้วยว่า ผู้ที่เถียงนบีในเหตุการณ์ต่อไปนี้เป็นเช่นไร

أخْبَرَنِي عَلِيُّ بْنُ حُسَيْن أنَّ حُسَيْنَ بْنَ عَلِيٍّ أَخْبَرَهُ أنَّ عَلِيَّ بْنَ أبِي طَالِبٍ أخْبَرَهُ أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ طَرَقَهُ وَفَاطِمَةَ بِنْتَ النَبِيِ عَليْهِ السَلاَم لَيْلَةً فَقَالَ ألاَ تُصَلِّيَانِ فَقُلْتُ يَارَسُوْلَ اللهِ أَنْفُسُنَا بِيَدِ اللهِ فَاِذَا شَاءَ أنْ يَبْعَثَنَا بَعَثَنَا فَانْصَرَفَ حِيْنَ قُلْنَا ذَلِكَ وَلَمْ يَرْجِعْ اِلَيَّ شَيْئًا ثُمَّ سَمِعْتُهُ وَهُوَ مُوَلِّ يَضْرِبُ فَخِذَهُ وَهُوَ يَقُوْلُ وَكاَنَ الاِنْسَانُ أكْثَرَ شَئٍّ جَدَلاً

“ท่านอาลี บุตรของฮุเซน ได้บอกแก่เราว่า ท่านฮุเซน บุตรของอาลี ได้เล่าให้เขาฟังว่า ท่านอาลี อิบนิอบีตอลิบได้บอกแก่เขาว่า แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้ไปเยี่ยมเขากับฟาติมะห์ บุตรของท่านนบีในคืนหนึ่ง โดยท่านกล่าวว่า เจ้าทั้งสองจะไม่ละหมาด
(ตะฮัจญุจ) หรือ ฉันตอบท่านว่า โอ้ท่านรอซูลของอัลลอฮ์ ตัวของเราอยู่ในอุ้งพระหัตของอัลลอฮ์ ถ้าพระองค์ประสงค์ให้เราละหมาดเราก็จะละหมาด แล้วท่านได้กลับไปขณะที่เราได้พูดเช่นนั้นโดยท่านไม่ได้ว่าอะไรฉัน แต่ฉันได้ยินท่านตีที่หน้าขาของท่านขณะหันหลังกลับไปพร้อมทั้งกล่าวว่า มนุษย์นั้นชอบเถียงเรื่องต่างๆ มากมาย” ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 1059 (ข้อความในท่อนท้ายที่ขีดเส้นใต้นั้นเป็นส่วนหนึ่งจากซูเราะห์อัลกะฮฟิ อายะห์ที่ 54)

ฮะดีษข้างต้นนี้ผู้รายงานแต่ละระดับก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ล้วนแต่เป็นบุคคลที่ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสองเทิดไว้เป็นอิหม่าม โดยเฉพาะท่านอาลี อิบนิอบีตอลิบ เป็นผู้รายงานเหตุการณ์ที่ท่านเถียงนบีด้วยตัวเอง จนกระทั่งท่านนบีได้นำเอาอัลกุรอานมาสำทับในตอนท้าย อย่างนี้ชีอะฮ์จะตัดสินเช่นไร แต่สำหรับชาวซุนนะห์แล้วให้เกียรติท่านอาลีโดยไม่ประณามก่นด่าท่านอาลีต่อเหตุการณ์นี้ ไม่เหมือนอย่างชีอะฮ์ที่ใส่ร้ายและก่นด่าท่านอุมัรอย่างสาดเสียเทเสีย ทั้งที่ท่านไม่ได้เถียงท่านนบีแม้แต่น้อย


ประการที่ 6

อีกความเลยเถิดหนึ่งของชีอะฮ์ที่พยายามใส่ร้ายท่านอุมัรโดยยัดเยียดคำพูดให้ท่านอุมัรว่า กล่าวหาท่านนบีว่า “เพ้อเจ้อ” ขอทำความเข้าใจสักนิดว่า คำว่า “เพ้อ” หมายถึงพูดไม่ได้ศัพท์หรือพูดจับใจความไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับผู้ป่วยที่มีไข้สูงจนเกิดอาการเพ้อไข้ หรือคำชาวบ้านที่พูดถึงคนที่ตกอยู่ในภวังค์รักว่าเพ้อรัก อย่างนี้เป็นต้น ส่วนคำว่าเพ้อเจ้อนั้นหมายถึง คนที่พูดจาเหลวไหล พูดเลอะเทอะ ถือเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้แม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บไข้ก็ตาม เช่นนายดำเป็นคนพูดเพ้อเจ้อ คือพูดเรื่อยเปื่อยไม่มีแก่นสารนั่นเอง
ในคำรายงานของฮะดีษเรื่องนี้ในบทอื่น มีคำว่า هَجَرَ แปลว่าเขาเพ้อไข้ หรือบางรายงานใช้คำว่า أهَجَر แปลว่า เขาเพ้อด้วยพิษไข้หรือ เช่น

فَقَالُوا هَجَرَ رَسُوْلُ اللهِ صَلىَ اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ

