ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



ละครฉากนี้ที่ ฆ่อดีรคุม





               ฆ่อดีรคุม เป็นชื่อสถานที่อยู่ระหว่างมักกะห์กับมะดีนะห์  เป็นที่พักระหว่างทางสำหรับผู้เดินทาง สภาพลักษณะเป็นแหล่งน้ำมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมพื้นที่ประปราย เมื่อครั้งที่ท่านนบีเดินทางกลับจากการทำฮัจญะตุ้ลวะดาอ์ (ฮัจญ์ครั้งอำลา) จะเดินทางไปนครมะดีนะห์นั้น ท่านก็ได้แวะพัก ณ.สถานที่แห่งนี้



               และที่นี้มีละครฉากใหญ่ที่ชีอะฮ์สร้างขึ้นเพื่อหลอกลวงชาวโลก มีชื่อเรื่องว่า คำประกาศแต่งตั้งให้ท่านอาลีเป็นคอลีฟะห์ ณ.ที่ฆ่อดีรคุม ตามลำดับเหตุการณ์ที่พวกเขานำมาอ้างกันดังต่อไปนี้




               “หลังจากที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงประธานอัลกุรอานซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 67 มาว่า โอ้รอซูลเอ๋ย จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากองค์อภิบาลของเจ้า หากเจ้าไม่ทำ เจ้าก็ไม่ได้เผยแพร่สาสน์ใดจากพระองค์เลย และอัลลอฮ์นั้นจะปกป้องเจ้าจากอันตรายของมนุษย์” หลังจากนั้นท่านรอซูลได้คุตบะห์ ณ.ที่ฆ่อดีรคุม โดยกล่าวว่า


              يايها الناس ألست أولى منكم بأنفسكم قالوا بلى قال من كنت مولاه فعلي مولاه اللهم وال من  والاه وعاد من عاداه وانصر من نصره

โอ้ประชาชาติทั้งหลาย ฉันมิใช่หรือที่คู่ควรแก่พวกเจ้ามากกว่าตัวของพวกเจ้าเอง พวกเขาตอบว่า ใช่ครับ ท่านกล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครอง (ตามความหมายของชีอะฮ์) ของเขา อาลีก็เป็นผู้ปกครองของเขา (ตามความหมายของชีอะฮ์) ด้วย  โอ้อัลลอฮ์ได้โปรดเป็นมิตรแก่ผู้ที่เป็นมิตรกับเขา และโปรดเป็นปรปักษ์แก่ผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา และโปรดให้ความช่วยเหลือผู้ที่ให้ความช่วยเหลือเขาหลังจากที่ท่านนบีได้คุตบะห์แล้วพระองค์อัลลอฮ์ก็ทรงประทานอัลกุรอานซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 3 ลงมาว่า วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูร์แล้ว และความเมตตาของข้าที่มีต่อพวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจที่จะให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า”


               ส่วนในบันทึกของอบูนุอัยม์ได้ลำดับเหตุการณ์นี้โดยอ้างคำรายงานจากท่านอบีสะอี๊ด อัลคุดรีย์ว่า

 أن النبي صلى الله عليه وسلم دعا الناس الى غدير خم وأمر بازالة ما تحت الشجرة من الشوك فقام فدعا عليا فأخذ بضعيه فرفعهما حتي نظر الناس الى بياض ابطى رسول الله صلى الله عليه وسلم ثم لم يتفرقوا حتى نزلت هذه الآية  اليوم أكملت لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الاسلام دينا  فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم الله أكبرعلى اكمال الدين واتمام النعمة   ورضا الرب برسالتي وبالولاية لعلي من بعدي ثم قال من كنت مولاه فعلي مولاه اللهم وال من والاه وعاد من عاداه وانصر من نصره وأخذل من خذله 

