ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 1 ฮะดีษลัจญ์ลาจญ์




               การอ่านอัลกุรอ่านในกุโบร์ เป็นปัญหาที่คนบ้านเราถกเถียงกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งฝ่ายที่นิยมกระทำก็เพียรพยายามหาตัวบทหลักฐานมารองรับการกระทำของพวกเขา ซึ่งแน่นอนว่า คนระดับชาวบ้านโดยทั่วไปไม่อาจนำตัวบทหลักฐานมาอ้างอิงได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นจึงเป็นภาระของผู้รู้ที่ฝักใฝ่หรือสนับสนุนการอ่านอัลกุรอานในกุโบร์ จะได้นำหลักฐานมาแสดงแก่บรรดาผู้คน เพื่อสร้างความมั่นอกมั่นใจแก่ผู้ที่นิยมกระทำ

                แต่หลักฐานทางศาสนานั้น มิใช่เพิ่งจะมีมาเมื่อวาน หรือเกิดจากการที่ท่านนบีมาเข้าฝันแล้วสั่งสอนกันใหม่ หากแต่เป็นหลักฐานต้นเดิมๆ ที่เคยนำมาแสดงกันก่อนแล้วเป็นระยะๆ และก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันเรื่อยมาในแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่ก็มีบางท่านได้หยิบยกหลักฐานอื่นมาประกอบ แล้วอนุมานประสานให้เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ก็เป็นเพียงแค่หลักฐานประกอบ ซึ่งจะนำมาประกอบหรือประกบตรงเรื่องตรงประเด็นหรือไม่นั้น ก็จะได้วิพากษ์กันต่อไป อินชาอัลลอฮ์ แต่ ณ.ที่นี้ เราจะเริ่มจากหลักฐานต้นพระเอกกันเสียก่อน



ฮะดีษลัจญ์ลาจญ์

 

                กล่าวได้ว่า ฮะดีษลัจญ์ลาจญ์ นี้เป็นฮะดีษต้นพระเอก ของผู้นิยมชมชอบการอ่านอัลกุรอานในกุโบร์เป็นยิ่งนัก เพราะมักจะถูกหยิบยกมาเป็นหลักฐานอ้างอิงอยู่เป็นเนืองนิตย์  ความจริงแล้วฮะดีษในแต่ละบทนั้นจะถูกเรียกชื่อตามเหตุการณ์,เนื้อเรื่อง, หรือเรียกตามชื่อผู้รายงาน เช่นเดียวกับฮะดีษที่เราจะนำมาวิพากษ์กันต่อไปนี้ ซึ่งถูกเรียกกันว่า ฮะดีษลัจย์ลาจญ์ ตามชื่อของศอฮาบะห์ ที่ถูกระบุไว้ในสายรายงาน และอ้างกันว่าเป็นผู้รายงานฮะดีษบทนี้ไว้ แต่เราจะเรียกฮะดีษบทนี้ว่า ฮะดีษวิพากษ์ เพราะเราจะนำเอาสายรายงาน,ตัวผู้รายงาน และเนื้อหาของฮะดีษบทนี้มาตีแผ่กัน

 ตัวบทฮะดีษ

  عن عبد الرحمن ابن العلاء بن اللجلاج عن أبيه قال: (قال لي أبي يا بني إذا أنا مِت فألحدني فإذا وضعتني في لحدي فقل: ''بسم الله وعلى ملة رسول الله ثم سُنَّ عليّ الثرى سَنَّا ثم اقرأ عند رأسي بفاتحة البقرة وخاتمتها فإني سمعت رسول الله يقول ذلك) رواه الطبراني في الكبير ورجاله موثقون . مجمع الزوائد
 
                 จากอับดุลเราะห์มาน อิบนุลอะลาอ์ อิบนุลัจญ์ลาจญ์ จากพ่อของเขา (อัลอะลาอ์)  กล่าวว่า พ่อของฉัน (ลัจญ์ลาจญ์) ได้กล่าวกับฉันว่า โอ้ลูกเอ๋ย เมื่อฉันตายก็จงทำลูกหลุมฝังศพของฉัน และเมื่อเจ้าวางฉันลงในลูกหลุมของฉันก็จงกล่าวว่า บิสมิลลาฮิ วะอะลามิลละติรอซูลิลลาฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม หลังจากนั้นก็กลบร่างของฉันจนดินเสมอพื้น เสร็จแล้วจงอ่านทางด้านศรีษะของฉันด้วยกับตอนต้นของซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ และตอนท้ายของซูเราะห์นี้ เพราะแท้จริงฉันเคยได้ยินท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้เช่นนั้นอัตฏอบรอนีย์ บันทึกฮะดีษบทนี้ไว้ในอัลกะบีร โดยบรรดาผู้รายงานได้รับความน่าเชื่อถือ จากมัจมะอ์ อัสซะวาอิด

