อับดุลลอฮ์ อิบนิ อัมร์ รายงานว่า ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ดังนี้
สี่ประการด้วยกัน ที่ผู้ใดมีลักษณะดังกล่าวนี้เขาคือคนสับปรับจริงๆ และหากผู้ใดมีบางประการ ก็เท่ากับเขามีลักษณะของความสับปรับอยู่ในตัว จนกว่าเขาจะเลิกพฤติกรรมดังกล่าว นั่นคือ เมื่อได้รับความไว้วางใจก็บิดพลิ้ว, เมื่อพูดก็โกหก, เมื่อสัญญาก็ผิดสัญญา,และเมื่อเถียงกับใครก็ตะแบง
ฐานะของฮะดีษ มัรฟัวอ์ ศอเฮียะห์
ผู้บันทึกฮะดีษ ศอเฮียะห์บุคคอรี, ศอเฮียะห์มุสลิม (มุตตะฟะกุนอะลัยฮ์)
ผู้รายงานฮะดีษ ชื่ออับดุลลอฮ์ อิบนิอัมร์ อิบนิอาศ อิบนิ วาอิล มีฉายาว่า อะบูมูฮัมหมัด เป็นศอฮาบะห์
รุ่นเยาว์, เป็นหนึ่งในศอฮาบะห์ที่ทำหน้าที่บันทึกอัลกุรอานในช่วงแรก เสียชีวิตที่เมือง
ตออิฟ ปีที่ 63 ฮิจเราะห์ศักราช
สิ่งที่ได้รับจากฮะดีษ
1 - พฤติกรรมของคนหน้าไหว้หลังหลอกมี 4 ประการ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่หากผู้ใดมีอยู่ในตัว เขาก็กลายเป็นบุคคลที่น่ารังเกียจในสังคม
2 - ท่านนบีสอนให้มุสลิมละทิ้งพฤติกรรมดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นประการหนึ่งประการใดก็ตาม แต่สอนให้มุสลิมมีความเป็นพี่น้องกัน มีความบริสุทธิ์ใจซึ่งกันและกัน
3 - การโกหกโดยทั่วไปถือว่าเป็นที่ต้องห้าม เว้นแต่สามกรณีดังต่อไปนี้ที่ถือว่าเป็นที่อนุมัติ คือ การโกหกเพื่อให้คนคืนดีกัน, การโกหกเพื่อรักษาสถานภาพของครอบครัว, การโกหกศัตรูหรือในสภาวะสงคราม
4 - อิสลามสอนให้มุสลิมกลับไปหาความถูกต้องบนพื้นฐานของหลักการ ไม่ใช่การเอาชนะกันด้วยวิธีตะแบงจนไม่รู้ผิดรู้ถูก
5 - การรักษาสัญญาและการรักษาความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นหน้าที่ของมุสลิม
สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.