ท่านนบีได้ใช้ให้บรรดาศอฮาบะห์หยุดแวะพักที่ฆ่อดีรคุม ท่านได้ใช้ให้เก็บเศษหนามใต้ต้นไม้ออกให้หมด  แล้วท่านก็ลุกขึ้นยืนโดยเรียกให้ท่านอาลีมาหา หลังจากนั้นท่านได้จับแขนทั้งสองของอาลียกชูขึ้นสูงจนกระทั่งผู้คนได้เห็นความขาวของรักแร้ท่านรอซูล และในขณะที่ยังไม่มีผู้ใดขยับไปไหน อายะห์นี้ก็ได้ถูกประทานลงมาว่า “วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูร์แล้ว และความเมตตาของข้าที่มีต่อพวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจที่จะให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า” ท่านรอซูล ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ที่ได้ให้ศาสนานี้สมบูรณ์ และได้ให้ความเมตตาเต็มเปี่ยม และองค์อภิบาลได้พอใจต่อการประกาศสาสน์ของฉัน  และทรงพอใจต่อการปกครองของอาลีต่อจากฉัน หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า ผู้ใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา (ตามความหมายของชีอะฮ์)  อาลีก็เป็นผู้ปกครองของเขาด้วย (ตามความหมายของชีอะฮ์)   โอ้อัลลอฮ์ได้โปรดเป็นมิตรแก่ผู้ที่เป็นมิตรกับเขา และโปรดเป็นปรปักษ์แก่ผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา และโปรดให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ช่วยเหลือเขา และโปรดโดดเดี่ยวผู้ที่ผินหลังให้กับเขา
 

            หากเราอ่านเรื่องนี้กันอย่างผิวเผินโดยไม่รู้ที่มา ก็อาจจะมองว่า ละครฉากใหญ่นี้มีน้ำหนักหลักฐานดูสมจริงสมจังมากทีเดียว แต่หากได้ศึกษาที่มาของแต่ละเรื่องแล้วก็จะพบว่า ละครฉากนี้เป็นการโยงหลายเรื่องเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ดูกลมกลืนเหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน,เหตุการณ์เดียวกัน และเกิดในสถานที่เดียวกันนั่นคือที่ฆ่อดีรคุม ทำให้ผู้ที่ไม่รู้ที่มาก็หลงคล้อยตามคิดว่าน่าจะเป็นจริงตามที่พวกเขาอ้าง ทว่าการกระทำเยี่ยงนี้ไม่สามารถปกปิดความจริงได้ เนื่องจากในแต่ละเหตุการณ์นั้นมีศอฮาบะห์อยู่เป็นจำนวน รวมถึงท่านอาลี อิบนิอบีตอลิบด้วย

                แต่ก็แปลกที่ท่านอาลีเอง ก็ไม่เคยอ้างเรื่องราวเหล่านี้เป็นคำสั่งแต่งตั้งให้ท่านเป็นคอลีฟะห์สืบต่อจากท่านนบีโดยพลัน และเมื่อผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์มิได้เข้าใจเช่นนั้น แล้วคำรายงานข้างต้นนี้โผล่มาได้อย่างไร เหตุการณ์ที่ชีอะฮ์นำมาอ้างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือ   และมีมูลเหตุอะไรถึงได้นำเอาหลายเรื่องมาผนวกไว้เป็นเรื่องเดียวกัน แล้วเจาะจงให้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานที่เดียวกัน เราจึงต้องชี้แจงข้อเท็จจริงให้ท่านทราบดังนี้

                 ประการที่หนึ่ง  

                คำรายงานข้างต้นอ้างจากบันทึกของอบูนุอัยม์ ชื่ออัลฮุลลียะห์  ซึ่งบันทึกฮะดีษชุดนี้ไม่ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นตำราบันทึกฮะดีษศอเฮียะห์ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันเป็นอย่างดีในหมู่นักวิชาการฮะดีษว่า หนังสือฮะดีษชุดนี้ มีทั้งฮะดีษอ่อนและฮะดีษเก้ปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก หรือกล่าวได้ว่าเป็นบันทึกฮะดีษปลายแถวที่ไม่ได้รับการยอมรับจากบรรดานักวิชาการฮะดีษ และแน่นอนว่า ข้อความในบันทึกตามที่ลัทธิชีอะฮ์ได้นำมาอ้างนี้ ก็เป็นหนึ่งในฮะดีษอุปโลกน์มีถูกระบุไว้ในหนังสือชุดนี้ โดยหาแหล่งข้อมูลที่เป็นศอเฮียะห์มารับรองไม่ได้เลย มิหนำซ้ำ ข้อความในฮะดีษอุปโลกน์นี้ยังขัดแย้งกับคำรายงานอื่นๆที่ศอเฮียะห์หลายประการด้วยกันซึ่งจะนำมาวิพากษ์ในลำดับถัดไป

