นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการบิดเบือนอัลอิสลามที่กลุ่มชีอะฮ์อิหม่ามสิบสองได้นำเอาอายะห์อัลกุรอานจากซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 67 ไปอ้างว่าเป็นคำสั่งของพระองค์อัลลอฮ์ที่ใช้ให้ท่านนบีประกาศแต่งตั้งท่านอาลี ณ.ที่ฆ่อดีรคุม ให้เป็นผู้สืบการปกครองจากท่านโดยพลัน เราไปติดตามดูข้อเท็จจริงกันดังนี้
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า
يَأيُّهَا الرَّسُوْلُ بَلِّغْ مَا أُنْزِلَ اِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ وَاِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَاسِ اِنَّ اللهَ لاَ يَهْدِي القَوْمَ الكافِرِيْنَ
“โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้าจากองค์อภิบาลของเจ้า และหากเจ้าไม่ทำ เจ้าก็ไม่ได้เผยแพร่สาสน์ของพระองค์ และแท้จริงพระองค์จะปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นจะไม่นำทางกลุ่มชนที่ปฏิเสธการศรัทธา” ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 67
ก่อนอื่นเราไปดูผู้รู้ของชีอะฮ์ชื่อฮุเซน บินยูซุบ อัลมุเฏาะฮัร อัลฮุลลีย์ ที่ได้กล่าวว่า
نقل الجمهور 1 أنها نزلت في بيان فضل علي عليه السلام يوم الغدير
“บรรดาญุมฮูรได้รายงานมาว่า (1) อายะห์นี้ถูกประทานลงมาแจ้งถึงความประเสริฐของท่านอาลี อิบนิอบีตอลิบ อลัยฮิสสลาม ในวันฆ่อดีรคุม” นะฮ์ญุ้ลฮัก หน้าที่ 173
ในข้อความของเขาได้ใส่เครื่องหมายเลข 1 เพื่อให้อ่านต่อในฟุตโน๊ตด้านล่าง และเมื่อเราตามไปดูก็พบข้อความว่า “เรื่องนี้รายงานมาในลักษณะมุตะวาเต็ร (มหาชนรายงาน) ทั้งบรรดานักวิชาการตัฟซีร,ฮะดีษ,ประวัติศาสตร์ และเป็นการรายงานแบบมุตะวาเต็ร (มหาชนรายงาน) เช่นเดียวกันว่า อายะห์นี้ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุม”
ข้างต้นนี้คือข้อความที่เหลวไหลของผู้รู้ชีอะฮ์ที่ถนัดเรื่องโกหกพกลม หากผู้ไม่รู้ที่มาที่ไปก็จะหลงเป็นเหยื่อลัทธิของพวกโดยง่าย เพราะอ่านโดยผิวเผินแล้วก็อาจคล้อยตามไปกับความมดเท็จที่เขานำมาอ้าง แต่การที่เรากล่าวว่าเป็นข้อความเหลวไหลและมดเท็จนั้นก็เพราะว่า
ประการที่หนึ่ง
คำพูดที่ว่า “บรรดาญุมฮูร ทั้งนักตัฟซีร,ฮะดีษ,และนักประวัติศาสตร์ รานงานว่าอายะห์นี้ถูกประทานมาเกี่ยวกับท่านอาลี” คำว่า ญุมฮูร หมายถึงบรรดาปวงปราชญ์โดยส่วนใหญ่ในแวดวงของนักวิชาการ ซึ่งหากเป็นการอ้างว่าบรรดาปวงปราชญ์ของชาวซุนนะห์เข้าใจเช่นนั้นก็เป็นการใส่ไคล้อย่างหาที่เปรียบมิได้ เพราะไม่ได้เป็นไปตามที่พวกเขาได้กล่าวอ้างเลยเช่น
