มุสลิม/หมวดที่1/บทที่3/ฮะดีษเลขที่0006
عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ، قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم ‏"‏ سَلُونِي ‏"‏ فَهَابُوهُ أَنْ يَسْأَلُوهُ ‏.‏ فَجَاءَ رَجُلٌ فَجَلَسَ عِنْدَ رُكْبَتَيْهِ ‏.‏ فَقَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا الإِسْلاَمُ قَالَ ‏"‏ لاَ تُشْرِكُ بِاللَّهِ شَيْئًا وَتُقِيمُ الصَّلاَةَ وَتُؤْتِي الزَّكَاةَ وَتَصُومُ رَمَضَانَ ‏"‏ ‏.‏ قَالَ صَدَقْتَ ‏.‏ قَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا الإِيمَانُ قَالَ ‏"‏ أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَكِتَابِهِ وَلِقَائِهِ وَرُسُلِهِ وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ وَتُؤْمِنَ بِالْقَدَرِ كُلِّهِ ‏"‏ ‏.‏ قَالَ صَدَقْتَ ‏.‏ قَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا الإِحْسَانُ قَالَ ‏"‏ أَنْ تَخْشَى اللَّهَ كَأَنَّكَ تَرَاهُ فَإِنَّكَ إِنْ لاَ تَكُنْ تَرَاهُ فَإِنَّهُ يَرَاكَ ‏"‏ ‏.‏ قَالَ صَدَقْتَ ‏.‏ قَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَتَى تَقُومُ السَّاعَةُ قَالَ ‏"‏ مَا الْمَسْئُولُ عَنْهَا بِأَعْلَمَ مِنَ السَّائِلِ وَسَأُحَدِّثُكَ عَنْ أَشْرَاطِهَا إِذَا رَأَيْتَ الْمَرْأَةَ تَلِدُ رَبَّهَا فَذَاكَ مِنْ أَشْرَاطِهَا وَإِذَا رَأَيْتَ الْحُفَاةَ الْعُرَاةَ الصُّمَّ الْبُكْمَ مُلُوكَ الأَرْضِ فَذَاكَ مِنْ أَشْرَاطِهَا وَإِذَا رَأَيْتَ رِعَاءَ الْبَهْمِ يَتَطَاوَلُونَ فِي الْبُنْيَانِ فَذَاكَ مِنْ أَشْرَاطِهَا فِي خَمْسٍ مِنَ الْغَيْبِ لاَ يَعْلَمُهُنَّ إِلاَّ اللَّهُ ‏"‏ ‏.‏ ثُمَّ قَرَأَ ‏{‏ إِنَّ اللَّهَ عِنْدَهُ عِلْمُ السَّاعَةِ وَيُنَزِّلُ الْغَيْثَ وَيَعْلَمُ مَا فِي الأَرْحَامِ وَمَا تَدْرِي نَفْسٌ مَاذَا تَكْسِبُ غَدًا وَمَا تَدْرِي نَفْسٌ بِأَىِّ أَرْضٍ تَمُوتُ إِنَّ اللَّهَ عَلِيمٌ خَبِيرٌ‏}‏ قَالَ ثُمَّ قَامَ الرَّجُلُ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم ‏"‏ رُدُّوهُ عَلَىَّ ‏"‏ فَالْتُمِسَ فَلَمْ يَجِدُوهُ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم ‏"‏ هَذَا جِبْرِيلُ أَرَادَ أَنْ تَعَلَّمُوا إِذْ لَمْ تَسْأَلُوا ‏"‏ ‏.‏


     อบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

          "ถามฉันเถิด, พวกเขา (บรรดาศอฮาบะห์) จึงเซ้าซี้ถามเรื่องต่างๆจากท่าน ในระหว่างนั้นมีชายผู้หนึ่งได้มาหา โดยนั่งเกยเข่ากับท่านนบี แล้วกล่าวว่า โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ อัลอิสลาม คืออะไร ท่านตอบว่า คือการที่ท่านไม่นำสิ่งใดมาเป็นภาคีต่อพระองค์อัลลอฮ์, การที่ท่านจะต้องดำรงละหมาด, บริจาคซะกาต,ถือศีลอดเดือนรอมฏอน เขากล่าวว่า ท่านพูดถูกต้องแล้ว