                 ประการที่สอง 

                เหตุการณ์ที่ฆ่อดีรคุม เกิดในวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์ ปีที่ 10 ฮิจเราะห์ศักราช หลังจากที่ท่านนบีและเหล่าศอฮาบะห์ได้ทำฮัจญะห์เสร็จเรียบร้อยแล้ว และกำลังเดินทางกลับนครมะดีนะห์ โดยได้แวะพักระหว่างทางที่นี่ ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่เข้าใจตรงกันหมดโดยไม่มีข้อขัดแย้ง โดยเฉพาะลัทธิชีอะฮ์อิหม่ามสิบสองก็ยอมรับว่า เหตุการณ์ที่ฆ่อดีรคุมเกิดวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์ ฉะนั้นพวกเขาจึงถือเอาวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์ของทุกปีเป็นวันเฉลิมฉลองด้วย แล้วเพราะเหตุใดที่หลักฐานของชีอะฮ์ที่ได้นำมาอ้างจึงระบุว่า พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงประทานซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 67 ลงมาที่ฆ่อดีรคุม นั่นยอ่มหมายความว่าอายะห์ที่ 67 นี้ประทานลงมาในวันที่ 18 เดือนซูลฮิจญะห์ด้วย ทั้งๆที่อายะห์นี้ถูกประทานลงมาในช่วงแรกที่ท่านนบีอพยพจากมักกะห์สู่นครมะดีนะห์ ไม่ใช่เป็นเหตุการณ์ที่กลับจากฮัจญ์สู่นครมะดีนะห์ตามที่อ้าง นอกจากนั้นลัทธิชีอะฮ์อิหม่ามสิบสองยังอ้างเท็จว่า อายะห์นื้เป็นคำสั่งให้ท่านนบีประกาศแต่งตั้งให้ท่านอาลีเป็นคอลีฟะห์ ทั้งๆที่เนื้อหาในอายะห์นี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดตามที่พวกเขาอ้างเลย ซึ่งเราได้นำเอาเรื่องนี้มาตีแผ่ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว กรุณาย้อนกลับไปทบทวนเรื่องนี้ภายใต้หัวข้อเรื่อง “อายะตุ้ลตั๊บลีค ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 67)

                 ประการที่ สาม

               
ลัทธิชีอะอ์อิหม่ามสิบสองอ้างว่า หลังจากที่ท่านนบีได้ประกาศแต่งตั้งท่านอาลี อิบนิอบีตอลิบเป็นคอลีฟะห์เรียบร้อยแล้ว พระองค์อัลลอฮ์ก็ได้ทรงประทานซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 3 มาปิดท้ายว่า “วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูร์แล้ว และความเมตตาของข้าที่มีต่อพวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจที่จะให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า”
               ประเด็นนี้เป็นการจงใจที่จะให้เรื่องราวของอิสลามปิดฉากลงที่คำประกาศแต่งตั้งให้ท่านอาลีเป็นคอลีฟะห์ ฉะนั้นพวกเขาจึงมดเท็จโดยไปนำเอาเหตุที่เกิดขึ้นก่อนหน้าฆ่อดีรคุม มาขมวดไว้ในตอนท้าย แต่การโกหกคำโตนี้ปิดไม่มิด เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 3นี้ ถูกประทานลงมาในวันศุกร์ที่ 9 เดือนซุลฮิจญะห์ เวลาประมาณอัศริ ขณะที่ท่านนบีและเหล่าศอฮาบะห์กำลังวุกูฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดก่อนเหตุการณ์ที่ฆ่อดีรคุมตั้ง 9 วัน และเหตุการณ์ของการประทานอายะห์นี้ที่ทุ่งอะรอฟะห์นั้นก็เป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลาย และไม่มีข้อขัดแย้งในทางตำราวิชาการและในทางประวัติศาสตร์เลยแม้แต่น้อย ซึ่งจากตำราบันทึกฮะดีษที่ศอเฮียะห์ ระบุตรงกันว่า