ท่านอิบนุญะรีร อัตตอบารีย์ ได้กล่าวว่า “นี่คือคำสั่งที่พระองค์อัลลอฮ์ได้กล่าวแก่นบีของพระองค์ มูฮัมหมัดศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ให้เผยแพร่แก่บรรดาชาวยะฮูดและนะศอรอจากชาวคัมภีร์ทั้งสอง ซี่งพระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงเล่าเรื่องราวของพวกเขาไว้ในอายะห์นี้.........” ตัฟซีรอัตตอบารี เล่มที่ 6 หน้าที่ 307
ส่วนในตัฟซีรอิบนิกะษีร ได้กล่าวว่า “พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงใช้ให้ท่านนบีเผยแพร่เรื่องราวทั้งหมดที่ถูกประทานลงมายังท่าน” ตัฟซีรอิบนิกะษีร เล่มที่ 3 หน้าที่ 141
และในตัฟซีรอัลกุรตุบีย์ ได้กล่าวว่า “หมายถึงให้เผยแพร่โดยเปิดเผย เพราะในช่วงแรกของอิสลามนั้น ต้องหลซ่อนเนื่องจากกลัวการคุกคามของบรรดามุชรีกีน ต่อมาได้ใช้ให้เปิดเผยตามที่ระบุในอายะห์นี้ และอัลลอฮ์ได้บอกแก่ท่านนบีว่า พระองค์อัลลอฮ์ปกป้องท่านจากอันตรายของมุนุษย์” ตัฟซีรอัลกุรตุบีย์ เล่มที่ 6 หน้าที่ 342
เมื่อเราได้อ่านการอธิบายอย่างต่อเนื่องก็ไม่ปรากฏเลยว่า นักตัฟซีรเอกเหล่านี้ได้ระบุว่า อายะห์นี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอาลี แล้วอย่างไรเล่าที่อุลามาอ์ของชีอะฮ์ถึงได้กล่าวว่า บรรดาญุมฮุรหรือปวงปราชญ์โดยส่วนใหญ่เข้าใจเช่นนั้น แต่หากคำนี้จะหมายถึงบรรดาปวงปราชญ์ของชาวชีอะฮ์ ก็แน่นอนว่าพวกเขาชอบแต่เรื่องโกหก เพราะอายะห์นี้มิได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอาลี มิเช่นนั้นแล้วก็จะหมายถึงอัลลอฮ์ใช้ให้ท่านนบีประกาศแก่พวกยะฮูด,นะศอรอ และบรรดากุฟฟาร มุชรีกีน เกี่ยวกับตำแหน่งของท่านอาลีด้วย ซึ่งเป็นเรื่องตลกว่า จะให้พวกเขาเหล่านั้นยอมรับการเป็นอิหม่ามของท่านอาลีกระนั้นหรือ เพราะขนาดตัวของท่านนบีมูฮัมหมัดพวกเขาก็ยังไม่ยอมรับกันเลย
ประการที่สอง
นอกจากชีอะฮ์จะโกหกว่าอายะห์นี้ถูกประทานมาเกี่ยวกับท่านอาลีแล้ว ชีอะฮ์ยังโกหกต่อไปอีกว่า เรื่องนี้รายงานมาในลักษณะ มุตะวาเต็ร หมายถึงมหาชนรายงาน ซึ่งคำว่า มุตะวาเต็รในแวดวงของนักวิชาการฮะดีษนั้นหมายถึงบรรดาผู้รายงานในทุกระดับมีจำนวนมาก โดยเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะรวมหัวกันโกหก แต่เราก็ไม่พบรายงานสักบทเดียวที่ศอเฮียะห์จะยืนยันว่า อายะห์นี้ถูกประทานมาเกี่ยวกับท่านอาลี แต่เหล่าชีอะฮ์ใช้วิธีอ้างมั่วว่าอายะห์นี้ถูกประทานทีฆ่อดีรคุม แล้วนำไปประกบกับฮะดีษที่รายงานเหตุการณ์คุตบะห์ของท่านนบีที่ฆ่อดีรคุม แล้วก็หลอกผู้คนว่า นี่แหละหลักฐานทั้งจากอัลกุรอานและฮะดีษเรื่องการแต่งตั้งท่านอาลี
ประการที่สาม
ชีอะฮ์อ้างว่า อายะห์นี้ถูกประทานลงมาที่ ฆ่อดีรคุม ซึ่งเราจะตามไปดูการอ้างเท็จของพวกเขาดังนี้