ติดตามดูตำราบันทึกฮะดีษ

                 โดยส่วนใหญ่แล้วผู้อ้างฮะดีษบทนี้ มักจะกล่าวว่าได้คัดลอกฮะดีษบทนี้มาจากหนังสือ มัจมะอ์-อัสซะวาอิด เมื่อเราตามไปตรวจสอบก็พบว่า ถูกระบุไว้ในเล่มที่ 3 หน้าที่ 44 ซึ่งท่านอิหม่าม อัลฮัยซะมีย์ กล่าวว่าได้นำมาจาก อัลกะบีร (หมายถึง อัลมัวอ์ญัม อัลกะบีร) ของท่านอิหม่าม อัตฏอบรอนีย์  เราจึงต้องตามไปตรวจสอบจากต้นฉบับ และได้พบว่าฮะดีษนี้ถูกบันทึกใน อัลมัวอ์ญัม อัลกะบีร เล่มที่ 19 หน้าที่ 220 ลำดับที่  491 มีข้อความดังนี้

 حدثنا أبو أسامة عبد الله بن محمد بن أبي أسامة الحلبي ثنا أبي (1)
وحدثنا إبراهيم بن دحيم الدمشقي ثنا أبي (2)
وحدثنا الحسين بن إسحاق التستري ثنا علي بن بحر(3)
قالوا ثنا مبشر بن إسماعيل حدثني عبد الرحمن بن العلاء بن اللجلاج عن أبيه قال قال لي أبي : يا بني إذا أنامت فألحدني فإذا وضعتني في لحدي فقل بسم الله وعلى ملة رسول الله صلى الله عليه و سلم ثم سن على الثرى سنا ثم اقرأ عند رأسي بفاتحة البقرة وخاتمهتا فإني سمعت رسول الله صلى الله عليه و سلم يقول ذلك 

               ตัวบทและสายรายงานข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่า ท่านอิหม่ามอัตฏอบรอนีย์ ได้อ้างสายรายงานระดับล่างที่สืบถึงท่านสามสายด้วยกัน แต่ทั้งหมดได้นำมาจากแหล่งเดียวกัน คือมีต้นกำเนิดจากสายรายงานเดียวเท่านั้นคือจาก มุบัชชิร บินอิสมาอีล (อัลฮะละบีย์) จาก อับดุลเราะห์มานอิบนิลอะลาอ์ อิบนิลลัจญ์ลาจญ์

                อย่างไรก็ตาม ฮะดีษบทนี้ยังถูกบันทึกโดยท่านอิหม่าม อัลบัยฮากีย์ ในอัลกุบรอ เล่มที่ 4 หน้าที่ 56, ท่านค็อลลาล ก็ได้บันทึกไว้ใน อัลญาเมียะอ์, และลักละกาอีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือ คำอธิบายรากฐานการศรัทธาของอะห์ลิลซุนนะห์วัลญะมาอะห์ หน้าที่ 2174 นอกจากนี้ก็ยังมีตำราอีกหลายเล่มที่ได้คัดลอกฮะดีษบทนี้จากบันทึกที่ได้กล่าวมาแล้วไปอ้างต่อๆ กันอีกหลายทอด แต่ทั้งหมดล้วนแต่มีที่มาจากสายรายงานเดียวกันคือ จากมุบัชชิร บิน อิสมาอีล (อัลฮะละบีย์) จากอับดุลเราะห์มาน อิบนุลอะลาอ์ อิบนุ้ลลัจญ์ลาจญ์ ทั้งสิ้น

 จำนวนสายรายงานและจำนวนผู้รายงาน

                 แม้ฮะดีษบทนี้จะถูกนำไปบันทึกต่อๆ กันอีกหลายทอด ทำให้ดูเหมือนกับมีการรายงานจากหลายกระแส ซึ่งผู้รู้ในบ้านเราก็มักจะอ้างกับชาวบ้านว่า มีอยู่ในหนังสือเล่มนั้น,เล่มนี้ทำให้ดูสมจริงสมจังและมีน้ำหนักในการอ้างอิง  แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ฮะดีษบทนี้มีที่มาจากสายรายงานเดียวเท่านั้นคือจาก มุบัชิร บินอิสมาอีล อัลฮะละบีย์ นำมาจาก อับดุลเราะห์มาน อิบนิลอะลาอ์ อิบนิลลัจญ์ลาจญ์
                และจากการที่ถูกนำไปบันทึกต่อๆ กันไปในตำราหลายเล่มก็ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรองสถานะของฮะดีษ หรือทำให้สถานะของฮะดีษนั้นเปลี่ยนไป  เพราะหากฮะดีษบทใดมีความถูกต้อง (ศอเฮียะห์) แม้จะมีผู้รายงานเพียงคนเดียว, มีบันทึกในตำราเล่มเดียว หรือหลายเล่มก็ตาม มันก็ยังคงเป็นฮะดีษศอเฮียะห์ อยู่วันยังค่ำ ตัวอย่างเช่นฮะดีษที่ท่านอุมัรรายงานว่า

  
إنَّمَا الأعْمَالُ بِالنِيَات 
 
งานที่ดีทั้งหลายขึ้นอยู่กับเจตนา(บุคคอรี/หมวดที่1/บทที่1/ฮะดีษเลขที่1)
 

                ฮะดีษของท่านอุมัรบทนี้เป็นฮะดีษศอเฮียะห์ เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวิชาการทุกแขนงและทุกระดับ แม้จะมีผู้รายงานในระดับศอฮาบะห์เพียงคนเดียวคือ ท่านอุมัร อิบนุลค๊อตต๊อบ ก็ตาม แต่เป็นฮะดีษที่มีความถูกต้อง