 
 أنَّ أُنَاسًا مِنَ اليَهُوْدِ قَالُوا لَوْ نَزَلَتْ هَذِهِ الآيَةُ فِيْنَا لأَتَّخِذَنَا ذَلِكَ اليَوْمَ عِيْدًا فَقَالَ عُمَرُ أيَّةُ آيَةٍ فَقَالُوا  اليَوْمَ أكْمَلْتُ لَكُمْ دِيْنَكُمْ وَأتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيْتُ لَكُمُ الاسْلامَ دِيْنًا  فَقَالَ عُمَرُ اِنَّي لأَعْلَمُ أيَّ مَكاَنٍ أُنْزِلَتْ أُنْزِلَتْ وَرَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَاقِفٌ بِعَرَفَةَ 

บรรดาผู้คนชาวยะฮูดได้กล่าวว่า หากอายะห์นี้ถูกประทานลงมาในหมู่พวกเราละก็ พวกเราจะถือเอาวันที่ประทานมาเป็นวันเฉลิมฉลอง ท่านอุมัรได้กล่าวว่า อายะห์ใดหรือ พวกเขากล่าวว่า “วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูร์แล้ว และความเมตตาของข้าที่มีต่อพวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจที่จะให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า” ท่านอุมัรตอบว่า ฉันก็รู้ว่าอายะห์นี้ประทานลงมาที่ใด อายะห์นี้ถูกประทานลงมาในขณะที่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลลอลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กำลังวุกูฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์” บันทึกโดยอิหม่ามบุคคอรี ฮะดีษเลขที่  4055

                 ประการที่สี่ 

                ในขณะที่ละครฉากใหญ่ของชีอะฮ์ได้ประพันธ์เรื่องไม่แนบเนียน ด้วยการนำเอาสองเหตุการณ์ในการประทานอัลกุรอานซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 3 และอายะห์ที่ 67 มาผนวกรวมไว้เป็นเรื่องเดียวกัน ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานที่เดียวกันคือที่ ฆ่อดีรคุม ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นละครน้ำเน่าไปโดยทันที และยิ่งไปกว่านั้นการประกบเรื่องไม่ประติดประต่อทำให้เนื้อเรื่องกระโดดข้ามใจความสำคัญในอ้างของชีอะฮ์ไปอย่างน่าเสียดาย นั่นคือ อายะห์ที่ยืนยันในความสมบูรณ์ของศาสนาถูกประทานลงมาก่อนที่ท่านนบีจะกาศตั้งท่านอาลีตามการอ้างหลักฐานของพวกเขาคือ “และในขณะที่ยังไม่มีผู้ใดขยับไปไหน อายะห์นี้ก็ได้ถูกประทานลงมาว่า “วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูร์แล้ว และความเมตตาของข้าที่มีต่อพวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจที่จะให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า” ท่านรอซูล ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ที่ได้ให้ศาสนานี้สมบูรณ์ และได้ให้ความเมตตาเต็มเปี่ยม และองค์อภิบาลได้พอใจต่อการประกาศสาสน์ของฉัน  และทรงพอใจต่อการปกครองของอาลีต่อจากฉัน หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า ผู้ใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา (ตามความหมายของชีอะฮ์)  อาลีก็เป็นผู้ปกครองของเขาด้วย (ตามความหมายของชีอะฮ์)  โอ้อัลลอฮ์ได้โปรดเป็นมิตรแก่ผู้ที่เป็นมิตรกับเขา และโปรดเป็นปรปักษ์แก่ผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา และโปรดให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ช่วยเหลือเขา และโปรดโดดเดี่ยวผู้ที่ผินหลังให้กับเขา อย่างนี้คือบทประพันธ์และการดำเนินเรื่องที่ไม่แนบเนียน จึงเป็นคำถามที่คาใจว่า ศาสนาสมบูรณ์ไปก่อนที่จะประกาศตั้ง หรือประกาศตั้งก่อนแล้วศาสนาจึงสมบูรณ์กันแน่ ความจริงแล้วชีอะฮ์น่าจะแก้บทประพันธ์นี้แล้วนำเสนอแก่ชาวโลกเสียใหม่ เพื่อจะให้ดูกลมกลืนมากยิ่งขึ้น แต่...จะแก้อย่างไรก็ยังคงเป็นได้แค่นิยายหรือละครน้ำเน่าเท่านั้นเอง เพราะตัวบทหลักฐานที่ศอเฮียะห์ได้ยืนยันไว้แล้วว่า อายะห์ทั้งสองนี้ไม่ได้ถูกประทานที่ฆ่อดีรคุม โดยเฉพาะอายะห์ที่ยืนยันถึงความสมบูรณ์ของศาสนาถูกประทานที่ทุ่งอะรอฟะห์ ก่อนเหตุการณ์ที่ฆ่อดีรคุมตั้ง 9 วัน