คำว่า “ฆ่อดีรคุม” เป็นชื่อแอ่งน้ำที่อยู่ระหว่างมักกะห์กับมะดีนะห์ ซึ่งในขณะที่ท่านนบีได้กลับจากการทำฮัจญ์ ถูกเรียกว่าฮัจญะตุ้ลวะดาอ์ หมายถึงฮัจญ์ครั้งอำลาของท่านนบี เมื่อมาถึงที่ฆ่อดีรคุม ท่านนบีได้สั่งให้แวะพัก โดยให้บรรดาศอฮาบะห์เก็บกวาดหนามโดยรอบบริเวณ แล้วท่านก็คุตบะห์ (เราจะได้นำเรื่องนี้มาคุยกันในหัวข้อถัดไป)
เหตุการณ์ที่ฆ่อดีรคุมนั้น ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์ แต่ก่อนหน้านี้ 9 วัน คือวันศุกร์ที่ 9 เดือนเดียวกันนี้ ขณะที่ท่านนบีกำลังวูกุฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ในช่วงเวลาประมาณอัศร์ พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงประทานอัลกุรอานลงมาว่า
اليَوْمَ أكْمَلْتُ لَكُمْ دِيْنَكُمْ وَأتْمَمْتُ عَليْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيْتُ لَكُمُ الاسْلاَمَ دِيْنًا
“วันนี้ข้าได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และความเมตตาของข้าที่มีต่อพวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจที่ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า” ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 3
บรรดานักวิชาการต่างยืนยันตรงว่าอายะห์ที่ 3 นี้ถูกประทานลงมาในวันศุกร์ที่ 9 เดือนซุลฮิจญะห์ ปีที่ 10 ฮิจเราะห์ศักราช ขณะที่ท่านนบีกำลังวุกูฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ในการทำฮัจญะห์ครั้งอำลาของท่าน และเป็นอายะห์สุดท้ายของอัลกุรอานที่ถูกประทานลง แต่เหตุการณ์ที่ฆ่อดีรคุมนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์ หลังจากทำฮัจญ์เรียบร้อยแล้ว จึงเป็นข้อพิสูจน์ความโกหกของชีอะฮ์อีกประการหนึ่งคือ ในเมื่ออัลลอฮ์ได้ลงอัลกุรอานอายะห์สุดท้ายมายืนยันว่าอิสลามครบถ้วนสมบูรณ์ไปแล้ว และเช่นไรเล่าที่ชีอะฮ์ได้อ้างว่าคำสั่งแต่งตั้งอายะห์ที่ 67 ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุมหลังจากนั้น หมายถึงหลังจากอิสลามครบถ้วนไปแล้วกระนั้นหรือ
ที่จริงแล้วอายะห์ที่ 67 ที่ชีอะฮ์นำมาอ้างนี้ถูกประทานลงมาในช่วงแรกๆที่ท่านนบีอพยพมาถึงนครมะดีนะห์ ซึ่งพิจารณาได้จากเนื้อหาของซูเราะห์นี้มีข้อบัญญัติห้ามดื่มน้ำเมา “แท้จริงน้ำเมา,การพนัน,การบูชายันต์ และการเสี่ยงติ้ว คือสิ่งโสโครก เป็นงานของชัยตอน พวกเจ้าทั้งหลายจงออกห่าง” (อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 90) ข้อบัญญัติเรื่องน้ำเมานี้เป็นข้อห้ามช่วงแรกๆ จากหลังสงครามอุฮุด และในซูเราะห์นี้ยังได้กล่าวถึงเรื่องการที่พวกยะฮูดให้ท่านนบีตัดสินเกี่ยวกับการผิดประเวณี “พวกเขาคอยฟังเพื่อมุสา ชอบกินสิ่งต้องห้าม ถ้าหากพวกเขามาหาเจ้า ก็จงตัดสินระหว่างพวกเขา หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงพวกเขาเสีย และหากจากหลีกเลี่ยงพวกเขา มันก็จะไม่เป็นภัยแก่เจ้าแจต่อย่างใด