ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



เมาตาคือใคร






لَقِّنُوا مَوْتَاكُمْ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ



“จงเตือนเมาตาของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์”




ความหมายของเมาตา



เมาตา มีความหมายตามรากศัพท์เดิม และในด้านการเปรียบเทียบดังนี้


ก . ความหมายตามรากศัพท์เดิม หมายถึง บรรดาผู้ที่ตายแล้ว ดังที่ระบุในหนังสือ อัลมุนญิดว่า

اَلَّذِي فَارَقَ الحَيَاة


“คือผู้ที่ชีวิตดับสูญหรือผู้ที่ตายแล้วนั่นเอง”

ดังที่พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงเล่าถึงคำพูดของนบีอิบรอฮีมว่า

رَبِّ أَرِنِى كَيْفَ تُحْىِ الْمَوْتَى


"พระผู้เป็นเจ้าของฉันได้โปรด ให้ฉันเห็นเถิดว่า พระองค์ทรงให้ผู้ที่ตายแล้วมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งได้อย่างไร" อัลบะเกาะเราะฮฺ ที่260


ข . ความหมายในด้านเปรียบเทียบ หมายถึง

1 . ผู้ดื้อรั้นปฏิเสธอิสลาม ดังที่พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงเปรียบเทียบไว้ดังนี้

فَاِنَّكَ لاَ تُسْمِعُ الْمَوْتَى


"อันที่จริงเจ้า (มุฮัมมัด) ไม่สามารถทำให้ผู้ตายได้ยินได้หรอก" อัรรูม ที่52


โองการนี้พระองค์อัลลอฮฺได้เปรียบการดื้อรั้น การปฏิเสธอิสลามของพวกกุฟฟารว่า พวกเขานั้นก็เหมือนผู้ที่ตายไปแล้ว

2 . แห้งแล้ง แตกระแหง ดังที่อัลลอฮฺได้ทรงแจ้งไว้ว่า

اعْلَمُوا اَنَّ اللهَ يُحْىِ الأرْضَ بَعْدَ مَوْتِهَا


"พึงรู้เถิดว่าที่จริงแล้วพระองค์อัลลอฮฺ ได้ทรงทำให้ผืนแผ่นดินมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหลังจากการตายของมัน" อัลหะดีด ที่ 17


โองการนี้พระองค์อัลลอฮฺ เป็นผู้ทำให้แผ่นดินชุ่มฉ่ำ หลังจากที่ได้ประสบกับความแห้งแล้งมานาน

3 . ผู้ที่นอนหลับ เช่น หะดีษที่ท่านนบีให้อุมมะฮฺของท่านขอดุอาอฺตอนตื่นนอนว่า

الْحَمْدُ للهِ الَّذِى أَحْيَانَا بَعْدَ مَا أَمَاتَنَا وَاِلَيْهِ النُشُور


"การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺผู้ซึ่งทำให้เรามีชีวิต(ตื่นขึ้นมา) หลังจากที่ให้เราตายไปแล้ว" (นอนหลับไป) อัลบุคอรี บทที่7


4 . และหมายถึงผู้ที่ใกล้ตาย ดังหะดีษที่ได้นำมาวิเคราะห์กันในเรื่องนี้

عَنْ أَبِى سَعِيْدِ الخُدْرِى قَالَ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم لَقِّنُوا مَوْتَاكُمْ لاَ اِلهَ اِلاَّ الله


อบีสอี๊ดอัลคุดรีย์ รายงานว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ดังนี้
" พวกเจ้าทั้งหลายจงเตือนเมาตาของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ” บันทึกโดยมุสลิม