                 ประการที่ห้า 

                เมื่อศาสนาได้สมบูรณ์ไปแล้วก่อนที่จะประกาศแต่งตั้ง เพราะฉะนั้นข้ออ้างคำสั่งแต่งตั้งที่ชีอะฮ์ยกมาจึงไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับศาสนา แต่ลัทธิชีอะฮ์ก็ยังถือว่าเป็นคำประกาศตั้งที่มีความสำคัญเป็นยิ่งยวด และเมื่อได้สำรวจจากตำราที่พวกเขาใช้อ้างดูจะเป็นคำประกาศตั้งที่ขาดๆเกินๆ ชอบกลเพราะ
ในบางรายงานระบุข้อความแค่เพียงว่า
ผู้ใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา อาลีก็เป็นผู้ปกครองของเขาด้วย (ตามความหมายของชีอะฮ์)

แต่บางรายงานก็มีข้อความเพิ่มเติมว่า

โอ้อัลลอฮ์ได้โปรดเป็นมิตรแก่ผู้ที่เป็นมิตรกับเขา และโปรดเป็นปรปักษ์แก่ผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา

และบางรายงานก็เติมคำว่า

โปรดให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ช่วยเหลือเขา

และบางรายงานก็เสริมด้วยคำว่า

โปรดโดดเดี่ยวผู้ที่ผินหลังให้กับเขา

               และหลังจากที่ได้ตรวจสอบคำรายงานทั้งหมดก็พบว่า ที่น่าจะถูกต้องมีเพียงประโยคเดียวคือ

مَنْ كُنْتُ مَوْلاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلاَهُ

ผู้ใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา(ตามความหมายของชีอะฮ์) อาลีก็เป็นผู้ปกครอง (ตามความหมายของชีอะฮ์) ของเขาด้วย สุนันอัตติรมีซีย์ ฮะดีษเลขที่ 3646

                มีเฉพาะคำพูดประโยคนี้เพียงประโยคเดียวจริงๆที่น่าจะพอจะอนุโลมได้ว่าเป็นคำพูดของท่านนบี (หมายถึงเฉพาะคำรายงาน ส่วนความหมายนั้นไม่ถูกต้องซึ่งจะนำมากล่าวในประการถัดไป) นอกเหนือจากข้อความประโยคนี้นั้นเป็นเท็จทั้งหมด คือเป็นการแอบอ้างโดยนำคำพูดของผู้อื่นมายัดเยียดให้เป็นคำพูดของท่านนบีด้วย และเราคงไม่ต้องนำเอาสายรายงานที่เป็นเท็จทั้งหมดมาตีแผ่ เพราะเป็นการเพียงพอแล้วกับคำยืนยันจากบันทึกของท่านอิหม่ามอะห์หมัด ซึ่งเป็นคำรายงานของท่านอาลี อิบนิอบีตอลิบว่า