          เขาถามอีกว่า โอ้ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ อัลอีหม่าน คืออะไร ท่านตอบว่า คือการที่ท่านศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮ์, มะลาอิกะห์ของพระองค์, คัมภีร์ของพระองค์, และการกลับไปพบกับพระองค์, บรรดาศาสนทูตของพระองค์, และศรัทธาเรื่องการให้ฟื้นคืนชีพ, อีกทั้งศรัทธาต่อการกำหนดสภาวการณ์ทั้งหมดของพระองค์ เขากล่าวว่า ท่านพูดถูกต้องแล้ว

          เขาถามอีกว่า โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ อัลเอียะห์ซาน คืออะไร ท่านตอบว่า คือการที่ท่านเกรงกลัวพระองค์อัลลอฮ์ประหนึ่งว่าท่านเห็นพระองค์ แต่ท่านไม่ได้เห็นพระองค์ หากแต่พระองค์ทรงเห็นท่าน  เขากล่าวว่า ท่านพูดถูกต้องแล้ว

          เขาถามอีกว่า โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ เมื่อไหร่กาลอวสานจะเกิดขึ้น ท่านตอบว่า หาใช่ว่าผู้ที่ถูกถามในเรื่องนี้จะรู้ดีไปกว่าผู้ถาม แต่ฉันจะแจ้งถึงสัญญาณต่างๆของมันให้ทราบ คือเมื่อท่านได้เห็นหญิงหนึ่งคลอดผู้เป็นนายของนาง นี่แหละคือหนึ่งในสัญญาณของมัน และเมื่อท่านได้เห็นผู้ที่มีแต่เท้าเปล่า,ผู้เปลือยกาย (หมายถึงผู้ยากจนไม่มีอาภรณ์สวมใส่) ผู้ที่หูหนวกและเป็นใบ้ (หมายถึงคนโง่เขลา) เป็นผู้ปกครองโลก นี่ก็เป็นหนึ่งในสัญญาณของมัน และเมื่อท่านได้เห็นผู้ที่ต้อนฝูงแกะ (หมายถึงชาวชนบท) แข่งขันกันสร้างอาคารสูง นี่ก็เป็นอีกสัญญาณหนึ่งของมัน

          ยังมีอีกห้าประการที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ไม่มีผู้ใดรู้ได้นอกจากพระองค์อัลลอฮ์ หลังจากนั้นท่านก็อ่าน (ซูเราะห์ลุกมาน อายะห์ที่ 34)   

          “แท้จริง ณ.พระองค์อัลลออ์นั้น มีความรู้เรื่องกาลอวสาน พระองค์ทรงทำให้ฝนหลั่งลงมาจากฟากฟ้า และพระองค์ทรงรู้ดีถึงสิ่งที่มีอยู่ในมดลูก, ไม่มีผู้ใดรู้ถึงสิ่งที่เขาจะได้รับในวันรุ่งขึ้น และไม่มีผู้ใดรู้ว่าเขาจะเสียชีวิต ณ แผ่นดินใด แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์ผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วน”  

          เขา (อบูฮุรอยเราะห์) กล่าวว่า แล้วชายผู้นั้นก็กลับไป ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม จึงได้กล่าวว่า ไปตามชายผู้นั้นกลับมาหาฉันที แต่เมื่อไปตามหาแล้วก็ไม่พบร่องรอยของเขาแต่อย่างใด ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า นี่แหละญีบรีล เขาต้องการสอนพวกเจ้า (ในการถามเรื่องหลักของศาสนา) เมื่อพวกเจ้าไม่ได้ถาม"




ฮะดีษนี้มาจาก อ.ฟารีด เฟ็นดี้
http://www.fareedfendy.com

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://www.fareedfendy.com/modules.php?name=Sections2&op=viewarticle2&artid=12