หลายต่อหลายครั้งที่เราเผยให้เห็นถึงการโกหก และการบิดเบือนของลัทธิชีอะห์อิหม่ามสิบสอง แต่ดูเหมือนพวกเขาจะไม่รู้สึกสะทกสะท้าน และยังแสดงความโกหกปลิ้นปล้อนกันต่อไปอย่างสนุกสนาน ทั้งนี้เนื่องจากเรื่อง “ตะกียะห์” (การอำพราง) ถือเป็นหลักในศาสนาของพวกเขา ยิ่งโกหกหลอกล่อฝ่ายตรงข้ามได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งได้บุญมากเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พวกเขาโกหกจนติดเป็นนิสัย และไม่รู้สึกกระดากอาย
พี่น้องซุนนะห์ท่านหนึ่งได้เซฟข้อความส่งมาให้ผมตรวจสอบ ซึ่งเป็นข้อความที่เหล่าชีอะห์อิหม่ามสิบสองโพ้สไว้ในเว็บมุสลิมไทย ซึ่งปรากฏข้อความดังนี้
قاَلَ حَدَّثَناَ سَلْمُ الْخَوَّاصُ هُوَ ابْنُ مَيْمُونٍ عَنْ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ هُوَ الصَّادِقُ عَنْ أَبِيْهِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيٍّ عَنْ أَبِيهِ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ عَنْ أَبِيهِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِىٍّ عَنْ أَبِيهِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قاَلَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ السَّابِقُونَ إِلَى ظِلِّ الْعَرْشِ يَوْمَ الْقِياَمَةِ طُوْبَى لَهُمْ قِيْلَ ياَ رَسُوْلَ اللهِ وَمَنْ هُمْ قاَلَ هُمْ شِيْعَتُكَ يَا عَلِيُّ وَمُحِبُّوْكَ
الكتاب : الأمالي المطلقة ج 1 ص 202 المؤلف : أحمد بن حجر العسقلانيالناشر : المكتب الإسلامي – بيروت الطبعة الأولى ، 1416 - 1995تحقيق : حمدي عبد المجيد السلفي عدد الأجزاء 1
สัลมุ อัลเคาว๊าศ เขาคืออิบนุมัยมูน ได้เล่าให้เราฟัง จากญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด เขาคืออัศ-ศอดิก จากบิดาเขาคือ มุฮัมมัด บินอะลี จากบิดาเขาคือ อะลี บินอัลฮูเซน จากบิดาเขาคือ อัลฮูเซน บินอะลี จากบิดาเขาคือ ท่านอะลี บินอบีตอลิบ ร่อดิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ) กล่าวว่า : กลุ่มแนวหน้าที่จะไปถึงยังร่มเงาแห่งอารัชในวันกิยามะฮ์(ก่อนใครๆ) ฏูบา สำหรับพวกเขา (วันกิยามะฮ์) มีคนถามว่า : โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์ และพวกเขาเป็นใครครับ ? ท่านตอบว่า : พวกเขาคือ ชีอะฮ์ของท่าน โอ้อะลีเอ๋ย และคือบรรดาผู้ที่รักท่าน
สถานะหะดีษ ฮาซัน
ดูหนังสืออัลอะมาลี อัลมุฏละเกาะฮ์ โดยอิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานี (ฮ.ศ.) เล่ม 1 หน้า 202
อธิบาย : ฏูบา (طوبى) หมายถึง ความรอด ความปลอดภัย ส่วนอีกความหมายหนึ่ง คือ ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ในหะดีษนี้ท่านนบี (ศ)กล่าวว่า หมายถึง เข้าสวรรค์
.............................................................................................