 عَنْ عَلِيٍّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ أنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ قَالَ يَوْمَ غَدِيْرِخُمِّ مَنْ كُنْتُ مَوْلاهُ فَعَلِيٌّ  مَوْلاَهُ قَالَ زَادَ النَاسُ بَعْدُ وَالِ مَنْ وَالاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ 

ท่านอาลีอิบนิ อบีตอลิบ รายงานว่า แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้เมื่อวันฆ่อดีรคุมว่า ผู้ใดที่ฉันเป็นที่รักยิ่ง (ชีอะฮ์ให้ความหมายว่าเป็นผู้ปกครอง) ของเขา อาลีก็เป็นที่รักยิ่ง (ชีอะฮ์ให้ความหมายว่าเป็นผู้ปกครอง) ของเขาด้วย  เขากล่าวว่า บรรดาผู้คนได้มาเติมคำหลังจากนี้ว่า ได้โปรดเป็นมิตรแก่ผู้ที่เป็นมิตรกับเขา และโปรดเป็นปรปักษ์แก่ผู้ที่เป็นศัตรูกับเขามุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ฮะดีษเลขที่ 1242
 

                เพราะฉะนั้นเมื่อคำตอบในประเด็นนี้ยืนยันด้วยหลักฐานว่าเป็นคำพูดของผู้อื่น เป็นการอ้างเท็จต่อท่านนบี เราก็คงไม่เอาการสันนิฐานไปแย้งหลักฐาน และเราก็จะไม่เสียเวลากับการนำเรื่องเท็จมาสาธยายกันต่อไป

                 ประการที่หก

               
เมื่อเราได้ตรวจสอบแล้วว่า คำพูดที่พอจะอนุโลมได้ว่าเป็นคำพูดของท่านนบีก็เฉพาะประโยคที่ว่า  مَنْ كُنْتُ مَوْلاَهُ فَعَلِيٌّ مَوْلاَهُ ผู้ใดที่ฉันเป็นที่รักยิ่งของเขา (ชีอะฮ์ให้ความหมายว่าเป็นผู้ปกครอง) อาลีก็เป็นที่รักยิ่ง(ชีอะฮ์ให้ความหมายว่าเป็นผู้ปกครอง) ของเขาด้วย 

            ที่กล่าวว่าข้อความข้างต้นนี้พอจะอนุโลมได้ว่าเป็นคำพูดของท่านนบีนั้น ก็เนื่องบรรดานักวิชาการฮะดีษยังมีข้อขัดแย้งในสภานภาพของถ้อยความประโยคนี้ เช่นท่านอิหม่ามบุคคอรี, ท่านอิบรอฮีมอัรฮัรบีย์ และนักวิชาการฮะดีษอวุโสท่านอื่นๆ ถือว่า ข้อความนี้ฏออีฟ ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้ เพียงแต่ว่าท่านอิหม่ามอัตติรมีซีย์ และท่านอิหม่ามอะห์หมัด อิบนุฮัมบัล ยังถือว่าข้อความนี้อยู่ในระดับฮะซัน คือเป็นฮะดีษที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้เท่านั้นเอง

            ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสองอ้างว่า ถ้อยความประโยคนี้เป็นคำสั่งแต่งตั้งให้อาลีเป็นคอลีฟะห์สืบต่อจากท่านนบีโดยพลัน แต่เมื่อเราได้พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนกลับไม่พบว่า จะมีแง่มุมใดที่สามารถนำไปอ้างเป็นหลักฐานแต่งตั้งได้เลย และหากเราสมมติว่า ถ้าคำนี้เป็นคำประกาศตั้งจริงละก็ ข้ออ้างของลัทธิชีอะฮ์ก่อนหน้านี้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการนำอัลกุรอานอายะห์ใด หรือฮะดีษบทใดมาอ้างเป็นหลักฐานแต่งตั้งก็ต้องถือเป็นเท็จทั้งหมด เพราะคำประกาศตั้งจริงคือข้อนี้ที่ฆ่อดีรคุมมิใช่หรือ ซึ่งดูเหมือนหลักฐานประกาศตั้งตามที่ชีอะฮ์ได้อ้างกันมามากมายนั้นจะมั่วๆ อยู่ชอบกล ถ้าเช่นนั้นเราลองมาพิจารณาข้อความที่พวกเขาถือว่าเป็นหลักฐานต้นพระเอกในบทนี้กันดังนี้คือ

