ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



ตอนที่ 2 ซุนนะห์ในศตวรรษแรก




ฮะดีษหรือซุนนะห์ของท่านรอซูลถือเป็นนิติบัญญัติอันดับสองรองลงมาจากอัลกุรอาน ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า ความหมายของทั้งสองนั้นจะต้องไม่ค้านกัน เพราะท่านรอซูลมิได้นำบัญญัติเรื่องใดมาจากอารมณ์,ความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง หากแต่เป็น วะฮีย์ มาจากพระองค์อัลลอฮ์ และเพื่อเป็นการยืนยันในเรื่องนี้ พระองค์อัลลอฮ์จึงได้กล่าวว่า


وَمَا يَنْطِقُ عَنِ الْهَوَى اِنْ هُوَ اِلاَ وَحْىٌ يُوْحى


“และเขา (มูฮัมหมัด) มิได้กล่าวเรื่องใดจากอารมณ์ของตัวเอง หากแต่เป็นการดลใจที่ถูกประทานมา” ซูเราะห์อัลนัจญ์ อายะห์ที่ 3

เมื่อซุนนะห์เป็นวะฮีย์มาจากอัลลอฮ์ บรรดามุสลิมจึงปฏิเสธไม่ได้ ขณะเดียวกันก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ หาความเข้าใจเพื่อนำไปสู่ความเชื่อและการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

مَنْ يُطِعِ الرَسُوْلَ فَقَدْ أَطَاعَ اللهَ


“ผู้ใดภักดีต่อรอซูลเท่ากับเขาภักดีต่ออัลลอฮ์” ซูเราะห์อัลนิซาอ์ อายะห์ที่ 80

ด้วยเหตุนี้ บรรดาศอฮาบะห์ที่ใกล้ชิดท่านรอซูลจึงพยายามที่จะจดจำทั้งคำพูด,การกระทำของท่านรอซูลไว้ แล้วถ่ายทอดสู่คนอื่นๆ อีกด้วย เพื่อที่พวกเขาจะได้ปฏิบัติศาสนาได้อย่างถูกต้อง

ส่วนผู้ที่ไม่มีโอกาสได้อยู่ใกล้ชิดกับท่านรอซูล เช่นชนเผ่าต่างๆที่อยู่ห่างไกลออกไป พวกเขาก็จะส่งตัวแทนเดินทางมาหาท่านรอซูลเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของอิสลามแล้วนำไปบอกต่อๆกันในกลุ่มชน

ในหมู่ของสตรีนั้น บรรดาภริยาของท่านรอซูลมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ซุนนะห์ เพราะบางครั้งบรรดาสตรีก็มีความละอาย ไม่กล้าที่จะซักถามเรื่องเฉพาะของสตรีจากท่านรอซูลได้ จึงไปถามบรรดาภริยาของท่านรอซูลแทน หรือบางครั้งท่านรอซูลก็ไม่สะดวกในการสื่อสารข้อบัญญัติที่เกี่ยวกับสตรีโดยตรงได้ จึงให้บรรดาภริยาของท่านเป็นผู้ขยายความต่ออีกทอดหนึ่ง

ในบางครั้งบรรดาศอฮาบะห์ก็เกิดขัดแย้งกัน แล้วได้นำเรื่องพิพาทนั้นไปสอบถามท่านรอซูล แล้วท่านก็แจ้งข้อบัญญัติในเรื่องนั้นให้ทราบ หรือไม่ท่านรอซูลก็จะส่งตัวแทนไปสู่กลุ่มชนต่างๆ เพื่อสอนข้อบัญญัติในเรื่องนั้นๆให้ประชาชนทราบ

ด้วยเหตุต่างๆข้างต้นทำให้ซุนนะห์ของท่านรอซูลแพร่กระจายไปในหมู่ชนทุกระดับอย่างรวดเร็ว ควบคู่กับการอัลกุรอาน แต่น่าเสียดายว่าในยุคที่ท่านนบียังมีชีวิตอยู่นั้น มิได้มีการบันทึกซุนนะห์ไว้อย่างเป็นสัดส่วน เพราะเกรงว่าจะไปปะปนกับอัลกุรอานที่ได้มีการบันทึกไว้ก่อนแล้ว
ท่านอะบูสะอี๊ด อัลคุดรีย์ได้รายงานว่า ท่านรอซูลลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ดังนี้

لاَ تَكْتُبُوا عَنِى مَنْ كَتَبَ عَنى غَيْرَ القُرْآنِ فَلْيَمْحُهُ


“พวกเจ้าอย่าได้บันทึกเรื่องใดๆจากฉัน ผู้ใดที่บันทึกเรื่องใดจากฉันที่ไม่ใช่อัลกุรอาน ก็จงลบมันทิ้งก่อน” ศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 5326

แต่คำสั่งห้ามของท่านรอซูลข้างต้นนี้ เป็นคำห้ามโดยรวม เพราะท่านรอซูลได้อนุญาตให้ศอฮาบะห์บางท่านที่มีความแม่นยำในการบันทึก และสามารถจำแนกระหว่างอัลกุรอานและซุนนะห์ไว้อย่างเป็นสัดส่วน ทำการบันทึกได้ หรืออย่างเหตุการณ์ที่ อะบีชาฮ์ ซึ่งเป็นชาวยะมันได้ เดินทางมาศึกษาเรื่องราวอิสลามกับท่านนบี ขณะที่เขาได้ฟังคุตบะห์ของท่านนบีจบลง ก็ร้องขอต่อท่านนบีว่า

يَا رَسُوْلَ اللهِ اكْتُبُوا لِى فَقالَ اكْتُبُوا لَهُ


“โอ้ท่านรอซูลของอัลลอฮ์ ได้โปรดให้พวกเขาบันทึกให้ฉันด้วยเถิด ท่านกล่าวว่า พวกเจ้าจงบันทึกให้เขาด้วย” มุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ฮะดีษเลขที่ 6944

ฉะนั้นจากหน้าประวัติศาสตร์ฮะดีษจึงระบุว่า บันทึกของอะบีชาฮ์ เป็นบันทึกแรกที่เกี่ยวกับซุนนะห์ของท่านนบี แต่ทว่าบันทึกซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในขณะนั้นกลับมิใช่บันทึกของอะบีชาฮ์ หากแต่เป็นบันทึกของท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัร เพราะท่านเป็นผู้ที่มีความแม่นยำในการบันทึก

แม้ว่าในยุคต้นจะมิได้มีการบันทึกซุนนะห์เป็นล่ำเป็นสัน แต่ก็มิได้หมายความว่าซุนนะห์ของท่านรอซูลจะถูกลืมเลือนไป เพราะยังคงมีบรรดาศอฮาบะห์อีกมากมายที่จำเรื่องราวที่เกิดขึ้นหรือจำคำของท่านรอซูลได้อย่างแม่นยำ แล้วถ่ายทอดต่อให้แก่คนในยุคถัดมา









สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2006-07-18 (2103 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]