ซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ อายะห์ที่ 26
إنَّ اللهَ لاَ يَسْتَحْيِي إنْ يَضْرِبَ مَثَلاً مَا بَعُوضَةً فَمَا فَوْقَهَا فَامَّا الَّذِين آمَنُوا فَبَعْلَمُوْنَ أنَّهُ الْحَقُّ مِن رَّبِّهِمْ وَأمَّا الَّذِيْنَ كَفَرُوا قَيَقُوْلُوْنَ مَاذَا أَرَادَ اللهُ بِهَذاَ مَثَلاً يُضِلُّ بِهِ كَثِيْراً وَيَهْدِي بِهِ كَثِيْراً وَمَا يُضِلُّ بِهِ إلاَّ الْفَاسِقِيْنَ
แท้จริงอัลลอฮ์ไม่อายในการยกเอาสัตว์ตัวเล็กๆเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ หรือไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่ใหญ่กว่านั้น สำหรับบรรดาผู้ศรัทธา เขาจะรู้ว่ามันคือสัจธรรมจากองค์อภิบาลของพวกเขา ส่วนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะกล่าวว่า อัลลอฮ์ต้องการสิ่งใดหรือที่เอาสิ่งนี้เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ อัลลอฮ์ได้ทรงทำให้คนมากมายหลงทางด้วยสิ่งนั้น และทำให้คนมากมายได้รับทางนำด้วยสิ่งนั้น แต่จะไม่ทรงทำใครผู้ใดหลงทางด้วยสิ่งนั้นนอกจากคนชั่ว
สาเหตุของการประทานอายะห์นี้
“อัสซุดดีย์ ได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของเขาว่า จาก อบีมาลิก และจาก อบีศอและห์ จาก อิบนิ อับบาส และจาก มุรเราะห์ จาก อิบนิ มัสอู๊ด และจาก ศอฮาบะห์ อีกกลุ่มหนึ่ง กล่าวว่า : หลังจากที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงยกตัวอย่างทั้งสองเปรียบเทียบกับบรรดาผู้กลับกลอกด้านการศรัทธา หมายถึงอายะห์ที่ว่า (เปรียบพวกเขาได้ดั่งผู้ที่จุดไฟขึ้น) และอายะห์ที่ว่า (หรือดั่งเช่นห่าฝนที่หลั่งลงมาจากฟ้า) บรรดาผู้กลับกลอกการศรัทธาก็กล่าวว่า : พระองค์อัลลอฮ์ทรงสูงส่งเกินกว่าที่จะนำสิ่งเหล่านี้มาเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ ดังนั้นพระองค์อัลลอฮ์จึงได้ทรงประทานอายะห์นี้ลงมาจนกระทั่งถึงถ้อยคำที่ว่า (พวกเขาคือบรรดาผู้ขาดทุน) คือจบอายะห์ที่ 27
อับดุลรอซาก ได้กล่าวว่า จาก มะอ์มัร จาก ก่อตาดะห์ กล่าวว่า : หลังจากที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวถึงแมงมุม และแมลงวัน เหล่ามุชรีกีนก็กล่าวว่า ทำไมถึงต้องเอาแมงมุมและแมลงวันมากล่าวด้วย พระองค์อัลลอฮ์ จึงได้ประทานอายะห์นี้มา (แท้จริงอัลลอฮ์ไม่อายในการยกเอาสัตว์ตัวเล็กๆเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ หรือไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่ใหญ่กว่านั้น)