مَنْ كُنْتُ مَوْلاَهُ فَعَلِيٌّ مَوْلاَهُ 
              
               ชีอะฮ์ได้ให้ความหมายของคำว่า  مولى   ในประโยคนี้ว่า เป็นผู้ปกครอง” ซึ่งเราไม่ทราบว่าพวกเขาไปเอามูลเหตุของการให้ความหมายเช่นนี้มาจากไหน เพราะคำว่า  مولى    -   ولي   -  أولي  -   وال    คำเหล่านี้แม้จะมีที่มาทางรากศัพท์ภาษาจากสามอักษรเหมือนกัน แต่เมื่อผันอยู่ในรูปต่างๆ ก็จะมีความหมายแตกต่างกันออกไปด้วยเช่น

يَوْمَ لاَ يُغْنِي مَوْلىً عَنْ مَوْلىً شَيْئًا وَلاَهُمْ يُنْصَرُوْنَ 

วันที่ญาติสนิทจะไม่สามารถเอื้อประโยชน์ใดแก่ญาติสนิท แม้แต่ตัวของเขาเองก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือ” ซูเราะห์อัตดคอน อายะห์ที่ 41

                 คำว่า  مولى  ในอายะห์นี้แปลว่า ญาติสนิท หรือผู้ใกล้ชิด

 اِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِيْنَ آمَنُوا 

แท้จริงผู้ที่เป็นมิตรกับพวกเจ้านั้นคืออัลลอฮ์,รอซูของพระองค์ และบรรดาผูศรัทธา” ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 55

                ส่วนในอายะห์นี้แปลว่าผู้เป็นมิตร, ผู้เป็นที่รัก  

النَبِيُّ أوْلىَ بِالْمُؤْمِنِيْنَ مِنْ أنْفُسِهِمْ 

นบีนั้นเหมาะสมแก่บรรดาผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเองเสียอีก” ซูเราะห์อัลอะห์ซาบ อายะห์ที่ 3  

            คำว่า  أولى  ในอายะห์นี้แปลว่า ผู้ที่เหมาะสม, หรือคู่ควรที่สุด ซึ่งข้อความจากอัลกุรอานอายะห์นี้ไม่ได้จำกัดว่าท่านนบีเหมาะสมหรือคู่ควรแก่ผู้ศรัธาเฉพาะตอนที่ท่านมีชีวิตเท่านั้น แม้เมื่อท่านตายจากไปแล้ว ท่านก็ยังอยู่ในสถานะที่เหมาะสมกับผู้ศรัทธายิ่งกว่าผู้ใดในการที่จะเจริญรอยตาม ซึ่งไม่ได้หมายความว่า เมื่อท่านนบีตายไปแล้วก็หมดสภาพโดยผู้ศรัทธาต้องหันไปยึดถือผู้อื่นแทน เพราะไม่มีผู้ใดคู่ควรแก่ผู้ศรัทธายิ่งกว่าท่านนบีอีกแล้ว ทั้งยามที่ท่านยังมีชีวิตอยู่และในยามที่ท่านได้ตายไปแล้ว 

وَمَالَهُمْ مِنْ دُوْنِهِ مِنْ وَالٍ

และสำหรับพวกเขานั้นไม่มีผู้ปกป้องคุ้มครองใดๆ นอกจากพระองค์” ซูเราะห์อัรเราะอด์ อายะห์ที่ 11