เป้าหมายของหะดีษ

การรู้เป้าหมายของหะดีษถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งยวดในการศึกษา วิชาการหะดีษ ทั้งนี้เพื่อให้รู้ถึงจุดมุ่งหมายและจากคำพูด การกระทำและการยอมรับของท่าน รอซูล มิเช่นนั้นแล้วจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการกล่าวอ้างและปฎิบัติตามซุนนะฮฺ จนกระทั้งทำให้กลายเป็นผู้ทำลายล้างอิสลาม หรือโกหกบิดเบือนเจตนารมณ์ของท่านรอซูล อย่างเช่นในหะดีษบทนี้ ถ้ามองกันโดยผิวเผินโดยไม่รู้ถึงเป้าหมายแล้ว ท่านอาจเข้าใจว่า ท่านรอซูลให้เตือนคนที่ตาย เพราะตามรากศัพท์เดิม "เมาตา"มีความหมายว่า บรรดาผู้ที่ตายแล้ว แต่ความจริงนั้นท่านรอซูลให้เตือนผู้ที่ใกล้จะตายต่างหาก ซึ่งเป็นเป้าหมายในเชิงเปรียบเทียบว่า หลังจากนี้ไม่ช้าเขาต้องเป็นมัยยิดแน่นอน และจากการรายงานของ มุอาช บินญะบัล ว่า

مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الْجَنَّة


“ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์" บันทึกโดยอบูดาวูด


จากจุดนี้เราพบว่า หะดีษที่รายงานโดย มุอาซบินญะบัล มาแจ้งถึงเป้าหมายของคำว่า "เมาตา" ให้เราเข้าใจว่า มิใช่คนตายแล้ว แต่หมายถึงคนที่กำลังจะตาย นอกเหนือจากนั้น บรรดาศอฮาบะห์ ตาบิอีน และตาบิอิดตาบิอีน ต่างก็เข้าใจ เช่นนี้ ดังเช่นอิบนุอะบีฮาติม ได้รายงานเกี่ยวกับการบันทึกประวัติของอะบีซัรอะฮฺ ว่า

اِنَّهُ لَمَّا احْتَضَرَ أَرَادُوا تَلْقِيْنَهُ فَتَذَاكَرُوا حَدِيْثَ مُعَاذ


“ขณะที่อะบีซัรอะฮฺป่วยหนัก บุคคลทั้งหลายต้องการที่จะเตือนเขา ฉะนั้นพวกเขาจึงต่างกล่าวถึงหะดีษที่มุอาซรายงาน” (ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์) ฟัตฮุลบาลี เล่มที่3 หน้า109


เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีนักวิชาการคนใดที่ให้ความหมาย "เมาตา" ว่าผู้ที่ตายแล้วนอกจาก ผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้รู้เท่านั้น

ทัศนะของปวงปราญช์เกี่ยวกับเป้าหมายของหะดีษ

1 . อิหม่ามติรมิซีย์ ได้กล่าวในการอธิบายหะดีษบทนี้ว่า

وَقَدْ كَانَ يُسْتَحَبُّ أَنْ يُلَقِّنَ الْمَرِيْضَ عِنْدَ المَوْتِ قَوْلَ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَقَالَ بَعْضُ أَهْلِ الْعِلْمِ اِذَا قَالَ ذَلِكَ مَرَّةً فَمَا يَتَكَلَّمُ بَعْدَ ذَلِكَ فَلاَ يَنْبَغِى أَنْ يُلَقِّنَ وَلاَ يَكْثُرَ عَلَيْهِ فِى هَذَا


"สมควรที่จะเตือนผู้ป่วยใกล้จะตาย ด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลัลลอฮฺ และนักวิชาการบางท่านกล่าวว่าถ้าแม้นผู้ป่วยได้กล่าวคำนี้ แล้วครั้งหนึ่งและไม่ได้กล่าวสิ่งใดอีกหลังจากนั้น ก็ไม่เป็นการบังควรที่จะเตือนผู้ป่วยอีกครั้ง และอย่าได้เตือนซ้ำๆ ซากๆ ในเรื่องนี้" สุนันอัตติรมิซีย์ เล่ม3 หน้า297