พี่น้องที่ส่งข้อความมาให้ตรวจสอบรายนี้ได้ถามทิ้งท้ายว่า “มันจริงตามที่เขาว่าหรือเปล่าอาจารย์”
ผมตอบคำถามนี้ว่า “ข้อความทั้งหมดโกหก,หมกเม็ด,กล่าวเท็จต่อท่านนบี ศ็อลล็ลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม” ซึ่งจะได้ชี้แจงรายระเอียดให้เห็นลำดับต่อไป
แต่ก่อนอื่น ขอให้ข้อสังเกตเบื้องต้นกับพี่น้องที่ไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยตัวเองดังนี้
ประการที่หนึ่ง
หากท่านพบข้อความใดที่ชีอะห์เสนอ แล้วอ้างว่านำมาจากตำราของชาวซุนนะห์ ขอให้ท่านทบทวนว่า ชาวซุนนะห์โดยเฉพาะเจ้าของตำรา เขาเชื่อตามข้อความที่เขานำมาระบุไว้หรือเปล่า หากเขาเชื่อตามนั้น เพราะเหตุใดเขาจึงไม่เปลี่ยนไปเป็นชีอะห์
ประการที่สอง
การนำเสนอของเขา ต้องการสื่อเรื่องใด และประเด็นใด โดยพิจารณาจากหัวข้อที่เขาตั้งไว้ หรือเจ้าของตำราได้เอาข้อความมาระบุไว้เฉยๆ โดยไม่วิจารณ์ใดๆ เลย หรือเขาต้องการนำมาเปรียบเทียบ หรือเพื่อต้องการตีแผ่ข้อเท็จจริงให้ทราบ หากเป็นกรณีหลังนี้ เราจะพบข้อความที่ชี้แจงข้อเท็จจริงในตำราเล่มดังกล่าวด้วย
ข้อสังเกตทั้งสองประการข้างต้นนี้ คือสิ่งที่ชีอะห์พยายามกลบเกลื่อน โดยไม่กล่าวถึง มิเช่นนั้นแล้วเขาจะเป็นนักโกหกมืออาชีพได้อย่างไร
วิจารณ์การนำเสนอแบบหมกเม็ดของชีอะห์
ชีอะห์ได้กล่าวว่า นำข้อความนี้มาจากหนังสือ “อัลอะมาลี อัลมุฏละเกาะฮ์ โดยอิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานี” ซึ่งท่านอิบนุฮะญัร นั้นเป็นชาวซุนนี อย่างชัดเจนโดยเปิดเผย และข้อความที่ระไว้ในหนังสือของท่านก็มีคำวิจารณ์ต่อท้าย ไม่ใช่นำมากล่าวไว้ลอยๆ เหมือนดังที่ชีอะห์นำมาแสดง ท่านสามารถพิสูจน์ได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้
เมื่อท่านได้เปิดหน้าของหนังสือเล่มนี้ตามลิงค์ที่ให้ไว้แล้ว ให้ท่านเลื่อนลงมาที่ลำดับ 202/1 ท่านจะได้พบข้อความภาษาอาหรับที่ชีอะห์นำมาแสดง และท่านจะได้เห็นข้อความในบรรทัดต่อมาดังนี้
قال السكري هذا حديث غريب من حديث سلم الخواص وهو قليل الحديث جدا عزيز من حديث ذي النون تفرد به رضوان بن محمد إن ثبت عنه
قلت الخواص ضعيف الحديث
قال أبو حاتم لا يكتب حديثه
وقال العقيلي له مناكير لا يتابع عليها
وقال ابن حبان شغله الصلاح عن تحفظ الحديث حتى كثر المناكير في روايته
قلت والمتهم بهذا الحديث غيره فإن الملطي رماه الدارقطني بالكذب
“อัสซูกะรีย์ กล่าวว่า นี่คือฮะดีษที่มีผู้รายงานเพียงคนเดียว คือเป็นฮะดีษของ สัลมุ อัลเคาวาศ ซึ่งเขารายงานฮะดีษจำนวนน้อยมาก แต่ก็มีฮะดีษที่รายงานคู่กันมากับเขาด้วยคือฮะดีษเกี่ยวกับ ซิลนูน (นบียูนุส) ซึ่ง ริดวาน บินมูฮัมหมัด รายงานมาเพียงคนเดียวเช่นกัน หากยืนยันการรายงานของเขา