                ในทางกลับกัน หากฮะดีษบทใดฏออีฟ (อ่อน) หรือเมาฏัวอ์ (เก้) แม้จะนำไปบันทึกอีกมากเท่าไหร่ ก็ไม่ได้ทำให้สถานะของฮะดีษบทนั้นกลายเป็นศอเฮียะห์ ไปได้ เพราะการตรวจสอบฮะดีษนั้น มิใช่การพิจารณาว่า ถูกนำไปบันทึกต่อๆกันในตำรากี่เล่ม แต่หลักเกณฑ์ในการพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องของฮะดีษก็คือ การตรวจสอบสายรายงาน, ตัวผู้รายงาน และเนื้อหาของฮะดีษ ดังนั้นเราจึงต้องติดตามกระบวนการตรวจสอบเพื่อให้ได้ทราบว่าฮะดีษวิพากษ์ ที่มีการรายงานมาเพียงสายเดียว นี้จะเป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่


 แหล่งที่มาของฮะดีษ

                 การศึกษาแหล่งที่มาของฮะดีษ ทำให้เราได้ทราบสถานะที่แท้จริงและการนำไปอ้างอิงเป็นหลักฐาน ซึ่งเรียงลำดับได้ดังนี้

                1 – ฮะดีษบทใดอ้างถึงท่านนบี จะถูกเรียกว่า ฮะดีษมัรฟัวอ์
                2 – ฮะดีษบทใดสืบไปถึงแค่ศอฮาบะห์ จะถูกเรียกว่า ฮะดีษเมากูฟ
                3 – ฮะดีษบทใดอ้างถึงคำพูดหรือการกระทำของตาบีอีน จะถูกเรียกว่า ฮะดีษมั๊กตัวอ์

                 สถานะของฮะดีษทั้งสามประเภทข้างต้นนี้จะลดหลั่นกันไป  ปัญหาของเราก็คือ ฮะดีษวิพากษ์นี้ อยู่ระดับไหน มีการอ้างถึงแหล่งที่มาเช่นไร และเมื่อได้สำรวจจากบันทึกต่างๆแล้วก็พบว่า การอ้างแหล่งที่มาของฮะดีษวิพากษ์นี้ยังสับสน เนื่องจากตัวบทที่นำมาแสดงข้างต้นจากบันทึกของ อัตฏอบรอนีย์ ได้อ้างคำรายงานจาก มุบัชชิร จากอับดุลเราะห์มาน อิบนุอะลาอ์ อิบนุ ลัจญ์ลาจญ์ ว่าได้ยินมาจากท่านนบีคือ

 
فإني سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول ذلك 

แท้จริงฉันเคยได้ยินท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้เช่นนั้น

                แต่ที่บันทึกโดย อัลค็อลลาล และในสุนันอัลบัยฮะกีย์ นั้นได้อ้างคำรายงานจาก มุบัชชิร จากอับดุลเราะห์มาน อิบนุอะลาอ์ อิบนุลัจญ์ลาจญ์  เช่นเดียวกันว่า ลัจญ์ลาจญ์ได้ยินมาจากศอฮาบะห์ที่ชื่อ อิบนุอุมัร ดังนี้

 حدثنا مبشر الحلبي حدثني عبد الرحمان بن العلاء بن اللجلاج عن أبيه قال قال أبي : إذا أنا مت فضعني في اللحد وقل بسم الله وعلى ملة سنة رسول الله صلى الله عليه وسلم وسن علي التراب سنا واقرأ عند رأسي بفاتحة البقرة وخاتمتها فإني سمعت عبد الله بن عمر يقول ذلك 
  
             
มุบัชชิร อัลฮะละบีย์ เล่าใหเราฟังว่า อับดุลเราะห์มาน อิบนุลอะลาอ์ อิบนุลลัจญ์ลาจญ์ จากพ่อของเขาว่า พ่อของฉันได้กล่าวว่า เมื่อฉันตายและวางศพฉันในลูกหลุมแล้วก็จงกล่าว บิสมิลลาฮิวะอะลามิ้ลละติรอซูลิ้ลลาฮิศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และกลบร่างฉันจนดินเสมอพื้นและจงอ่านทางด้านศรีษะของฉันด้วยตอนต้นและตอนท้ายของซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ เพราะแท้จริงฉันเคยได้ยินท่านอิบนิอุมัรกล่าวไว้เช่นนั้น

              อีกบทหนึ่งในบันทึกของอัลค็อลลาล เช่นเดียวกันรายงานว่า

 
سمعت ابن عمر يوصي بذلك 

ฉันเคยได้ยินอิบนุอุมัร สั่งเสียเรื่องนี้ไว้


                 นี่คือปมปัญหาที่เราต้องการบทสรุปว่า ลัจญ์ลาจญ์ ได้ฟังเรื่องนี้มาจากใครกันแน่ ระหว่างท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กับศอฮาบะห์ที่ชื่ออิบนุอุมัร หรือไม่ใช่ทั้งสองกรณี หรือเป็นแค่เพียงการแอบอ้างที่ท่านนบีและเหล่าศอฮาบะที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งเราจะไปติดตามในรายละเอียดกันต่อ แต่เราขอสรุปในประเด็นนี้ก่อนว่า แหล่งที่มาของฮะดีษบทนี้ยังสับสน ทั้งๆที่สายรายงานเดียวกัน และผู้รายงานคนเดียวกัน แต่คำรายงานกลับค้านกันเอง