2 . อิหม่ามนะวะวีได้แจ้งถึงคำว่า เมาตา ในการอธิบายหะดีษบทนี้ในซอฮียฺมุสลิมว่า

مَعْنَاهُ مَنْ حَضَرَهُ الْمَوْتُ وَالمُرَادُ ذَكِّرُوْهُ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ لِتَكُوْنَ آخِرَ كَلاَمِه كَمَا فِى الْحَدِيْثِ مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الْجَنَّة


"ความหมายของมัน( เมาตา) คือผู้ที่ใกล้จะตาย และเป้าหมายของหะดีษก็คือให้ผู้ใกล้จะตาย ได้กล่าวคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เพื่อที่จะให้เป็นคำพูดสุดท้ายของเขาดังที่ระบุในหะดีษ ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์" ศอเฮียะห์ มุสลิม เล่ม6 หน้า5ถึง6


3 . อิหมามซะยูตี ได้อ้างคำพูดของท่านกุรตุบีย์ ในการอธิบายหะดีษนี้ว่า

اىْ قٌوْلُوا ذَلِكَ وَذَكِّرُوْهُمْ بِهِ عِنْدَ الْمَوْتِ قَالَ وَسَمَّاهُمْ مَوْتَى لأِنَّ المَوْتَ قَدْ حَضَرَهُم


"พวกท่านทั้งหลาย จงกล่าวเช่นนั้น และนำมันไปกล่าวเตือนพวกเขาในขณะที่พวกเขาใกล้จะตาย ท่านกุรตุบีย์กล่าวอีกว่า และการที่เรียกพวกเขาเหล่านั้น(ผู้ป่วย) ว่าเมาตาก็เพราะความตาย ได้มาเยือนพวกเขาในอีกไม่ช้า”


นอกเหนือจากนั้นท่านกุรตุบีย์ ยังได้อ้างคำพูดของท่านอิหม่ามนะวาวีย์เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

4 . อิหม่ามอัซซินดีย์ ได้กล่าวไว้ในการอธิบายเพิ่มเติมจากอิหม่ามซะยูตีย์ในสุนันนะซาอีย์ ว่า

اَلْمُرَادُ مَنْ حَضَرَهُ المَوْتُ لاَ مَنْ مَاتَ وَالتَلْقِيْنُ أَنْ يُذَكِّرَ عِنْدَهُ لاَ أَنْ يَأْمُرَهُ بِهِ وَالتَلْقِيْن بَعْدَ الْمَوْتِ قَدْ جَزَمَ كَثِيْرٌ أَنَّهُ حَادِثٌ وَالْمَقْصُوْدُ مِنْ هَذاَ التَلْقِيْنِ اَنْ يَكُوْنَ آخِرُكَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَلِذَلِكَ اِذَا قَالَ مَرَّةً فَلاَ يُعَادُ عَلَيْهِ اِلاَّ أَنْ تَكَلَّمَ آخَر


" เป้าหมายก็คือผู้ที่ใกล้จะตาย มิใช่ผู้ตายแล้ว และการเตือนก็คือการกล่าวต่อหน้าผู้ป่วย มิใช่ไปสั่งใช้ให้ผู้ป่วยกล่าวมัน ส่วนการเตือน(ตัลกีน)หลังจากตายแล้วนั้น นักวิชาการส่วนมาก ได้ชี้ขาดลงไปว่าเป็นสิ่งอุตริ และจุดมุ่งหมายจากการเตือนนี้ ก็เพื่อให้คำพูดสุดท้ายของเขา คือ ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ และจากดังกล่าวนี้ถ้าผู้ป่วยได้กล่าวคำนี้แล้วครั้งหนึ่ง ก็จงอย่าเตือน ซ้ำซากกับผู้ป่วยอีก เพื่อที่เขาจะได้ไม่กล่าวคำอื่นใดเป็นคำสุดท้าย" สุนันนะซะอีย์เล่ม4 หน้า5ถึง6