             คำว่า  وال  ในอายะห์นี้หมายถึง ผู้แกครอง หรือผู้ให้ความคุ้มครอง 

             นี่คือตัวอย่างบางส่วนที่นำมาให้ท่านเห็นถึงความแตกต่างของคำและความหมาย สิ่งที่เราฉงนก็คือ ลัทธิชีอะฮ์ได้อ้างข้อความที่ว่า  مَنْ كُنْتُ مَوْلاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلاَهُ   เป็นหลักฐานว่า ท่านนบีได้แต่งตั้งให้ท่านอาลีเป็นคอลีฟะห์ หมายถึงตั้งให้เป็นผู้ปกครองต่อจากท่านนั้น ทำไมคำประกาศที่ชีอะฮ์อ้างจึงเป็นคำประกาศที่มีความหมายกว้างด้วยคำว่า   مولى เพราะหากท่านนบีจะประกาศแต่งตั้งท่านอาลีเป็นผู้ปกครองจริงท่านก็ต้องกล่าวว่า

من كنت واليه فعلي واليه 
 
ผู้ใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อาลีก็เป็นผู้ปกครองของเขาด้วย” 

                แต่ท่านนบีก็มิได้กล่าวเช่นนั้น และเราเองก็ไม่ทราบว่า เพราะเหตุใดที่ลัทธิชีอะฮ์ถึงให้ความหมายคำว่า  مولى  ด้วยความหมายของคำว่า  وال   แล้วยกเมฆว่าท่านนบีประกาศตั้งให้ท่านอาลีเป็นคอลีฟะห์ ไม่ทราบว่าเป็นความเขลาทางภาษาหรือจงใจบิดเบือนกันแน่

                 ประการที่เจ็ด 

                เมื่อถ้อยความที่ว่า    مَنْ كُنْتُ مَوْلاَهُ فَعَلِيٌّ مَوْلاَهُ   ไม่ได้มีความหมายว่า ผู้ใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อาลีก็เป็นผู้ปกครองของเขาด้วย” หากแต่มีความหมายว่า ผู้ใดที่ฉันเป็นที่รักยิ่งของเขา อาลีก็เป็นที่รักยิ่งของเขาด้วย” ฉะนั้นถ้อยความนี้จึงไม่ใช่เป็นคำประกาศแต่งตั้งท่านอาลีให้เป็นคอลีฟะห์ตามที่ชีอะห์ได้กล่าวอ้าง และถ้อยความเช่นนี้ก็ไม่ใช่ถ้อยความที่ท่านนบีกล่าวแก่ท่านอาลีแต่เพียงผู้เดียว หากแต่ยังมีถ้อยความอื่นๆที่ท่านนบีได้กล่าวไว้ด้วยคำที่มีความหมายชัดเจนเช่น
 
     عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ عَنِ النَبِيِّ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ قَالَ آيَةُ الاِيْمَانِ حُبُّ الأنْصَار وَآيَةُ النِفَاقِ بُغْضُ الأنْصَار   

อนัสบินมาลิก รายงานจากท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมว่า เครื่องหมายของการอีหม่านคือ การรักชาวอันศอร และเครื่องหมายของการกลับกลอกคือการโกรธชาวอันศอร” บันทึกโดยอิหม่ามบุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 3500 

                ด้วยเหตุที่ได้กล่าวมาแล้ว ทำให้เราได้ทราบว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ฆอดีรคุมเมื่อวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์ ฮิจเราะห์ศักราชที่ 10 นั้นเป็นแค่เพียงการแวะพักในการเดินทาง โดยท่านนบีไม่ได้ประกาศข้อบัญญัติศาสนาใดๆ เพิ่มเติมอีก หลังจากที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงประทานซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 3 มาเพื่อยืนยันถึงความครบถ้วนสมบูรณ์ของศาสนาแล้ว ที่ทุ่งอะรอฟะห์ในวันศุกร์ที่ 10 เดือนซุลฮิจญะห์ ปีเดียวกัน และนี่เป็นช่วงปลายชีวิตของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เพราะหลังนี้อีก 81 วันท่านนบีก็เสียชีวิต

                เราจะปิดฉากเรื่องนี้และยืนยันการอ้างเท็จของชีอะฮ์อีหม่ามสิบสองทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องหลักฐานการแต่งตั้งท่านอาลีด้วยกับคำของท่านอาลีเอง

   









สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2007-03-19 (12017 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]