“พวกเขากล่าวว่า ท่านรอซูลุล้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เพ้อไข้”
ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 2825

فَقَالُوا مَالَهُ أهَجَرَ

“พวกเขากล่าวว่า ท่านรอซูลเป็นอย่างไร ท่านเพ้อไข้หรือ”
ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 2932

แต่ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดที่นักวิชาการชีอะฮ์บางคนจึงจงใจให้ความหมายศัพท์คำ هجر และ أهجر ด้วยคำว่า “เพ้อเจ้อ” ซึ่งคนละความหมายกับที่ระบุอยู่ในฮะดีษ และยิ่งไปกว่านั้นคือ พวกเขาใส่ร้ายท่านอุมัรว่า เป็นผู้กล่าวว่าท่านนบีเพ้อเจ้อ ทั้งๆ คำเพ้อเจ้อไม่ปรากฏในสายรายงานใดเลยไม่ว่าจะเป็นท่านอุมัรพูดหรือศอฮาบะห์คนอื่นพูดก็ตาม

ส่วนคำว่าเพ้อจากพิษไข้นั้น ก็ไม่ใช่คำพูดของท่านอุมัรอีกเช่นกัน เพระในตัวบทฮะดีษระบุว่า “พวกเขากล่าวว่า” ซึ่งเป็นคำพหูพจน์ แล้วอย่างไรเล่าที่ชีอะฮ์จะมั่วนิ่มแล้วกล่าวว่าเป็นคำพูดของท่านอุมัร และแม้ว่า คำว่าเพ้อจากพิษไข้นี้จะเป็นคำพูดของผู้อื่นก็ตาม ก็ไม่ใช่คำพูดที่เกินจากความเป็นจริงเพราะท่านอิหม่ามนาวาวีย์ได้อธิบายว่า “ พึงรู้เถิดว่า ท่านนบีนั้นเป็นมะอ์ซูม (ได้รับการปกป้อง) ให้พ้นจากความเท็จ จากเปลี่ยนแปลงข้อบัญญัติ ไม่ว่าในสภาพที่ท่านปกติหรือในยามป่วยไข้ ท่านก็ได้รับการปกป้องไม่ให้ละทิ้งการชี้แจงและการเผยแผ่ตามที่อัลลอฮ์ได้บัญญัติให้แก่ท่าน แต่ท่านนบีก็ไม่ได้รับการปกป้องให้พ้นจากการเจ็บไข้” (อิหม่ามนะวาวีย์ ในการอธิบายศอเฮียะห์มุสลิม กิตาบุ้ลวะศียะห์ ฮะดีษเลขที่ 20)

เป็นข้อยืนยันว่าท่านนบีก็ยังเจ็บไข้ได้ป่วยดังปุถุชน และฮะดีษที่เรานำมาวิเคราะห์กันนี้ก็เป็นเหตุการณ์ที่ระบุว่าท่านนบีเจ็บหนักมิใช่หรือ ฉะนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่ศอฮาบะห์จะตั้งข้อสงสัยว่าท่านนบีเพ้อไข้ เหมือนอย่างที่คนทั่วไปได้เพ้อจากอาการไข้หนัก และเราได้ทราบมาจากข้างต้นแล้วว่าบรรดาผู้ที่เยี่ยมไข้และเฝ้าไข้ท่านรอซูลนั้นมีอยู่หลายคนด้วยกัน ดังนั้นคนที่อยู่ห่างออกไปที่ไม่ได้ยินคำพูดของท่านรอซูลต่างก็กล่าวและถามกันเองว่า รอซูลเพ้อไข้หรือเปล่า โดยไม่มีศอฮาบะห์ท่านใดพูดใส่หน้าท่านรอซูลเลยว่าท่านเพ้อไปเสียแล้ว แต่พวกเขาได้สอบถามกันเองต่างหาก


ประการที่ 7

ชีอะฮ์มักจำนำเอาฮะดีษเรื่องนี้ไปอ้างว่า ศอฮาบะห์เถียงนบี และเป็นเหตุทำให้จำแนกเป็นสองกลุ่มคือเถียงกับกลุ่มไม่เถียง แต่เราขอพิสูจน์ข้ออ้างของพวกเขาในประการแรกก่อนคือคำว่า ศอฮาบะห์เถียงนบี ซึ่งเราไม่ทราบว่าพวกเขาไปนำเอาข้อความนี้มาจากที่ไหน เพราะสำรวจฮะดีษทุกบทในเรื่องนี้ก็ไม่พบข้อความตามที่พวกเขาอ้าง แต่เรากลับพบถ้อยคำในฮะดีษบทที่เรานำมาศึกษากันดังนี้คือ فَاخْتَصَمُوا แปลว่า พวกเขาโต้เถียงกันเอง โดยเฉพาะในรายละเอียดที่ระบุในประโยคถัดมาได้ขยายความคำนี้ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นคือข้อความที่ว่า “บางส่วนก็กล่าวว่า เข้าไปหาท่านรอซูลเถอะ ท่านจะได้ให้บันทึกไว้เพื่อพวกท่านจะได้ไม่หลงหลังจากนี้ แต่อีกส่วนหนึ่งก็เห็นด้วยกับที่ท่านอุมัรพูด” นี่คือคำอธิบายว่าพวกเขาเถียงกันเองไม่ใช่เถียงท่านนบีดังที่ชีอะฮ์ใส่ไคล้ นอกจากนั้นฮะดีษที่รายงานเรื่องนี้ในบทอื่นๆ ยิ่งรายงานด้วยถ้อยความที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่า