ฉันขอกล่าวว่า อัลเคาวาศ นั้นฏออีฟ
อบูฮาติม กล่าวว่า อย่าได้บันทึกฮะดีษของเขา
และอุกอยลีย์ กล่าวว่า เขารายงานฮะดีษมุงกัรหลายบทโดยไม่มีรายงานอื่นมาสำทับ
อิบนุฮิบบาน กล่าวว่า บทบาทของเขาคือการอะลุ้มอล่วยเกี่ยวกับการท่องจำฮะดีษจนกระทั่งมีฮะดีษมุงกัรหลายบทจากการรายงานของเขา
ฉันขอกล่าวว่า มันคือฮะดีษอุปโลกน์โดยคนอื่นอีก แท้จริง อัลมุลฏีย์ นั้น อัลดารุกุฏนีย์ ได้ให้ข้อหาแก่เขาว่า โกหก”
คำวิจารณ์ต่อท้ายที่แสดงข้างต้นนี้คือสิ่งที่ชีอะห์ปกปิดไว้ไม่ยอมนำเสนอประกอบด้วย พวกเขาใช้วิธีตัดทอนเฉพาะข้อความที่ต้องการใช้แอบอ้างเท่านั้น วิธีการเยี่ยงนี้ถือว่าขาดอะมานะห์ทางวิชาการอย่างร้ายแรง
วิจารณ์ผู้รายงาน
นอกจากชีอะห์จะได้วิธีการนำเสนอแบบหมกเม็ด โดยตัดตอนคำวิจารณ์ท้ายตัวบทออก แล้วนำเอาคำวิจารณ์สถานผู้รายงานของตนเองมาสวมแทน ซึ่งไล่ตั้งแต่ท่านอาลี เรื่อยไปจนถึงท่านญะอ์ฟัร อัศศอดิก ซึ่งชีอะห์แสดงความภูมิใจว่า ในบรรดาสายรายงานนี้ล้วนเป็นอิหม่ามของพวกเขาทั้งสิ้น แต่เมื่อถึงผู้รายงานที่ชื่อ สัลมุ อัลเคาว๊าศ ชีอะห์ ก็วิจารณ์ด้วยการหมดเม็ดเช่นเดิมว่า
สัลมุ อัลเคาว๊าศ
ชื่อของเขามีกล่าวไว้หลายชื่อเช่น
สิลมุ บิน มันศูร อัลเคาว๊าซ อัลรอซี ( سلم بن منصور الخواص الرازي )
สัลมุ บินมัยมูน อัลเคาว๊าซ ชาวเมืองช่าม ( سلم بن ميمون الخواص شامي)
สาลิม บินมัยมูน อัลเคาว๊าซ ( سَالِمُ بْنُ مَيْمُونٍ الْخَوَّاصُ )
سلم بن ميمون الرّازي الزّاهد، أهل الشام، كبير الصّوفيّةالوافي بالوفيات للصلاح الصفدي- ج 4 / ص 398
สัลมุ บินมัยมูน อัลรอซี ผู้สมถะชาวเมืองช่าม ผู้ยิ่งใหญ่ของพวกซูฟี
สรุป – (ชีอะห์สรุปด้วยความเห็นของเขาเอง)
"เมื่อได้พิจารณาสถานะของนักรายงานหะดีษบทนี้คือ
1. สัลมุ บินมัยมูน อัลเคาวาซ
2. อิม่ามญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด อัศ-ศอดิก
3. อิม่ามมุฮัมมัด บินอะลี อัลบาเก็ร
4. อิม่ามอะลี บินอัลฮูเซน ซัยนุลอาบิดิน
5. อิม่ามฮูเซน บินอะลี
6. อิม่ามอมีรุลมุอ์มินีน อะลี บินอบีตอลิบ
จะเห็นได้ว่า นักรายงานคนแรกคือสัลมุ บินมัยมูนนั้น เป็นหัวหน้าพวกซูฟี นักวิชาการได้วิจารณ์ว่า เขาไม่อยู่ในระดับที่เชื่อถือได้ ส่วนนักรายงานอีกห้าท่านนั้นเป็นอะฮ์ลุลบัยต์นบี และเป็นอิหม่ามผู้นำในยุคของพวกเขาที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชาติมุสลิมถึงความน่าเชื่อถือทางวิชาการของพวกเขาทุกคน"