 ผู้รายงานในระดับศอฮาบะห์

                 ในคำรายงานของฮะดีษวิพากษ์อ้างว่า ผู้รายงานในระดับศอฮาบะห์ชื่อ ลัจญ์ลาจญ์ ซึ่งชื่อนี้อาจจะไม่คุ้นหูสำหรับคนทั่วไปเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเราต้องการศึกษาในรายละเอียดก็จำเป็นที่เราจะต้องทราบประวัติของผู้รายงานในแต่ละระดับเพื่อจะได้รู้สภาพและสถานะของฮะดีษ และการจะกล่าวถึงศอฮาบะห์ที่ชื่อ ลัจญ์ลาจญ์ ต่อไปนี้ ไม่ใช่เป็นการตำหนิศอฮาบะห์ของท่านรอซูล แต่เพื่อให้ได้ทราบว่า มีการอ้างเท็จต่อศอฮาบะห์ของท่านรอซูลหรือไม่ ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาต่อเหล่าศอฮาบะห์ของท่านรอซูลด้วยเถิด
                บรรดานักวิชาการพยายามสืบค้นประวัติความเป็นมาของ ลัจญ์ลาจญ์  แต่ก็มีความเห็นที่แย้งกัน บางท่านกล่าวว่า เขาคือ ลัจญ์ลาจญ์ อัลฆอตฟานีย์  เป็นพ่อของ อัลอะลาอ์ อัลฆอตฟานีย์ โดยอบูลอับบาส อัสซิรอต และอัลคอตีบ ได้กล่าววว่า ลัจญ์ลาจญ์ มีอายุ 120 ปี โดยใช้ชีวิตอยู่ในสมัยญาฮิลียะห์ 50 ปี และในสมัยของอิสลาม 70 ปี แต่อัลอัสกะรีย์ ได้ให้ข้อมูลในทางตรงกันข้ามโดยกล่าวว่า เขามารับอิสลามตอนอายุ 70 ปี และใช้ชีวิตหลังจากนั้นอีก 50 ปี
                แต่นักวิชาการอีกส่วนหนึ่งระบุว่า เขาคือ ลัจญ์ลาจญ์ อัลอามีรีย์ เป็นพ่อของคอลิด โดยอิบนุซุมัยเยียะอ์ กล่าวว่า เขาเคยเป็นเด็กรับใช้ของ บนีซะฮ์เราะห์ ก่อนมารับอิสลาม เสียชีวิตที่ดิมัชก์
                ข้อมูลที่เราได้รับในส่วนนี้ทำให้ดูเหมือนว่า ลัจญ์ลาจญ์ อัลฆอตฟานีย์ กับ ลัจญ์ลาจญ์ อัลอามีรีย์ เป็นคนละคนกัน แต่ท่านยะห์ยา อิบนุมุอีน ยืนยันว่า ลัจญ์ลาจญ์ ผู้เป็นพ่อของอัลอะลาอ์ กับลัจญ์ลาจญ์ ผู้เป็นพ่อของคอลิด เป็นคนเดียวกัน ถ้าเช่นนั้น ลัจญ์ลาจญ์  เป็นศอฮาบะห์ของท่านรอซูลตอนอายุเท่าไหร่กันแน่ บางท่านว่าตอนอายุ 50 ปี หรือ 70 ปี หรือบางท่านว่าตอนที่ยังเยาว์วัย นี่เป็นอีกหนึ่งปมปัญหาที่เราต้องการทราบข้อเท็จจริง ซึ่งเรื่องนี้ท่านอิบนุฮะญัร ได้ให้คำตอบว่า ที่มีน้ำหนักมากที่สุดก็คือคำพูดของ อิบนุซุมัยเยียะอ์ ที่ยืนยันว่า เขาคือ ลัจญ์ลาจญ์ อัลอามีรีย์ ซึ่งในยุคของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม นั้นเขายังอยู่ในวัยเด็ก (ดูอัลอิศอบะห์ ฟีตัมยีซิสศอฮาบะห์ ลำดับที่ 7542)
                นอกจากนั้นยังมีประเด็นที่น่าติดตามอีกก็คือ  ลัจญ์ลาจญ์ ผู้นี้เป็นคนระดับศอฮาบะห์หรือเป็นคนระดับตาบีอีน หมายถึงเขาได้ทันพบกับท่านนบีหรือไม่ ซึ่งท่านอิบนุฮิบบาน ได้กล่าวถึงเรื่องราวของ ลัจญ์ลาจญ์ไว้ใน “ซิกก๊อต อัตตาบีอีน” (ผู้รายงานในระดับตาบีอีนที่มีความน่าเชื่อถือ) ว่า เขาเป็นเพื่อนกับ มุอาซ บินญะบัล แต่ก็ไม่ได้แจ้งรายละเอียดมากมาย แต่จากประวัติของมุอาซ บินญะบัล นั้นเราทราบว่า มุอาซเป็นศอฮาบะห์ รุ่นหนุ่มในยุคของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวของซุนนะห์ให้แก่ลัจญ์ลาจญ์อีกทอดหนึ่ง และในแวดวงของนักวิชาการฮะดีษนั้นต่างก็ยอมรับกันว่า แม้ลัจญ์ลาจญ์จะยังเป็นเด็กที่เยาว์วัยในยุคของท่านนบี แต่ก็ทันได้พบกับท่านบี ดังนั้นจึงถือว่า ลัจญ์ลาจญ์ เป็นศอฮาบะห์ด้วย
                ปัญหาที่เราต้องทำความเข้าใจต่อไปก็คือ คำรายงานที่อ้างว่าศอฮาบะห์รุ่นเยาว์ที่ชื่อลัจญ์ลาจญ์ผู้นี้ เคยได้ยินฮะดีษบทนี้มาจากท่านนบีนั้น หมายถึงได้ยินจากการที่ท่านนบีบอกกับลัจญ์ลาจญ์โดยตรง หรือได้ยินจากการที่ท่านนบีบอกกับศอฮาบะห์ท่านอื่นๆ แล้วลัจญ์ลาจญ์ก็อยู่ ณ.ที่นั้นแล้วได้ยินเรื่องนี้มาด้วย