สอี๊ด กล่าวว่า จาก ก่อตาดะห์ กล่าวว่า หมายถึง แท้จริงอัลลอฮ์ไม่อายต่อสัจธรรม ที่จะกล่าวถึงสิ่งใด ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก แท้จริงอัลลอฮ์นั้นในขณะที่พระองค์ทรงกล่าวถึงแมลงวันและแมงมุมในคัมภีร์ของพระองค์ บรรดากลุ่มชนที่หลงผิดก็กล่าวว่า อัลลอฮ์ต้องการอะไรหรือในการกล่าวถึงสิ่งนี้ ดังนั้นพระองค์อัลลอฮ์จึงได้ทรงประทานอายะห์นี้มาว่า (แท้จริงอัลลอฮ์ไม่อายในการยกเอาสัตว์ตัวเล็กๆเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ หรือไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่ใหญ่กว่านั้น))” ตัฟซีร อิบนิกะษีร เล่มที่ 1 หน้าที่92
คำว่า يَعُوْضَة หมายถึงสัตว์ปีกที่มีขนาดเล็ก เช่น ยุง,แมลงหวี่, รวมถึงตัวเรือดและริ้น ดังเช่นกรณีที่ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
إنَّهُ لَيَأْتِي الرَّجُلُ الْعَظِيْمُ السَّمِيْنُ يَوْمَ القِيَامَةِ لاَ يَزِنُ عِنْدَ اللهِ جُنَاحَ بَعُوْضَةٍ وَقَالَ إقْرَؤُا (فَلاَ نُقِيْمُ لَهُمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ وَزْناً)
“ชายอ้วนใหญ่จะถูกนำมาในวันกิยะห์ แต่ไม่มีน้ำหนัก ณ.ที่อัลลอฮ์แม้เท่าปีกยุง ท่านกล่าวว่า พวกท่านจงอ่านเถิด (เราจะไม่ให้มีคุณค่าและน้ำหนักใดๆแก่พวกเขาในวันกิยามะห์)” ศอเฮียะห์ บุคอรี ฮะดีษเลขที่ 4360
ไม่ใช่เรื่องน่าอับอายในการที่จะนำเอาสิ่งถูกสร้างมาเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดอุทาหรณ์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเล็กหรือใหญ่,จะมากหรือน้อยก็ตาม ซึ่งเราจะพบกรณีเช่นนี้ในอัลกุรอานหลายอายะห์ เช่น
يَأيُّهَا النَّاسُ ضُرِبَ مَثَلٌ فَاسْتَمِعُوا لَهُ إنَّ الَّذِيْنَ تَدْعُوْنَ مِنْ دُوْنِ اللهِ لَن يَخْلُقُوا ذُبَاباً وَلَوِ اجْتَمَعُوا لَهُ وَإن يَسْلُبْهُمُ الذُّبَابُ شَيْئاً لاَ بَسْتَنْقِذُوْهُ مِنْهُ ضَعُفَ الطَّالِبُ وَالْمَطْلُوْبُ
“โอ้มนุษย์เอ๋ย ตัวอย่างหนึ่งได้ถูกยกมาเปรียบเทียบ พวกเจ้าจงฟังมันให้ดี คือ แท้จริงบรรดาผู้ซึ่งวิงวอนขอต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์นั้น โดยที่พวกมันไม่สามารถสร้างแมลงวันขึ้นมาสักตัวหนึ่ง ถึงแม้ว่าพวกมันจะร่วมกันกระทำก็ตาม และหากแมลงวันจะพาสิ่งใดไปจากพวกมัน พวกมันก็ไม่สามารถปกป้องสิ่งนั้นได้ อ่อนแอแท้ๆทั้งผู้ขอและผู้ถูกขอ” ซูเราะห์ อัลฮัจญ์ อายะห์ที่ 73
مَثَلُ الَّذِيْنَ اتَّخَذُوا مِنْ دُوْنِ اللهِ أوْلِيَاءَ كَمَثَلِ الْعَنْكَبُوْتِ اتَّخَذَتْ بَيْتاً وَإنَّ أوْهَنَ الْبُيُوْتِ لَبَيْتُ الْعَنْكَبُوْتِ لَوْ كاَنُوا يَعْلَمُوْنَ