فَتَنَا زَعُوا وَلاَ بَنْبَغِي عِنْدَ نَبِيٍ تَنَازُعٌ

“พวกเขาต่างก็แย้งกันเอง และไม่สมควรที่จะขัดแย้งกันต่อหน้าท่านนบี”
ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 2932

คำว่า تنازع แปลว่าต่างคนต่างแย้ง เช่นเดียวกับคำว่า تفاعل แปลว่าต่างคนต่างทำ และเมื่อถ้อยคำในฮะดีษยืนยันเช่นนี้ จึงไม่มีศอฮาบะห์คนใดหรือกลุ่มใดเถียงนบี ฉะนั้นการที่ลัทธิชีอะฮ์แบ่งศอฮาบะห์เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเถียงนบีกับกลุ่มไม่เถียงนบี จึงเป็นการจำแนกผิดและเป็นการจงใจที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจสถานภาพของศอฮาบะห์อย่างผิดๆอีกด้วย


ประการที่ 8

คำของท่านนบีในตอนท้ายที่ว่า قُوْمُوا “พวกเจ้าจงออกไป” ส่วนสายรายงานในบันทึกของท่านอิหม่ามบุคคอรี ได้รายงานว่า

قُوْمُوا عَنِّي وَلاَ يَنْبَغِي عِنْدِي التَنَازُعُ

“พวกเจ้าทั้งหลายจงออกไปจากฉัน และไม่สมควรที่จะโต้แย้งกันเองต่อหน้าฉัน”
ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 111

คำของท่านรอซูลนี้เป็นคำพูดโดยรวมไม่ได้เจาะจงผู้ใดเป็นการเฉพาะ เช่นเดียวกับคำใช้ของท่านนบีในตอนต้นฮะดีษว่า اِئْتُوْنِي แปลว่า พวกเจ้าจงไปนำมาให้ฉัน และคำในตอนท้ายที่ว่า قُومُوا عَنِّي พวกเจ้าจงออกไปจากฉัน ซึ่งไม่ได้เจาะจงเป็นการเฉพาะ และไม่มีข้อความในฮะดีษบทใดที่ขีดกรอบไว้ว่า ให้คนนั้นออกไปเหลือคนนี้ไว้ เพราะฉะนั้นทั้งท่านอาลี ผู้เป็นหนึ่งในอะฮ์ลุ้ลบัยต์และผู้ที่ไม่ใช่อะฮ์ลุ้ลบัยต์ก็ถูกใช้ให้ออกไปด้วยกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนที่เห็นด้วยกับท่านอุมัรหรือคนที่ไม่เห็นด้วยกับท่านอุมัรก็ตาม


หลังจากที่เราอ่านฮะดีษเรื่องนี้โดยพิจารณาอย่างรอบคอบ เราก็ไม่พบว่าท่านนบีได้ตำหนิใครเป็นการเฉพาะ และมุสลิมทั้งโลกก็ไม่มีกลุ่มใดที่นำเอาเหตุการณ์วันพฤหัสบดีมาบิดเบือนความหมายแล้วก่นด่าท่านอุมรัและบรรดาศอฮาบะห์ นอกจากลัทธิชีอะฮ์นอกรีตอิหม่ามสิบสอง ทั้งๆที่พวกเขาอ้างว่าจะตามท่านอาลี แต่เราก็ไม่พบว่าท่านอาลีได้ตำหนิท่านอุมัร เหมือนอย่างที่ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสองได้ขุดท่านขึ้นมาด่า ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาต่อท่านอุมัรและบรรดาศอฮาบะห์ของท่านรอซูลด้วยเถิด

นอกจากท่านอาลีไม่ได้ก่นด่าท่านอุมัรแล้ว ท่านยังคงเป็นที่ปรึกษาให้ท่านอุมัรในขณะที่ท่านอุมัรเป็นคอลีฟะห์เสียอีก ยิ่งไปกว่านั้นท่านอาลียังยกลูกสาวให้ท่านอุมัรอีกด้วย

ชีอะฮ์อย่าได้กล่าวว่าท่านอาลีถูกข่มขู่ เพราะจะเท่ากับเป็นการเขียนภาพให้ท่านอาลีที่ชีอะฮ์ยกย่องเทิดทูนกลายเป็นลูกแมวเชื่องๆตัวหนึ่ง แต่ไม่ใช่ท่านอาลี อิบนิอบีตอลิบที่ชาวซุนนะห์รู้จัก เพราะฉายาของท่านคือสิงโต ไม่ใช่ลูกแมว ขออัลลออ์เมตตาท่านอาลีและขอให้ท่านพ้นจากความโสโครกของเหล่าชีอะฮ์ที่แอบอ้างท่านด้วยเถิด









สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2007-01-31 (8375 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]