                 ประการที่หนึ่ง

                จากคำรายงานที่อ้างว่า ลัจญ์ลาจญ์ได้ยินเรื่องนี้จากท่านนบีนั้น หากหมายถึง ลัจญ์ลาจญ์ได้ยินด้วยตัวเองจากการที่ท่านนบีได้สั่งกับลัจญ์ลาจญ์โดยตรง ก็เท่ากับท่านนบีได้สั่งข้อบัญญัติของศาสนาเรื่องนี้ไว้กับศอฮาบะห์ที่ยังเด็ก ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ  ซึ่งจากคำยืนยันของ อิบนุซุมัยเยียะอ์ และจากการยอมรับของอิบนุฮะญัรว่า ในยุคของท่านนบีนั้น ลัจญ์ลาจญ์ยังเป็นเด็ก
จะเป็นไปได้หรือที่ท่านนบีสั่งข้อบัญญัติไว้แก่เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ ทั้งๆที่ยังมีศอฮาบะห์ผู้ใหญ่หรือศอฮาบะห์อวุโสอยู่อีกหลายท่าน

                ที่จริงแล้วคำรายงานของเด็กนั้นก็รับฟังได้ตามศาสตร์ของฮะดีษ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีรายงานที่ศอเฮียะห์ในเรื่องเดียวกันมายืนยัน หรือเด็กนั้นบรรลุศาสนภาวะแล้วและได้ยืนยันคำรายงานของเขาในวัยเด็ก อย่างนี้จึงจะเป็นที่ยอมรับ แต่ประเด็นที่เรากำลังวิพากษ์อยู่นี้คือ สภาพของการเกิดฮะดีษจากคำรายงานที่ว่า ฉันได้ยินจากท่านนบี ซึ่งหมายถึงคำสั่งการของท่านนบีในเรื่องข้อบัญญัติแก่เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ เช่นนี้หรือ

                และการอ้างว่า ลัจญ์ลาจญ์ได้ทราบข้อบัญญัติเรื่องนี้จากการที่ท่านนบีสั่งแก่ลัจญ์ลาจญ์โดยตรงนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากสำนวนคำรายงานที่ว่า ฉันเคยได้ยินจากท่านนบี  ไม่ใช่เป็นสำนวนคำรายงานจากการสนทนาโดยตรง  เพราะหากเป็นการสนทนาหรือเป็นการสั่งจากท่านนบีโดยตรงแล้ว คำรายงานจะต้องกล่าวว่า ท่านนบีได้กล่าวกับฉัน, ท่านนบีได้บอกกับฉัน หรือ ท่านนบีได้สั่งกับฉัน  หรือ พวกเรา (เหล่าศอฮาบะห์) ถูกใช้  อย่างนี้เป็นต้น ดังนั้นคำว่า ฉันได้ยินเรื่องนี้จากท่านนบี จึงไม่ได้หมายถึง การได้ยินจากการที่ท่านนบีสนทนากับลัจญ์ลาจญ์โดยตรง แต่หมายถึงการได้ยินในขณะที่ท่านนบีสนทนาหรือสั่งการกับศอฮาบะห์อวุโสท่านอื่นๆ

                 ประการที่สอง

                 หากคำว่า ฉันได้ยินเรื่องนี้จากท่านนบี หมายถึงลัจญ์ลาจญ์ได้ยินขณะที่ท่านนบีสนทนาหรือสั่งการกับศอฮาบะห์อวุโสท่านอื่น และลัจญ์ลาจญ์ก็อยู่ในเหตุการณ์และได้ยินคำสนทนาหรือคำสั่งของท่านนบีด้วย ประเด็นนี้ก็ยังมีข้อกังขาว่า ทำไมศอฮาบะห์ผู้ใหญ่หรือศอฮาบะห์อวุโสท่านอื่นๆที่ฟังข้อบัญญัติจากท่านนบีแล้วไม่ถ่ายทอดต่อ ซึ่งผิดปกติวัสัยของเหล่าศอฮาบะห์ที่ทำหน้าที่เผยแผ่ซุนนะห์ของท่านนบีเป็นอย่างมาก  เพราะไม่มีคำรายงานอื่นที่ศอเฮียะห์มายืนยันในเรื่องข้อบัญญัตินี้เลย  ซึ่งเราได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า ฮะดีษวิพากษ์นี้เป็นฮะดีษที่มีเพียงรายงานสายเดียวคือ จากมุบัชิร จากอับดุลเราะห์อิบนิลอะลาอ์ จากลัจญ์ลาจญ์ เท่านั้น
                แต่หากจะมีการอ้างว่า คำรายงานของท่านอุมัรที่ว่า งานที่ดีทั้งหลายขึ้นอยู่กับเจตนา ก็เป็นฮะดีษที่ท่านอุมัรรายงานเพียงคนเดียวเหมือนกัน และใช้คำรายงานว่า ฉันเคยได้ยินท่านนบี  เช่นเดียวกัน ทำไมถึงเป็นที่ยอมรับ ซึ่งข้อเท็จจริงของเรื่องนี้คือ