“เปรียบบรรดาผู้ยึดถือสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์เป็นผู้คุ้มครอง ก็เปรียบได้ดั่งแมงมุมชักใยทำรัง และแท้จริงรังที่บอบบางที่สุดคือรังของแมงมุม หากพวกเขารู้” ซูเราะห์ อัลอังกะบูต อายะห์ที่ 41
أَلَمْ تَرَ كَيْفَ ضَرَبَ اللهُ مَثَلاً كَلِمَةً طَيِّبَةً كَشَجَرَةٍ طَيِّبَةٍ أصْلُهَا ثَابِتٌ وَفَرْعُهَا فِي السَّمَاءِ تُؤْتِي أُكُلَهَا كُلَّ حِيْنٍ بِإذْنِ رَبِّهَا وَيَضْرِبُ اللهُ الأمْثَالَ للنَّاسِ لَعَلَّهُمْ يَتَذَكَّرُوْنَ وَمَثَلُ كَلِمَةٍ خَبِيْثَةٍ كَشَجَرَةٍ خَبِيْثَةٍ اجْتُثَتْ مِنْ فَوْقِ الأرْضِ مَالَهَا مِنْ قَرَارٍ يُثَبِّتُ اللهُ الَّذِيْنَ آمَنُوا بِالْقَوْلِ الثَابِتِ فِي الْحَيَاةِ الدُنْيَا وَفِي الآخِرَةِ وَيُضِلُّ اللهُ الظَالِمِيْنَ وَيَفْعَلُ اللهُ مَا يَشَاءُ
“เจ้าไม่เห็นหรือว่า อัลลอฮ์ทรงยกตัวอย่างเปรียบเทียบ คำพูดที่ดีดั่งเช่นต้นไม้ที่ดี ซึ่งรากของมันมั่นคงและกิ่งก้านของมันชูขึ้นสู่ฟ้า ดอกผลของมันผลิออกทุกกาลเวลา ด้วยอนุมัติองค์อภิบาลของมัน และอัลลอฮ์ทรงยกตัวอย่างเปรียบเทียบแก่มนุษย์ เพื่อว่าพวกเขาจะได้รำลึก และเปรียบเทียบคำพูดที่เลว ดังต้นไม้ที่เหี่ยวเฉา รากถูกถอนออกจากดิน ซึ่งไม่มีความมั่นคง อัลลอฮ์ได้ทำให้เกิดความมั่นคงแก่บรรดาผู้ศรัทธาด้วยถ้อยคำที่หนักแน่นแก่ชีวิตในดุนยาและอาคิเราะห์ และอัลลอฮ์ทรงทำให้บรรดาผู้อธรรมหลงทาง และอัลลอฮ์ทรงทำสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์” ซูเราะห์ อิบรอฮีม อายะห์ที่ 24-27
ضَرَبَ اللهُ مَثَلاً عَبْداً مَمْلُوْكاً لاَ يَقْدِرُ عَلَى شَيْئٍ
“อัลลอฮ์ทรงยกตัวอย่างเปรียบเทียบถึงทาสที่ไม่มีสิทธิ์ในเรื่องใด” ซูเราะห์ อัลนะฮล์ อายะห์ที่ 75
وَضَرَبَ اللهُ مَثَلاً رَجُلَيْنِ أَحَدُهُمَا أبْكَمُ لاَ يَقْدِرُ عَلَى شَيْئٍ وَهُوَ كَلٌّ عَلَى مَوْلاَهُ أيْنَمَا بُوَجِّهةُ لاَ يَأْتِ بِخَيْرٍ
“อัลลอฮ์ทรงยกตัวอย่างเปรียบเทียบชายสองคน หนึ่งในสองนั้นเป็นคนใบ้ ไม่สามารถกระทำสิ่งใดและเขาเป็นภาระแก่นายของเขา ไม่ว่าที่ใดที่นายส่งเขาไป เขาก็จะไม่นำความดีใดๆ กลับมา” ซูเราะห์ อัลนะฮล์ อายะห์ที่ 76
ضَرَبَ لَكُمْ مَثَلاً مِنْ أنَفُسِكُمْ هَلْ لَكُمْ مِنْ مَا مَلَكَتْ أيْمَانُكُمْ مِنْ شُرَكاَءَ فِي مَا رَزَقْنَاكُمْ
“อัลลอฮ์ทรงยกตัวอย่างเปรียบเทียบแก่พวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้า มีไหมในหมู่พวกเจ้าที่จะให้สิทธิ์แก่ผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง ในการมีหุ้นส่วนกับปัจจัยยังชีพที่พวกเจ้าได้รับ” ซูเราะห์ อัรรูม อายะห์ที่ 28