และหากเจ้าตัดสิน ก็จงตัดสินพวกเขาด้วยความยุติธรรม แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักบรรดาผู้ยุติธรรม” (อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 42) เหตุการณ์ที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงกล่าวนี้ก็เป็นช่วงต้นๆ ที่นครมะดีนะห์เช่นเดียวกัน นอกจากนั้นในซูเราะห์นี้ยังมีเรื่องเกี่ยวกับพวกบนีนะดีร และบนกุรอยเซาะห์ ซึ่งกรณีของบนีนะดีรนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดก่อนสงครามคอนดั๊ก ส่วนกรณีของบนีกุรอยเซาะห์เกิดหลังจากสงครามคอนดั๊ก และทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดก่อนการพิชิตนครมักกะห์ทั้งสิ้น และเกิดก่อนฮัจญะตุ้ลวะดาอ์และฆ่อดีรคุมอีกด้วย เพราะฉะนั้นการกล่าวอ้างของกลุ่มชีอะฮ์ที่ว่า ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 67 นี้ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุม จึงเป็นเรื่องมดเท็จอย่างไม่ต้องสงสัย
ประการที่สี่
.ในช่วงที่ท่านนบีอพยพมาอยุ่ที่นครมะดีนะห์ใหม่ๆ บรรดาศอฮาบะห์ต่างจัดเวรยามให้การคุ้มครองท่านนบีทั้งกลางวันและกลางคืน แต่หลังจากที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงประทานอายะห์นี้มาแล้ว ท่านนบีก็สั่งยกเลิกเวรยามทันที ซึ่งท่านหญิงอาอิชะห์ รอดิยัลลอฮุอันฮา ได้รายงานว่า
كانَ النَبِي ُصَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ يُحْرَسُ حَتَّى نَزَلتْ هَذِهِ الآيَة وَالله ُيَعْصِمُكَ مِنَ النَاسِ فَأخْرَجَ
رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ رَأْسَهُ مِنَ القُبَّةِ فَقَالَ أيُّهَا النَاسُ انْصَرَفُوا فَقَدْ عَصَمَنِي اللهُ
“ก่อนหน้านั้นท่านนบีได้รับการคุมครองท่านกระทั่งอายะห์นี้ได้ถูกประทานลงมาว่า และอัลลอฮ์ทรงปกป้องเจ้าจากมนุษย์ ท่านนบีจึงได้ยื่นศรีษะของท่านออกมานอกกระโจม แล้วกล่าวว่า โอ้ประชาชนทั้งหลาย กลับกันไปเถิด อัลลอฮ์ได้ปกป้องฉันแล้ว” สุนันอัตติรมีซีย์ ฮะดีษเลขที่ 2972
เรื่องการจัดเฝ้าเวรยามนี้มีขึ้นหลังจากที่ท่านนบีอพยพไปถึงนครมะดีนะห์ช่วงแรกๆ แต่หลังจากพระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงประทานอายะห์นี้มาแล้วท่านนบีก็สั่งยกเลิก จึงเป็นอีกประการหนึ่งที่ทำให้เราได้ทราบว่า อายะห์ที่ 67 นี้มิได้ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุมดังที่ชีอะฮ์ได้กล่าวอ้าง แต่เป็นถูกประทานลงมาในช่วงแรกๆ หลังการอพยพสู่นครมะดีนะห์ต่างหาก