 
عَنْ عُمَرَ بْن الخَطَّابِ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ – عَلى المِنْبَرِ يَقُوْلُ سَمِعْتُ رَسُوْلَ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ يَقُوْلُ

   
            
จากอุมัร อิบนุลค๊อต๊อบ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวขณะอยู่บนมิมบัรว่า ฉันเคยได้ยินท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า..

                 ที่จริงแล้วคำรายงานของศอฮาบะห์ทั้งสองท่านนี้ คือ ท่านอุมัร และท่านลัจญ์ลาจญ์ นั้นมีความแตกต่างกันทั้งตัวผู้รายงานในระดับศอฮาบะห์เอง และคำที่รายงาน
                ในด้านตัวผู้รายงานนั้นเราทราบกันเป็นอย่างดีว่า ท่านอุมัรอิบนุ้ลค๊อตต๊อบ เป็นศอฮาบะห์อวุโสและเป็นคอลีฟะห์ มิใช่เป็นศอฮาบะห์เด็กเหมือนท่านลัจญ์ลาจญ์  ดังนั้นคำรายงานของท่านอุมัรที่ว่า  سَمِعْتُ....يَقُوْلُ    ซึ่งหมายถึงได้ยินด้วยตัวเองมิใช่เป็นการฟังต่อกันมา และได้ยินจากท่านนบีในขณะที่ท่านนบีกล่าวเรื่องนี้ไว้

                อาจจะมีผู้แย้งว่า ผู้ที่ได้ยินร่วมกับอุมัรมีใครบ้าง เราขอชี้แจงว่า ไม่มีความจำเป็นใดเลยๆ ที่จะต้องหาผู้อื่นมายืนยันด้วย เพราะสถานะของท่านอุมัรนั้นเพียงพอแก่การยอมรับแล้ว และไม่แปลกที่ท่านนบีจะสนทนาหรือสั่งการใดๆ กับท่านอุมัร แต่เป็นเรื่องแปลกหากจะกล่าวว่า ท่านนบีสั่งการในเรื่องข้อบัญญัติกับลัจญ์ลาจญ์ ซึ่งเป็นเด็กที่ยังไม่บรรลุศาสภาวะ  และที่สำคัญก็คือ สายรายงานและผู้รายงานต่อจากท่านอุมัรทั้งหมดล้วนแต่อยู่ในสถานะศอเฮียะห์ ต่างจากสายรายงานและผู้ที่รายงานต่อจากลัจญ์ลาจญ์ ที่อยู่ในสถานะฏออีฟ ซึ่งจะได้นำมากล่าวในประเด็นถัดไป อินชาอัลลอฮ์

                 
สายรายงานจากลัจญ์ลาจญ์ (ครูและศิษย์)

                 ลัจญ์ลาจญ์ เป็นศอฮาบะห์รุ่นเยาว์ที่ได้รับความรู้จากครูที่เป็นศอฮาบะห์รุ่นหมุ่มชื่อ มุอาซ บินญะบัล ดังนั้นในสาระบบประวัติผู้รายงานฮะดีษจึงระบุว่า มุอาซ บินญะบัล เป็นครูของลัจญ์ลาจญ์  และบรรดาศิษย์ที่ถ่ายทอดความรู้จากลัจญ์ลาจญ์ ก็คือลูกชายของท่านชื่อ คอลิด อิบนุลลัจญ์ลาจญ์ ซึ่งเป็นตาบีอีนอวุโส และ อบูลวัรด์ อิบนุซุมามะห์ ดังนั้นสายรายงานของลัจญ์ลาจญ์ที่อ้างถึงครูและศิษย์ตามที่ปรากฏในตำราบันทึกฮะดีษมีดังนี้

                1 - สายรายงานของลัจญ์ลาจญ์ในสุนัน อัตติรมีซีย์ และมุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด
 
عَنْ خَالِدِ بْنِ اللَّجْلاَجِ عَنْ أَبِيْهِ عَنِ النَّبِيِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ
 จากคอลิด อิบนุลัจญ์ลาจญ์ จากพ่อของเขา (ลัจญ์ลาจญ์) จากท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม


                 2 – สายรายงานของลัจญ์ลาจญ์ในสุนัน อบีดาวู๊ด และมุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด

 عَنْ أَبِي الوَرْدِ عَنِ اللَجْلاَجِ عَنْ مُعَاذِ بْنِ جَبَلٍ عَنِ النَّبِىِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ 
จากอบีลวัรด์ จากลัจญ์ลาจญ์ จากมุอาซบินญะบัล จากท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม

                 เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทำไมสาระบบผู้รายงานฮะดีษจึงไม่จัดว่า ท่านอิบนุ อุมัร เป็นหนึ่งในบรรดาครูของลัจญ์ลาจญ์ด้วย เพราะตามการอ้างของฮะดีษวิพากษ์นี้ ในอัลญาเมียะอ์ ของท่านค็อลลาล หรือสุนัน อัลบัยฮากีย์ แจ้งว่า ลัจญ์ลาจญ์ได้ยินมาจาก ท่านอิบนุอุมัร หรือได้รับคำสั่งเสียจากอิบนิอุมัร แต่เรากลับพบข้อเท็จจริงว่า ในสาระบบบรรดาศิษย์ของอิบนุอุมัรคือ อัลอะลาอ์ อิบนุลัจญ์ลาจญ์ ผู้เป็นบุตรชายของลัจญ์ลาจญ์ ไม่ใช่ตัวของลัจญ์ลาจญ์เอง

                จากหนังสือ อัตตารีค – อัลกะบีร ระบุว่า

 العلاء بن الجلاج سمع عبد الله بن عمر رضى الله عنهما سمع منه إبنه عبد الرحمن وقال داود بن رشيد حدثنا عمر بن حفص بن عمر بن ثابت عن أبيه عن العلاء بن اللجلاج عن بن عمر هو أخو خالد العامري 

อัลอะลาอ์ อิบนุลลัจญ์ลาจญ์ ได้ฟังจาก อับดุลลอฮ์ อิบนุอุมัร ขออัลลอฮ์ทรงพอพระทัยแก่ทั้งสองด้วย (ท่านอับดุลอฮ์ และท่านอุมัร) และบุตรชายของอัลอะลาอ์คือ อับดุลเราะห์มานก็ได้ฟังจากอิบนุอุมัร ด้วยเช่นเดียวกัน, ดาวูด บินรุซัยด์ กล่าวว่า อุมัร บินฮัฟช์ บินอุมัร บินซาบิต เล่าให้เราฟังจากพ่อของเขา จากอัลอะลาอ์ อิบนุลลัจญ์ลาจญ์ จากอิบนิอุมัร เขา (อัลอะลาอ์) เป็นน้องชายของ คอลิด อัลอามิรีย์ (อัตตารีค อัลกะบีร หน้าที่ 272 ลำดับที่ 3137)

                 ดังนั้นสภาพของสายรายงานที่ควรจะเป็นคือ อัลอะลาอ์ ฟังจากอิบนุอุมัร หรือ อับดุลเราะห์มาน บุตรของอัลอะลาอ์ ฟังจากอิบนุอุมัร ไม่ใช่ลัจญ์ลาจญ์ฟังจากอิบนุอุมัร ซึ่งท่านอิหม่ามอัตติรมีซีย์ ได้ระบุสายรายงานนี้ไว้ในบันทึกของท่านว่า
 
حَدَّثَنَا مُبَشِّرُ بْنُ إسْمَاعِيْلَ الحَلَبِيُّ عَنْ عَبْدِ الرَّحْمنِ بْنِ العَلاَءِ عَنْ أبِيْهِ عَن إبْنِ عُمَرَ
 
มุบัชชิร อิบนุ อิสมาอีล อัลฮะละบีย์ ได้เล่าให้เราฟัง จากอับดุลเราะห์มาน อิบนุลอะลาอ์ จากพ่อของเขา (อัลอะลาอ์) จากอิบนิอุมัร  (สุนันอัตติรมีซีย์ สายรายงานฮะดีษลำดับที่ 901) 

                ฉะนั้นสายรายงานของฮะดีษวิพากษ์ที่ว่า  ลัจญ์ลาจญ์ได้ยินจาก อิบนุอุมัร นั้นจึงไม่ใช่สายรายงานที่มีความถูกต้อง

 ผู้รายงานในระดับตาบีอีน

                ในสายรายงานของฮะดีษวิพากษ์นี้ระบุว่า อัลอะลาอ์ ได้ฟังจากผู้เป็นพ่อที่ชื่อ ลัจญ์ลาจญ์ แต่ในสาระบบผู้รายงานฮะดีษไม่ได้จัดให้ อัลอะลาอ์ เป็นหนึ่งในบรรดาศิษย์ของ ลัจญ์ลาจญ์ ทั้งที่ อัลอะลาอ์ เองก็เป็นน้องชายของคอลิด บุตรของลัจญ์ลาจญ์ เช่นเดียวกัน ซึ่งสองพี่น้องที่เป็นบุตรของลัจญ์ลาจญ์นี้มีสภาพที่แตกต่างกันคือ
               ผู้เป็นพี่ชายคือ คอลิด อิบนุลลัจญ์ลาจญ์ มีสร้อยว่า อบูอิบรอฮีม เป็นตาบีอีนอวุโส ที่ได้รับความเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของบรรดานักวิชาการฮะดีษ
               แต่ผู้เป็นน้องชายคือ อัลอะลาอ์ อิบนุลลัจญ์ลาจญ์ (สายรายงานฮะดีษวิพากษ์นี้) กลับเป็นบุคคลที่บรรดานักวิชาการฮะดีษไม่สามารถสืบค้นประวัติเพื่อแจ้งสถานะได้ เช่นท่านอิหม่าม อัตติรมีซีย์ ได้ถามอบูซุรอะห์ว่า
 