ضرب الله مثلا رجلا فيه شركاء متشاكسون
“อัลลอฮ์ทรงยกตัวอย่างเปรียบเทียบกรณีชายผู้หนึ่งที่เป็นสิทธิ์ของบรรดาหุ้นส่วนที่ไม่ลงรอยกัน” ซูเราะห์ อัซซุมัร อายะห์ที่ 29
وَتِلْكَ الأمْثَالُ نَضْرِتُهَا للنَّاسِ وَمَا يَعْقِلُهَا إلاَّ الْعَالِمُوْنَ
“และเหล่านี้คือตัวอย่างที่เราได้เปรียบเทียบมันแก่มนุษย์ แต่จะไม่มีผู้ใคร่ครวญนอกจากผู้มีความรู้” ซูเราะห์ อัลอังกะบูต อายะห์ที่ 43
“มุญาฮิด กล่าวว่า (แท้จริงอัลลอฮ์ไม่อายในการยกเอาสัตว์ตัวเล็กๆเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ หรือไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่ใหญ่กว่านั้น) หมายถึง ตัวอย่างที่นำมาเปรียบเทียบไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ บรรดาผู้ศรัทธาก็เชื่อ และรู้ว่ามันคือสัจธรรมที่มาจากองค์อภิบาลของพวกเขา และอัลลอฮ์ได้นำทางพวกเขาด้วยสิ่งนั้น
ก่อตาดะห์ กล่าวว่า (สำหรับบรรดาผู้ศรัทธา เขาจะรู้ว่ามันคือสัจธรรมจากองค์อภิบาลของพวกเขา) หมายถึง พวกเขารู้ว่ามันคือ พจนารถของผู้ทรงเมตตา แท้จริงมันมาจากอัลลอฮ์
และถูกรายงานจาก มุญาฮิด, อัลฮะซัน, รอเบียะอ์ บิน อนัส ในทำนองนี้เช่นเดียวกัน
อบู อัลอาลียะห์ กล่าวว่า (สำหรับบรรดาผู้ศรัทธา เขาจะรู้ว่ามันคือสัจธรรมจากองค์อภิบาลของพวกเขา) หมายถึงตัวอย่างที่ได้นำมาเปรียบเทียบนี้ (ส่วนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะกล่าวว่า อัลลอฮ์ต้องการสิ่งใดหรือที่เอาสิ่งนี้เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ) ดังเช่นอัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวไว้ในซูเราะห์ อัลมุดดัชษิร ดังนี้
وَمَا جَعَلْنَا أصْحَابَ النَّارِ إلاَّ مَلاَئِكَةً وَمَا جَعَلْنَا عِدَّتَهُمْ إلاَّ فِتْنَةً للَّذِيْنَ كَفَرُوا لِيَسْتَيْقِنَ الَّذِيْنَ أُوْتُوا الْكِتَابَ وَيَزْدَادَ الَّذِيْنَ آمَنُوا ايْمَاناً وَلاَ يَرْتَابَ الَّذِيْنَ أُوْتُوا الكِتَابَ وَالْمُؤْمِنُوْنَ وَلِيَقُوْلَ الَّذِيْنَ فِي قُلُوْبِهِمْ مَرَضٌ وَالْكَافِرُوْنَ مَاذَا أرَادَ اللهُ بِهَذَا مَثَلاً كَذلِكَ يُضِلُّ اللهُ مَنْ يَشَاءُ وَيَهْدِي مَنْ يَشَاءُ وَمَا يَعْلَمُ جُنُوْدَ رَبِّكَ إلاَّ هُوَ وَمَا هِيَ إلاَّ ذِكْرَى للْبَشَرِ
