นักวิชาการฮะดีษในยุคที่สามนี้มีบทบาทโดดเด่นจนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปหลายท่านด้วยกัน เช่นอิหม่ามบุคคอรี, อิหม่ามมุสลิม, อบูดาวูด, อิหม่ามติรมีซีย์, อิหม่ามนะซาอีย์ และอิบนุมาญะห์ เป็นต้น แต่ที่เราไม่ควรละเลยที่จะกล่าวถึงก็คือ นักวิชาการฮะดีษร่วมยุคอีกหลายท่านซึ่งมีบทบาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าบรรดาอิหม่ามที่ได้กล่าวนามมาแล้ว เช่น
ท่านอิหม่ามยะห์ยา บินมุอีน เกิดในปีที่ 158 เสียชีวิตปีที่ 233 ฮิจเราะห์ศักราช
ท่านอิบนุอบีซัยบะห์ หรือ อบูบักร์ บุตรของ อบีซัยบะห์ เกิดในปีที่ 159 เสียชีวิตปีที่ 235 ฮิจเราะห์ศักราช
ท่านอิหม่ามอบูฮาติม อัรรอซีย์ เกิดในปีที่ 159 เสียชีวิตปีที่ 207 ฮิจเราะห์ศักราช
ท่านอิหม่ามอิบนุคุซัยมะห์ เกิดในปีที่ 223 เสียชีวิตปีที่ 311 ฮิจเราะห์ศักราช
ท่านอิหม่ามอัลดาริมีย์ เกิดในปีที่ 181 เสียชีวิตปีที่ 255 ฮิจเราะห์ศัการาช
ท่านอิหม่าม อิบรุซะอด์ หรือท่านมูฮัมหมัด บุตรของ ซะอด์ เกิดปีที่ 168 เสียชีวิตปีที่ 230 ฮิจเราะห์ศักราช
หากท่านเป็นนักศึกษาวิชาฮะดีษก็จะได้ยินชื่อนักวิชาการอวุโสข้างต้นนี้ ทั้งในฐานะผู้บันทึก,ผู้วิเคราะห์วิจารณ์ และตรวจสอบฮะดีษ จึงนับได้ว่านักวิชาการฮะดีษในยุคที่สามนี้สร้างคุณอนันต์ให้แก่ผู้แกะรอยตามท่านรอซูลไว้อย่างมรากมายทีเดียว
รวมนักวิชาการในยุคที่สี่
ในยุคที่สี่เป็นยุคที่เริ่มมีการสืบเสาะแหล่งที่มาของฮะดีษและวางมาตรการในการตรวจสอบ และอธิบายเนื้อหาของฮะดีษ และเป็นเหตุในการก่อกำเนิดตำราประเภทต่างๆ เช่น มุสตัดรอกาต, มุสตัครอญาต,อัลมัวอ์ญัม และฯลฯ ซึ่งจะได้นำเอารายละเอียดของตำราประเภทนี้พร้อมทั้งผู้เรียบเรียงมาอธิบายในหมวดที่ว่าด้วยเรื่อง วิธีการค้นหาฮะดีษ อินชาอัลลอฮ์
สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.