مَنْ عَبْدُ الرَحْمنِ بْنُ العَلاءِ فَقَالَ هُوَ العَلاَءُ بْنُ اللَجْلاَجِ وَإنَّمَا عَرَّفَهُ مِنْ هَذاَ الوَجْهِ 

ใครคืออับดุลเราะห์มาน อิบนุลอะลาอ์ เขาตอบว่า เขาคือ อัลอะลาอ์ อิบนุลลัจญ์ลาจญ์ อันที่จริงแล้วเรื่องราวของเขาได้ถูกตีแผ่ก็จากสายรายงานนี้แหละ สุนันอัตติรมีซีย์ คำอธิบายท้ายฮะดีษเลขที่ 901

                 อันที่จริงแล้ว อิหม่ามติรมีซีย์ได้ถามถึง อับดุลเราะห์มาน อิบนุลอะลาอ์ แต่อบูซุรอะห์ ไม่ได้ให้คำตอบในประเด็นนี้ แต่กลับพูดถึงผู้พ่อที่ชื่ออะลาอ์ อิบนุลลาจญ์ลาจญ์ว่า เรื่องราวของเขาไม่เป็นที่รู้จักกันมาก่อนและไม่พบในสายรายงานอื่นนอกจากสายรายงานนี้เท่านั้น
                ส่วนอับดุลเราะห์มาน ผู้เป็นบุตรของอัลอะลาอ์ ก็เช่นเดียวกัน บรรดานักวิชาการฮะดีษพยายามสืบค้นประวัติของเขาเพื่อจะได้ทราบถึงสภาพการรายงานฮะดีษของเขา แต่ปรากฏว่า เขาไม่เป็นที่รู้จัก ซึ่งเรื่องนี้ท่านฮาฟิซ อัสซะฮะบีย์ ได้กล่าวว่า
 
عبد الرحمان بن العلاء بن اللجلاج شامي عن أبيه ما روي عنه سوى مبشر بن إسماعيل الحلبي 

อับดุลเราะห์มาน อิบนุลอะลาอ์ อิบนุลลัจญ์ลาจญ์ รายงานจากพ่อของเขา (อะลาอ์) ไม่มีผู้ใดรับรายงานจากเขาเลยนอกจาก มุบัชชิร บินอิสมาอีล อัลฮะละบีย์ เท่านั้น มีซานุ้ลเอียะอ์ติดาล เล่มที่ 2 หน้าที่ 579 ลำดับที่ 4925

                 เราพยายามสืบค้นประวัติผู้รายงานของพ่อลูกคู่นี้คือ อับดุลเราะห์มาน และอะลาอ์ แต่ปรากฏว่า บรรดานักวิชาการฮะดีษเองก็ไม่สามารถแจ้งรายละเอียดได้มากนัก โดยเฉพาะผู้เป็นลูกที่ชื่ออับดุลเราะห์มานนั้น เป็นบุคคลที่ไม่มีใครทราบประวัติของเขาและไม่สามารถแจ้งสถานภาพของเขาได้ ซึ่งในแวดวงของนักวิชาการฮะดีษจะเรียกนักรายงานในกลุ่มนี้ว่า “มัจญ์ฮูล” ซึ่งมีผลทำให้สภาพการรายงานของเขาเป็นฏออีฟ
 


บทสรุปของฮะดีษวิพากษ์

                1 – เป็นฮะดีษที่มีการรายงานมาเพียงสายเดียว โดยไม่มีฮะดีษศอเฮียะห์ในเรื่องเดียวกันนี้มาสนับสนุน

                2 – แหล่งที่มาของฮะดีษนี้ยังสับสนคือบทหนึ่งอ้างถึงนบี อีกบทหนึ่งอ้างถึงศอฮาบะห์ ทั้งที่เป็นสายรายงานเดียวกันคือ จากมุบัชชิร บินอิสมาอีล อัลฮะละบีย์ จากอับดุลเราะห์มาน อิบนิลอะลาอ์ อิบนิลลัจญ์ลาจญ์

                3 – อ้างว่าลัจญ์ลาจญ์ได้ข้อบัญญัตินี้จากท่านนบีในขณะที่ยังเยาว์วัย แต่ไม่มีคำรายงานจากศอฮาบะห์อวุโสมายืนยัน หรือแม้แต่ท่านมุอาซ บินญะบัล ซึ่งเป็นครูของลัจญ์ลาจญ์ ก็ไม่ได้รายงานเรื่องนี้ไว้

                4 – อ้างสายรายงานไม่ถูกต้องคืออ้างว่า ลัจญ์ลาจญ์ ได้ยินจากอิบนิอุมัร แต่สายรายงานที่ถูกต้องคือ อัลอะลาอ์ ฟังจาก อิบนิอุมัร หรือ อับดุลเราะห์มาน ฟังจากอิบนิอุมัร



                5 – มีผู้รายงานที่ฏออีฟคือ อับดุลเราะห์มาน อิบนิลอะลาอ์ ซึ่งเขาเป็นคน “มัจญ์ฮูล





  








สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2008-03-26 (6170 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]