5 . อิหม่ามอัซเซากานีย์ ได้แจ้งไว้ในหนังสือนัยลุ้ลเอาต็อร โดยอ้างคำพูดของอิหม่ามนะวะวี ในการอธิบายศอเฮียะห์มุสลิม ดังที่ท่านได้ผ่านมาในข้างต้น คือหมายถึงผู้ที่ใกล้จะตายนั่นเอง

6 . อิหม่ามมุฮัมมัด บินอิสมาเอล อัสศอนอานีย์ ได้แจ้งไว้ในหนังสือซุบุลุสสลามว่า

المراد تذكير الذى فى سياق الموت هذا اللفظ الجليل وذلك ليقولها فتكون آخر كلامه فيدخل الجنة فالأمر فى الحديث بالتلقين عام لكل مسلم يحضر من هوفى سياق الموت وهو أمر ندب


"เป้าหมายก็คือเตือนผู้ที่ใกล้จะตาย นี่คือคำพูดที่สูงค่า และจากดังกล่าวนี้เพื่อผู้ป่วยจะได้ กล่าวมัน เพื่อให้เป็นคำพูดสุดท้ายของเขา เพื่อเขาจะได้เข้าสวรรค์ ฉะนั้นคำสั่งใช้ในหะดีษบทนี้ ด้วยการเตือนนั้น เป็นคำสั่งที่คุมกว้างแก่มุสลิมทุกคนที่อยู่กับผู้ป่วย ซึ่งเขาใกล้จะถึงซึ่ง ความตาย และคำสั่งใช้นี้อยู่ในข่ายของการสนับสนุนให้กระทำ(ซุนนะฮฺ)” นัยลุลเอาต๊อร เล่ม5 หน้า10


7 – ซัยยิต ซาบิกได้พูดถึงเรื่องการเตือนผู้ที่ใกล้จะตายไว้ในหนังสือฟิดฮุสซุนนะห์ว่า

تَلْقِيْنُ المُحْتَضَرِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ لِمَا رَوَاهُ مُسْلِمٌ وَأَبُوْدَاوُد وَالتِرْمِذِى عَنْ أَبِى سَعِيْدِ الخُدْرِى رَضِىَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لَقِّنُوا مَوْتَاكُمْ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَرُوِىَ أَبُوْدَاوُد وَصَحَّحَهُ الحَاكِمُ عَنْ مُعَاذَ بْنِ جَبَل رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الجَنَّة


“การเตือนผู้ที่ใกล้จะตายด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์ ดังที่มุสลิม, อบูดาวูด, อัตติรมีซีย์ ได้รายงานเรื่องนี้ไว้จาก อบีสะอี๊ดอัลคุดรีย์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า พวกเจ้าทั้งหลายจงเตือนผู้ที่ใกล้จะตายของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลออ์ และอบูดาวู๊ด ได้รายงานไว้โดยที่ท่านฮากิม ได้ยืนยันว่า เป็นฮะดีษศอเฮียะห์ จากมุอาซบินญะบัล ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลลุลลอฮิ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่คำสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์ เขาได้เข้าสวรรค์”


เหตุใดปวงปราญช์จึงให้ความหมาย "เมาตา" ว่าเป็นผู้ใกล้ตาย

จากที่นำมากล่าวข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่า บรรดาปวงปราชญ์มีทัศนะสอดคล้องต่อการให้ ความหมายของหะดีษบทที่ว่า หมายถึงผู้ที่ใกล้จะตาย เพราะหะดีษที่มุอาซบินญะบัล รายงานแจ้งว่า "ผู้ที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่าลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮฺ" จึงเป็นคำอธิบาย หะดีษที่ให้เตือนเมาตาโดยไม่ต้องสงสัย นอกเหนือจากนั้นยังไม่พบว่าท่านรอซูลได้ตัลกีน แก่ผู้ตายแล้วคนใด ทั้งที่ท่านนบีเองก็เคยไปร่วมงานฝังศพ และเยี่ยมกุโบร์นับครั้งไม่ถ้วน อย่างเช่นรายงานจากสุนันอบีดาวู๊ดว่า