“และเราไม่ได้ให้ใครเป็นผู้เฝ้าขุมนรกนอกจากมะลาอิกะห์ และเราไม่ได้กำหนดจำนวนพวกเขา นอกจากเป็นการทดสอบบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา เพื่อว่าบรรดาชาวคัมภีร์จะได้เชื่อมั่น และเพิ่มพูนการศรัทธาแก่บรรดาผู้ศรัทธา และจะไม่มีข้อสงสัยใดๆแก่ชาวคัมภีร์และบรรดาผู้ศรัทธา แต่บรรดาผู้ที่ในหัวใจของพวกเขามีโรคและบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะกล่าวว่า อัลลอฮ์ต้องการสิ่งใดหรือที่เอาสิ่งนี้เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ เช่นนี้แหละ อัลลอฮ์ได้ทำให้หลงทางแก่ผู้ที่พระองค์ประสงค์ และจำนำทางแก่ผู้ที่พระองค์ประสงค์ ไม่มีผู้ใดรู้จำนวนพลพรรคองค์อภิบาลของเจ้า นอกจากพระองค์เท่านั้น และมันไม่ใช่อื่นใดเลย นอกจากเป็นข้อตักเตือนแก่ผู้คน” ซูเราะห์ อัลมุดดัชษิร อายะห์ที่ 31
อย่างนี้แหละที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงกล่าวว่า (อัลลอฮ์ได้ทรงทำให้คนมากมายหลงทางด้วยสิ่งนั้น และทำให้คนมากมายได้รับทางนำด้วยสิ่งนั้น แต่จะไม่ทรงทำใครผู้ใดหลงทางด้วยสิ่งนั้นนอกจากคนชั่ว)
อัสซุดดีย์ ได้กล่าวไว้ในตัฟซีร ของเขาว่า จาก อบีมาลิก จาก อบีศอและห์ จาก อิบนนิ อับบาส และจาก มุรเราะห์ จาก อิบนิ มัสอู๊ด จากศอฮาบะห์ของท่านนบีกลุ่มหนึ่งว่า : ทำให้ผู้คนมากมายหลงทางด้วยสิ่งนั้น หมายถึง บรรดาผู้กลับกลอกการศรัทธา และทำให้ผู้คนมากมายได้รับทางนำด้วยสิ่งนั้น หมายถึง บรรดาผู้ศรัทธา โดยบรรดาผู้หลงผิดนั้นมันได้เพิ่มความหลงผิดและการมุสาแก่พวกเขามากยิ่งขึ้นด้วยสิ่งที่พวกเขารู้ว่ามันคือสัจธรรมอย่างแน่นอน จากตัวอย่างที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงนำมันมาเปรียบเทียบแก่พวกเขา ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบที่ตรงตามความเป็นจริง เช่นนี้แหละที่อัลลอฮ์ได้ทำให้พวกเขาหลงทางด้วยสิ่งนั้น (และทำให้คนมากมายได้รับทางนำด้วยสิ่งนั้น) หมายถึง ด้วยตัวอย่างเปรียบเทียบมากมายจากบรรดาผู้ศรัทธาและเชื่อมั่น โดยเพิ่มพูนทางนำและการศรัทธาแก่พวกเขามากยิ่งขึ้น ด้วยการเชื่อมั่นในสิ่งที่พวกเขารู้ว่ามันคือสัจธรรมอย่างแน่นอน ซึ่งสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงนำมาเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบมันตรงตามความเป็นจริง และพวกเขาก็น้อมรับ อย่างนี้แหละคือทางนำจากอัลลอฮ์ที่ทรงให้แก่พวกเขา (แต่จะไม่ทรงทำใครผู้ใดหลงทางด้วยสิ่งนั้นนอกจากคนชั่ว) เขากล่าวว่า พวกเขาคือ บรรดาผู้กลับกลอกการศรัทธา
และ อบู อัลอาลียะห์ กล่าวว่า (แต่จะไม่ทรงทำใครผู้ใดหลงทางด้วยสิ่งนั้นนอกจากคนชั่ว) พวกเขาคือบรรดาผู้กลับกลอกการศรัทธา ซึ่ง อัรรอเบียะอ์ บิน อนัส ก็กล่าวไว้ในทำนองนี้เช่นเดียวกัน” ตัฟซีร อิบนิ กะษีร เล่มที่ 1 หน้าที่ 94