ข้อความที่ชีอะห์แสดงนี้ มีเพียงคำพูดสั้นๆ ที่แสดงสถานภาพของผู้รายงานที่ชื่อ สัลมุ บินมัยมูน คือคำพูดที่ว่า “นักวิชาการได้วิจารณ์ว่า เขาไม่อยู่ในระดับที่เชื่อถือได้” แม้ชีอะห์จะพยามปิดบังคำวิจารณ์ของท่าน อิบนุฮะญัร ไว้ตามที่เสนอข้างต้นแล้วก็ตาม แต่คำพูดสั้นๆ ในคำวิจารณ์ของเขานี้คือ “นักวิชาการได้วิจารณ์ว่า เขาไม่อยู่ในระดับที่เชื่อถือได้” แค่นี้ก็เป็นคำยืนยันอยู่ในตัวแล้วว่า ข้อความที่ชีอะห์เสนอนั้นเป็นฮะดีษเก้ (ดูประวัติของ สัลมุ บินมัยมูน เพิ่มเติมได้ที่ มีซานุ้ลเอียะอ์ติดาล เล่มที่ 2 หน้าที่ 186 – 187)
อัลมุลฏีย์
ผู้รายงานอีกรายหนึ่ง ที่ชีอะห์ไม่ยอมกล่าวถึง แต่ได้ถูกเปิดเผยในหนังสือ “อัลอะมาลี” ที่ชีอะห์นำมาอ้างเอง แต่หมกเม็ดไว้ไม่ยอมนำมาแสดงคือ “อัลมุลฏีย์” ซึ่งถูกวิจารณ์ว่า
فإن الملطي رماه الدارقطني بالكذب
“แท้จริง อัลมุลฏีย์ นั้น อัลดารุกุฏนีย์ ได้ให้ข้อหาแก่เขาว่า โกหก”
ท่านอิหม่ามซะยูฏี ได้กล่าวถึง อัลมุลฏีย์ ไว้ในหนัวสือชื่อ بزوغ الهلال في الخصال الموجبة للظلال ลำดับที่ (4/1)
وفي إسناده: سليمان بن أحمد الملطي، ورماه الدار قطني بالكذب، وهو المتهم به
“และในสายรายงานนี้มีผู้ที่ชื่อ สุไลมาน บิน อะห์หมัด อัลมุลฏีย์ และ อัลดารุกุฏนีย์ได้ให้ข้อหาแก่เขาว่า โกหก และเขาเป็นผู้อุปโลกน์ฮะดีษนี้ขึ้นมา”
วิจารณ์สถานะของฮะดีษ
ในขณะที่ชีอะห์ วิจารณ์ผู้รายงานที่ชื่อ “สัลมุ อัลเคาว๊าศ” ว่า “นักวิชาการได้วิจารณ์ว่า เขาไม่อยู่ในระดับที่เชื่อถือได้” แต่กลับให้สถานะฮะดีษทิ้งท้ายไว้ว่า “เพราะฉะนั้นหะดีษบทนี้จึงอยู่ในระดับ ฮาซัน”
เราไม่รู้ว่า ชีอะห์ไปเอาหลักเกณฑ์การพิจารณาฮะดีษมาจากไหน เป็นไปได้อย่างไรที่ผู้รายงานเชื่อถือไม่ได้แต่ฮะดีษที่เขารายงานกลับเป็นฮะดีษฮะซัน นี่คือความมั่วซั่ว หรือการแสดงความเขลาทางวิชาการให้ผู้อื่นได้เห็น
ความจริงแล้ว ฮะดีษฮะซัน มีเงื่อนไขห้าประการเช่นเดียวกับฮะดีษศอเฮียะห์คือ
1 – สายรายงานต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ
2 – ผู้รายงานมีความเที่ยงธรรมเป็นที่ยอมรับ
3- ผู้รายงานมีความแม่นยำดีเลิศในการรายงาน
4 – คำรายงานไม่ค้านกับฮะดีษศอเฮียะห์บทอื่น
5 – ไม่มีข้อบกพร่องในเนื้อหา
แต่ฮะดีษฮะซันจะแตกต่างจากฮะดีษศอเฮียะห์ตรงความแม่นยำของผู้รายงานที่อยู่ในระดับที่ต่ำลงมา ดังนั้นแม้ว่าผู้รายงานจะมีความแม่นยำดีเลิศ แต่ถ้าเขาเป็นคนเชื่อถือไม่ได้ ก็ไม่ได้ทำให้สถานะของฮะดีษบทนั้นเป็นศอเฮียะห์ หรือ ฮะซัน แต่เป็นได้แค่เพียง ฮะดีษฏออีฟ (อ่อน) หรือ เมาฏัวอ์ (เก้) เท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.