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ยังมีฮะดีษอุปโลกน์ที่รายงานว่า “ คราใดที่ท่านรอซูลออกไปข้างนอก ท่านอบูตอลิบก็จะส่งคนไปคอยดูแล จนกระทั่งพระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงประทานอายะห์นี้มาว่า “พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงปกป้องเจ้าจากอันตรายของมนุษย์” ท่านรอซูลจึงแจ้งให้ท่านอบูตอลิบทราบว่า โอ้ลุงเอย แท้จริงอัลลอฮ์ได้ทรงปกป้องฉันแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะส่งคนคอยดูแล” ข้อความนี้เล่าถึงเหตุการณ์ที่นครมักกะห์ แต่ในขณะที่อายะห์ที่ 67 ถูกประทานลงมาหลังจากอพยพออกมักกะห์เรียบร้อยแล้ว
ขณะเดียวกันก็มีรายงานจากท่านอบีสะอี๊ด อัลคุดรีย์ว่า “ท่านอับบาสลุงของท่านนบีเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่คอยเฝ้าท่านนบี แต่หลังจากอายะห์นี้ถูกประทานลงมาว่า “พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงปกป้องเจ้าจากอันตรายของมนุษย์” ท่านรอซูลจึงได้ยกเลิกเวรยาม (ดูตัฟซีรอิบนิกะษีร อธิบายซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 67) เพราะฉะนั้นที่ถูกต้องคือลุงของท่านนบีที่คอยเฝ้าท่านนบีคือท่านอับบาส มิใช่อบูตอลิบ
ประการที่ห้า
นอกจากอายะห์ที่ 67 ของซุเราะห์อัลมาอิดะห์นี้จะไม่เกี่ยวกับท่านอาลีตามที่ชีอะฮ์ได้อ้างแล้ว ในตัฟซีรอัตตอบารี ยังได้บันทึกเหตุของการประทานอายะห์นี้ว่า
كان رسول الله صلى الله عليه وسلم اذا نزل منزلا اختار له أصحابه شجرة ظليلة فيقيل تحتها فأتاه أعرابي فاخترط سيفه ثم قال من يمنعك مني قال الله فرعدت يد الأعرابي وسقط السيف منه قال وضرب برأسه الشجرة حتى انتثر دماغه فأنزل الله والله يعصمك من الناس
“ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมนั้น เมื่อท่านแวะพัก บรรดาศอฮาบะห์ก็ได้เลือกที่ร่มใต้ต้นไม้ให้ท่าน เพื่อท่านจะได้นอนพักใต้ต้นไม้นั้น ขณะนั้นได้มีชาวอาหรับคนหนึ่งเข้ามาประชิดท่าน แล้วชักดาบของเขาออกมาโดยพลัน พร้อมทั้งกล่าวว่า มีใครจะห้ามไม่ให้ฉันฆ่าเจ้าไหม ท่านตอบว่า อัลลอฮ์ เมื่อได้ยินเช่นนั้นมือของเขาก็สั่นจนทำให้ดาบหลุดจากมือ ผู้รายงานกล่าวว่า เขาเอาหัวของเขาโขกกับต้นไม้จนกระทั่งจนสมองกระจาย พระองค์อัลลอฮ์จึงได้ประทานอายะห์นี้มาว่า และอัลลอฮ์นั้นปกป้องเจ้าจากอันตรายของมนุษย์” ตัฟซีรอัตตอบารีย์ เล่มที่ 6 หน้าที่ 308
เมื่อเราได้สำรวจความเข้าใจจากบรรดานักวิชาการแล้วเราพบว่าไม่ได้เป็นไปตามที่ลัทธิชีอะฮ์ได้กล่าวอ้างเลยแม้แต่น้อย นอกจากจะพบความโกหกปลิ้นปล้อนของพวกเขาที่มีต่อประชาชาติอิสลาม โดยการนำเอาอัลกุรอานและฮะดีษของท่านรอซูลไปกล่าวอ้างแบบมั่วๆ เพื่อตบตาผู้คนโดยทั่วไป หรือไม่ก็อาศัยแง่มุมทางภาษาอาหรับที่ชาวบ้านไม่อาจเข้าใจได้มานำเสนอ เหมือนกับอัลกุรอานอายะห์นี้ก็เช่นเดียวกัน พวกเขาอ้างว่า
يأيُّهَا الرَّسُوْلُ بَلِّغْ مَا أُنْزِلَ اِلَيْكَ مِن رَّبِكَ