كَانَ اِذَا فَرَغَ مِنْ دَفْنِ المَيِّتِ وَقَفَ عَلَيْهِ فَقَالَ اِسْتَغْفِرُوا لأِخِيْكُمْ وَسَلُوالَهُ التَثْبِيْت فَاِنَّهُ الآنَ يُسْأَلُ


"ท่านนบีนั้นเมื่อเสร็จจากการฝังศพแล้ว ท่านได้ยืนอยู่ชั่วครู่พร้อมกล่าวว่า พวกเจ้าทั้งหลายจงขออภัยโทษให้แก่พี่น้องของพวกเจ้า และขอให้เขามั่นคงในคำตอบเพราะ ตอนนี้เขากำลังถูกถาม" สุนันอบีดาวู๊ด บทที่69


เราพบว่าจากแนวทางที่ท่านนบีได้ให้ไว้นั้นคือ การขอดุอาอ์ให้เขามั่นคงในคำตอบ โดยไม่มีรายงานที่ศอเฮียะห์เลยสักครั้งเดียวว่า ท่านนบีได้ตัลกีนให้คนที่ตายแล้ว หรืออ่านอัลกุรอานซูเราะห์ หรืออายะห์ใดๆ ให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครั้งที่ท่านนบีได้เยี่ยมกุโบร์ของแม่ท่านเอง ดังที่อะบีฮุร็อยเราะฮฺ รายงานว่า

زَارَ النَبِىُ صَلىَ اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ قَبْرَ أُمِّهِ فَبَكَى وَأَبْكَى مَنْ حَوْلَهُ فَقَالَ اِسْتَأذَنْتُ رَبِّى فِى أَنْ أَسْتَغْفِرَلَهَا فَلَمْ يَأْذَنْ لِى وَاسْتَأذَنْتُهُ فِى أَنْ أَزُوْرَ قَبْرَهَا فَأَذِنَ لِى فَزُوْرُوا القُبُوْرَ فَانَّهَا تُذَكِّرُ المَوْتَ


"ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เยี่ยมสุสาน แม่ของท่าน แล้วท่านก็หลั่งน้ำตา จึงทำให้ผู้อยู่รอบข้างท่านต้องหลั่งน้ำตาไปด้วย ท่านนบีกล่าวว่า ฉันได้ขออนุญาตต่อพระผู้เป็นเจ้าของฉันในการที่ฉันจะขออภัยโทษ ให้กับแม่ แต่พระองค์ก็มิทรงอนุญาตให้ฉันกระทำเช่นนั้น แล้วฉันก็ขออนุญาตในการที่จะ มาเยี่ยมสุสานของแม่ และพระองค์ก็ได้อนุญาตต่อฉัน ฉะนั้นพวกท่านทั้งหลายน่าจะได้เยี่ยม สุสานกัน เพราะมันจะทำให้พวกเจ้านึกถึงความตาย"


จากจุดนี้เราจะเห็นได้ว่า ท่านนบีมิเคยสอนหรือเตือนคนที่ตายไปแล้ว และถ้าเมาตาในหะดีษ บทนี้แปลว่าคนตายแล้ว ฉะนั้นคำสั่งใช้ของท่านรอซูลนี้บรรดาศ่อฮาบะฮฺจะต้องรับไปปฎิบัติ อย่างเคร่งครัด แต่ในที่สุดเราก็ไม่พบการรายงานที่แน่ชัดว่า ท่านรอซูลเคยกระทำเช่นนั้น
และไม่พบว่าศอฮาบะฮฺคนหนึ่งคนใดกระทำไว้เช่นนี้เลย นอกจากหลักฐานที่นำมากล่าวอ้าง ว่าให้ตัลกีนคนที่ตายแล้วเป็นหะดีษฎออีฟ ( อ่อน ) และหะดีษเมาดัวอฺ ( เก้ ) หรือไม่ก็เป็นการกระทำ ของคนในยุคหลังซึ่งไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงทางนิติบัญญัติได้









สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2006-05-10 (7091 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]