พวกเขากล่าวว่าอักษร ما ในอายะห์นี้คือตำแหน่งของท่านอาลีที่พระองค์อัลลอฮ์ใช้ให้ท่านนบีประกาศแก่บรรดาผู้คน นี่คือการตีความแบบชักลากทั้งๆที่ตำแหน่งของท่านอาลีไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับอายะห์นี้เลย สำหรับผู้ที่เคยเรียนภาษาอาหรับมาบ้างจะเข้าใจได้ดีว่าอักษร ما ในที่นี้มีความหมายว่า สิ่งที่ เพราะฉะนั้น ماأنزل จึงมีความหมายว่าสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านนบี คืออัลกุรอานทั้งหมดโดยไม่จำกัดเฉพาะเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ถ้าหากกลุ่มชีอะฮ์ยังดึงดันที่จะตีความคำว่า ماأنزل ให้มีความหมายว่า ตำแหน่งของท่านอาลี เราก็นำเอาถ้อยความเดียวกันนี้ในอายะห์อื่นๆ มาเปรียบเทียบให้ดูคือ
ذَلِكَ الكتَابُ لاَ رَيْبَ فِيْهِ هَدَى لِلْمُتَّقِيْنَ الَّذِيْنَ يُؤْمِنُونَ بِالغَيْبِ وَيُقِيْمُوْنَ الصَلاةَ وَمِمَّا رَزََقَْنَاهُمْ يُنْفِقُوْنَ وَالَّذِيْنَ يُؤْمِنُوْ ن َبِمَا أُنْزِلَ اِلَيْكَ وَمَا أُنْزِلَ مِنْ قَبْلِكَ وَبِالآخِرَةِ هُمْ يُوْقِنُوْنَ
“คัมภีร์นี้ ไม่มีข้อสงสัยใดๆอยู่ในนี้เลย เป็นทางนำแก่บรรดาผู้ยำเกรง คือบรรดาผู้ศรัทธาต่อสิ่งที่พ้นญาณวิสัย และดำรงไว้ซึ่งการละหมาด,และส่วนหนึ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขานั้น พวกเขาก็บริจาค และบรรดาผู้ศรัทธาต่อสิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า และสิ่งที่ถูกประทานลงมาก่อนหน้าเจ้า และพวกเขาก็เชื่อมั่นต่อวันปรโลก” ซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ อายะห์ที่ 2 – 4
ในอายะห์ที่นำมาเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบนี้มีคำว่า ماأنزل อยู่สองประโยคด้วยกัน ประโยคแรกคือ ماأنزل اليك แปลว่า สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า ซึ่งมุสลิมทั้งโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเข้าใจตรงกันว่า หมายถึงอัลกุรอาน ส่วนประโยคที่สองคือ ماأنزل من قبلك แปลว่า สิ่งที่ถูกประทานลงมาก่อนหน้าเจ้า หมายถึงคัมภีร์อัตเตารอตและอินญีล แล้วอย่างนี้ชีอะฮ์จะยืนยันไหมว่า หมายถึงตำแหน่งท่านอาลีที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน,ในคัมภีร์อัตเตารอตและในคัมภีร์อินญีลด้วย และหากลัทธิชีอะฮ์ยืนยันเช่นนั้น ก็ต้องกล่าวว่านอกจากอัลลอฮ์จะใช้ให้นบีมูฮัมหมัดประกาศตำแหน่งท่านอาลีแล้ว,ยังใช้ให้นบีอีซา และนบีมูซา ประกาศตำแหน่งอาลีในยุคก่อนท่านนบีมูฮัมหมัดด้วย ทั้งๆที่ ขณะนั้นท่านอาลียังไม่มีตัวตนเลย
เช่นนี้แหละคือความเลอะเทอะจากการตีความทางภาษา ที่กลุ่มชีอะฮ์ช่ำชองเหลือเกิน
สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.